ข้ามไปเนื้อหา

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียชีวิตของดอนฮิยาลา จากเรื่อง “ดอนฮิยาลา และอาลีฟูลฮู” ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส บอกว่า เรื่องราวของชาวมัลดีฟส์มาจากรามายณะ
ศาสนาพุทธในประเทศมัลดีฟส์ แบบแปลนของวัดพุทธที่วาดโดย ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส
ปลาของมัลดีฟส์ ระบายสีโดย ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟิแอส

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส (กาตาลา: Xavier Romero-Frías, ชาบิเอ โรเมโร-ฟริอัส, เกิดปี พ.ศ. 2497) เป็นนักเขียนและนักวิชาการสัญชาติสเปน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมานุษยวิทยาและด้านภาษา เคยพำนักอยู่ที่มัลดีฟส์มาเป็นเวลามากกว่า 13 ปี[1] ปัจจุบันพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส เริ่มต้นศึกษาเจาะลึกเรื่องคติชาวบ้านและประเพณีการพูดของชาวมัลดีฟส์ในปี พ.ศ. 2522 ช่วงที่ประเพณีมัลดีฟส์หายไปอย่างรวดเร็ว จากการเพิ่มขึ้นของลัทธิอิสลามนิยมและสมัยใหม่ เขาพูดภาษาท้องถิ่นมัลดีฟส์ได้คล่องสองภาษาและเข้าใจภาษาท้องถิ่นอื่นๆด้วย เขามีความรู้อย่างซึ้งเกี่ยวกับการเขียนภาษามัลดีฟส์และอารบิก ระหว่างที่เขาอยู่ที่นั่น ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอสให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรวบรวมประเพณีของมัลดีฟส์โดยการผูกมิตรกับผู้เฒ่าผู้แก่ของเกาะที่เขาไป ก่อนที่ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟิแอส จะทำงานนี้ มีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวและตำนานของมัลดีฟส์ เพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น[2]

หลังการทำงานมาหลายปี ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอสได้ทำการแปลตำนานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีบ้านและนิยายโบราณจากเกาะปะการังหลายเกาะของมัลดีฟส์ประมาณร้อยเรื่องเป็นภาษาอังกฤษได้สำเร็จ แต่ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของมัลดีฟส์และจากมาเล เมืองหลวงของประเทศ[3] หลังจากนี้ เขาได้พำนักในอินเดีย 12 ปี เพื่อศึกษาภาษาสันสกฤต และวิจัยต้นกำเนิดของมรดกทางวัฒนธรรมของมัลดีฟส์ ในช่วงเวลานั้นเขาได้ตีพิมพ์เอกสารอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการวิจัยเกี่ยวกับเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษของมัลดีฟส์ ซึ่งไม่รวมถึงแค่ตำนานเท่านั้น แต่ยังรวมการทั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับศาสนาท้องถิ่น แบบวาดรูปเรือ และตัวอย่างศิลปะท้องถิ่น ในบรรดาประเพณีโบราณอื่นๆของมัลดีฟส์ [4] บทสุดท้ายของหนังสืออธิบายถึงผลกระทบของอุดมการณ์ความคิดของอิสลามเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของนักวิชาการชาวอังกฤษชื่อ เอช ซี พี เบลล์ ตามนักวิชาการชาวศรีลังกาที่ชื่อ โรฮาน กูนารัตนา ดร.โรแลนด์ ซิลวา ผู้อำนวยการกองโบราณคดีศาสตร์ของศรีลังกาในช่วงระหว่างปี 2526 และ 2535 ได้เปรียบเทียบงานชิ้นบุกเบิกของ ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส กับงานของ เฮนรี่ พาร์คเกอร์ นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ ที่รวบรวมนิยายพื้นบ้านของหมู่บ้านในประเทศศรีลังกาประมาณปี 2423[5]

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส ได้รับเชิญจาก ศาสตราจารย์ วี สุดาร์ซาน หัวหน้าแผนกมานุษยวิทยาให้มาสอนที่มหาวิทยามัดราสในช่วงปีทศวรรษที่ 80 ในฐานะของศิลปิน เขาได้ยกตัวอย่างหนังสือสำหรับ อี ดี ซี (ศูนย์พัฒนาการศึกษา) ของกระทรวงศึกษาธิการ ในมาลี มัลดีฟส์ และระบายสีปลาในทะเลมัลดีฟส์ รวมทั้งตำนานของมัลดีฟส์ และการเดินเรือในสมัยก่อน มีการแสดงผลงานของฮาเวียร์ โรเมโร-ฟิแอส ภาพวาดในเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี 2530 ในช่วงสามสิบปีที่ผ่ายมาเขาได้เขียนบทความและความเห็นมากมาย [6]

ศาสนาพุทธในมัลดีฟส์

[แก้]

การศึกษาของ ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส เกี่ยวกับศาสนาพุทธในมัลดีฟส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับความเข้าใจในประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเอเชียใต้มหาสมุทรอินเดียยุคแรกเพียงพอ การศึกษานี้จัดทำขึ้นครั้งแรกโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ เอช ซี พี เบลล์ ประมาณปี 2463 แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้รับการดำเนินการต่อโดย ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส ผู้ซึ่งทำแบบวาดและรูปภาพของพุทธสถานโบราณ และซากทางโบราณคดีในเกาะปะการังอื่น ยิ่งไปกว่านั้น เขาได้ค้นพบร่องรอยของมรดกทางพุทธศาสนาในตำนานของชาวมัลดีฟส์ และอธิบายไว้ในการพิมพ์หนังสือครั้งแรกของเขา

งานของเขาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งชาวมัลดีฟส์ นักวิชาการด้านศาสนาพุทธ และต่อโลกวิชาการโดยทั่วไป เพื่อความเข้าใจในเบื้องหลังประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมของเกาะที่เป็นเอกภาพของมัลดีฟส์ [7]

อ้างคำพูด

[แก้]

เกี่ยวกับความยากลำบากสำหรับชาวมัลดีฟส์ ที่จะรวบรวมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างเต็มใจ ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส สังเกตว่า “ในใจของชาวมัลดีฟส์มีเรื่องการต่อสู้อย่างชัดเจนระหว่างประเพณีที่สืบทอดกันมากับอุดมการณ์ของมุสลิม เนื่องจากความขัดแย้งนี้ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข จึงมีความรู้สึกทั่วไปของความผิดและความสับสนที่ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษไปสู่รูปแบบอุดมการณ์ของอิสลามได้” [8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Maldives Royal Family Official Website: Majid's Pages- Maldive Flags". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  2. Romero-Frias, Xavier (2012) Folk tales of the Maldives, NIAS Press เก็บถาวร 2013-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISBN 978-87-7694-104-8, ISBN 978-87-7694-105-5
  3. Maldives Culture
  4. Romero-Frias, Xavier (1999) The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom (third revised edition) Nova Ethnographia Indica, Barcelona, Spain, ISBN 84-7254-801-5; reprinted 2003
  5. Gunaratna, Rohan (1999) "Foreword" The Maldive Islanders: The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom (third revised edition) Nova Ethnographia Indica, Barcelona, Spain, ISBN 84-7254-801-5; reprinted 2003
  6. Blasco, Roge, ‘’Levando Anclas, Veinte años de viajes y aventuras,’’ Publ. by Radio Euskadi, Bilbao, 2004
  7. "Maldives ethnography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  8. Lateefa Tahir. Politicizing Religion: A Dangerous Game. Minivan News. Male' 2009

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]