เกาลัดไทย
หน้าตา
เกาลัดไทย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukarya |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
ไฟลัม: | พืชดอก Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Sterculiaceae |
สกุล: | Sterculia |
สปีชีส์: | S. monosperma |
ชื่อทวินาม | |
Sterculia monosperma Étienne Pierre Ventenat 1805 | |
ชื่อพ้อง | |
Sterculia nobilis |
เกาลัดไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sterculia monosperma) เป็นพืชท้องถิ่นในจีนตอนใต้ บริเวณกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ไต้หวัน จากนั้นจึงมีการแพร่กระจายไปยังอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ผลเป็นผลแห้ง แตกเปลือกแข็ง เปลือกสีแดง หุ้มเมล็ดสีดำข้างใน เนื้อในเมล็ดสีเหลือง ต้มสุกแล้วเป็นสีเหลืองสด ผลเมื่อนำไปต้มหรือคั่วก่อนจะรับประทานได้ ไม้นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เนื้อไม้มีเรซินมาก นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้
อ้างอิง
[แก้]- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. เกาลัดไทย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 281
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เกาลัดไทย