เกรตเทอร์แอลเบเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดินแดนของแอลเบเนียที่นิยามโดยแนวคิดเกรตเทอร์แอลเบเนีย โดยเทียบเท่ากับดินแดนในปัจจุบัน

เกรตเทอร์แอลเบเนีย (แอลเบเนีย: Shqipëria e Madhe) เป็นคติชาตินิยมและแนวคิดเรียกร้องดินแดน[1] ที่พยายามรวมดินแดนที่มีชาวแอลเบเนียจำนวนมากอาศัยอยู่[2] แนวคิดนี้อิงจากการกล่าวอ้างเกี่ยวกับดินแดนที่มีประชากรชาวแอลเบเนียในพื้นที่เหล่านั้น นอกเหนือจากแอลเบเนียที่มีอยู่แล้ว แนวคิดนี้ยังมีการอ้างสิทธิในภูมิภาคในรัฐใกล้เคียงด้วย โดยมีพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงคอซอวอ หุบเขาเปรเชวอของเซอร์เบีย ดินแดนทางตอนใต้ของมอนเตเนโกร ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรีซ (ภูมิภาคของกรีซในเทสโปรเทียและเปรเวซา เรียกโดยชาวแอลเบเนียว่า ชาเมเรีย และดินแดนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิลายะห์แห่งยะนีนะห์ในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน) [3] และดินแดนทางตะวันตกของมาซิโดเนียเหนือ

การรวมพื้นที่ที่ใหญ่กว่าให้เป็นดินแดนเดียวภายใต้อำนาจของแอลเบเนียนั้นเกิดขึ้นโดยสันนิบาตพริซเรน ซึ่งเป็นสันนิบาตที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรวมดินแดนที่มีคนอาศัยอยู่เป็นชาวแอลเบเนีย (และภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งเป็นภูมิภาคมาซิโดเนีย และอีพีรุซ) ให้เป็นวิลายะห์แอลเบเนียที่เป็นอิสระแห่งเดียวภายในจักรวรรดิออตโตมัน[4] ซึ่งบรรลุผลสำเร็จโดยนิตินัยในเดือนกันยายน 1912 และแนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ภายใต้การยึดครองคาบสมุทรบอลข่านของอิตาลีและนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดเรื่องการรวมชาติมีรากฐานมาจากเหตุการณ์ในสนธิสัญญาลอนดอนเมื่อปี 1913 เมื่อประมาณ 30% ของดินแดนแอลเบเนียส่วนใหญ่และ 35% ของประชากรถูกปล่อยให้อยู่นอกพรมแดนของประเทศใหม่[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dennison I. Rusinow (1978). The Yugoslav Experiment 1948–1974. Los Angeles, California: University of California Press. p. 245. ISBN 978-0-52003-730-4.
  2. Likmeta, Besar (17 November 2010). "Poll Reveals Support for 'Greater Albania'". Balkan Insight. สืบค้นเมื่อ 27 June 2013. The poll, conducted by Gallup in cooperation with the European Fund for the Balkans, showed that 62 per cent of respondents in Albania, 81 per cent in Kosovo and 51.9 per cent of respondents in Macedonia supported the formation of a Greater Albania.
  3. Kola 2003, p. 15.
  4. Jelavich 1983, pp. 361–365
  5. Bugajski 2002, p. 675."Roughly 30% of the predominantly Albanian territories and 35% of the population were left outside the new country's borders"