เกรกอร์ เม็นเดิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรกอร์ เม็นเดิล
Gregor Mendel 2.jpg
เกิดโยฮัน เม็นเดิล
20 กรกฎาคม ค.ศ. 1822(1822-07-20)
ไฮนท์เซินดอร์ฟไบโอเดรา ไซลีเซีย จักรวรรดิออสเตรีย (ปัจจุบันคือฮินชิตแซ เช็กเกีย)
เสียชีวิต6 มกราคม ค.ศ. 1884(1884-01-06) (61 ปี)
เบอร์โน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเบอร์โน เช็กเกีย)
สัญชาติออสเตรีย
ศิษย์เก่าUniversity of Olomouc
มหาวิทยาลัยเวียนนา
มีชื่อเสียงจากการสร้างทฤษฎีพันธุศาสตร์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาพันธุศาสตร์
สถาบันที่ทำงานSt Thomas's Abbey

เกรกอร์ โยฮัน เม็นเดิล (เยอรมัน: Gregor Johann Mendel; เช็ก: Řehoř Jan Mendel; 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 – 6 มกราคม พ.ศ. 2427) เป็นนักวิทยาศาสตร์และภราดาคณะออกัสติเนียนชาวออสเตรียที่พูดภาษาเยอรมัน[1] ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการก่อตั้งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่สาขาพันธุศาสตร์ แม้ว่าชาวสวนทั่วไปจะทราบถึงลักษณะปรากฏที่แตกต่างกันของพืชชนิดต่าง ๆ อยู่แล้ว โดยเม็นเดิลได้เริ่มศึกษาจากต้นถั่ว จนสามารถตั้งเป็นกฎทางพันธุกรรมมากมาย และภายหลังรู้จักกันในชื่อว่า พันธุศาสตร์ของเม็นเดิล

เม็นเดิลเสียชีวิตจากโรคไตในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2427 วัย 61 ปีที่เบอร์โน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันอยู่ในเช็กเกีย) โดยในงานศพของเขามีเลออช ยานาเชค นักประพันธ์ชาวเช็กมาบรรเลงออร์แกน หลังการเสียชีวิตของเขา ได้มีการเผางานของเม็นเดิลทุกอย่าง เพื่อเป็นสัญญาณว่าข้อถกเถียงทางอนุกรมวิธานวิทยาสิ้นสุดลงแล้ว[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Moravané a Češi
  2. Carlson, Elof Axel (2004). "Doubts about Mendel's integrity are exaggerated". Mendel's Legacy. Cold Spring Harbor, NY: Cold Spring Harbor Laboratory Press. pp. 48–49. ISBN 978-0-87969-675-7.

ดูเพิ่ม[แก้]