เค2-18บี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค2-18บี
File:Esa-hubble-k2-18a impression.jpg
Artist's impression of K2-18b (right) orbiting red dwarf K2-18 (left). The exoplanet K2-18c is shown between them.
ลักษณะของวงโคจร[1]

เค2-18บี (อังกฤษ: K2-18b) หรือที่รู้จักกันในชื่อ EPIC 201912552 b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวแคระแดง K2-18 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 124 ปีแสง (38 พาร์เซก) ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ มีขนาดประมาณแปดเท่าของมวลของโลก และจัดอยู่ในประเภทมินิเนปจูน มันมีวงโคจร 33 วันภายในเขตอาศัยได้ หมายความว่ามันได้รับแสงในปริมาณเท่ากันกับที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์และอาจมีสภาวะที่คล้ายกัน ซึ่งทำให้มีการดำรงอยู่ของน้ำที่เป็นของเหลวได้

ในปี ค.ศ. 2019 มีการค้นพบไอน้ำในบรรยากาศของ K2-18b ซึ่งดึงดูดความสนใจมาที่ระบบนี้ K2-18b ได้รับการศึกษาว่าเป็นโลกที่มีศักยภาพในการอาศัยได้ ซึ่งหากพิจารณาจากอุณหภูมิแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับดาวเคราะห์ก๊าซ เช่น ดาวยูเรนัส หรือ ดาวเนปจูน มากกว่าโลก

ในปี ค.ศ. 2023 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ตรวจพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ K2-18b ข้อมูลของเวบบ์แนะนำว่าดาวเคราะห์อาจถูกปกคลุมไปด้วยมหาสมุทร โดยมีชั้นบรรยากาศที่อุดมด้วยไฮโดรเจน

อ้างอิง[แก้]

ที่มา[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัด: Sky map 11h 30m 14.518s, +07° 35′ 18.257″