ฮาลาลสแน็กแพ็ก
กล่องฮาลาลสแน็กแพ็ก | |
ชื่ออื่น |
|
---|---|
มื้อ | จานหลัก |
แหล่งกำเนิด | ออสเตรเลีย |
ภูมิภาค | ออสตราเลเชีย |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | ออสเตรเลีย |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | อุ่น |
ส่วนผสมหลัก | |
ฮาลาลสแน็กแพ็ก (อังกฤษ: halal snack pack, HSP) เป็นอาหารจานด่วนที่ได้รับความนิยมมากในประเทศออสเตรเลีย ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ (ไก่ แพะ หรือวัว) สำหรับทำเดอแนร์ที่ได้รับการรับรองฮาลาล และชิปส์[1] นอกจากนี้ยังรวมซอสชนิดต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซอสพริก ซอสกระเทียม และซอสบาร์บีคิว[2] ในขณะที่โยเกิร์ตหรือซอสโยเกิร์ต[3][4] เนยแข็ง พริกฆาลาเปญโญ และตับบูละฮ์ก็เป็นเครื่องเคียงที่พบบ่อยเช่นกัน ฮาลาลสแน็กแพ็กแบบดั้งเดิมเสิร์ฟในกล่องโฟม และมีการบรรยายว่าเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งในกลุ่มอาหารซื้อกลับบ้านของร้านกะบาบในออสเตรเลีย[2][5]
รายการอาหารของบางร้านในออสเตรเลียเรียกฮาลาลสแน็กแพ็กว่า สแน็กแพ็ก, สแน็กบ็อกซ์ หรือ มิกซต์เพลต[2] ชื่อของอาหารจานนี้ยังได้รับการคัดเลือกจากพจนานุกรมแมกควอรีให้เป็น "คำแห่งปีของผองชน" (People's Choice Word of the Year) ประจำปี 2016[6]
ฮาลาลสแน็กแพ็กมีที่มาในออสเตรเลียจากการผสานอาหารตะวันออกกลางกับอาหารยุโรป ข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าฮาลาลสแน็กแพ็กอาจมีมาอย่างน้อยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[7] และกลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอาหารออสเตรเลีย[8][9] ถึงกระนั้นก็ยังปรากฏอาหารรูปแบบคล้ายกันในประเทศอื่น ๆ เช่น ดอเนอร์มีตแอนด์ชิปส์ (doner meat and chips) ในสหราชอาณาจักร; เดอเนอร์เท็ลเลอร์ (Dönerteller; "จานเดอแนร์") ในเยอรมนี; กัปซาโลน (kapsalon; "ร้านตัดผม") ในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม; เคบับทัลริก (kebabtallrik; "จานกะบาบ") ในสวีเดน;[10][11][12] ไจโรฟรายส์ (gyro fries) ในสหรัฐ; เกบับรันส์กาไลซิลลา (kebab ranskalaisilla; "กะบาบกับเฟรนช์ฟรายส์") ในฟินแลนด์ เป็นต้น ส่วนในแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เรียกฮาลาลสแน็กแพ็กสั้น ๆ ว่า เอบี (AB) และในเพิร์ท รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย นิยมเรียกว่า มีตบ็อกซ์ (meat box)[13]
ในปลายปี 2015 หลังการสร้างกลุ่มเฟซบุ๊กในชื่อ Halal Snack Pack Appreciation Society ("สมาคมผู้ชื่นชอบฮาลาลสแน็กแพ็ก") ขึ้น อาหารจานนี้ก็เป็นรู้จักว่าได้นำพาวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น[14][15][16] ส่งผลให้สื่อต่าง ๆ รายงานและกล่าวถึงอาหารจานนี้อย่างกว้างขวาง วุฒิสมาชิกแซม แดสตีอารี ยังกล่าวถึงอาหารจานนี้ระหว่างการอภิปรายในรัฐสภาเกี่ยวกับการรับรองฮาลาล ถือกันว่าเหตุการณ์นี้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความสนใจอาหารจานนี้มากขึ้น[17][18]
ในปัจจุบันมีการชูประเด็นข้อกังวลทางสุขภาพเกี่ยวกับฮาลาลสแน็กแพ็กขึ้น ด้วยส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตแปรรูปในฮาลาลสแน็กแพ็กนั้นสามารถก่อภาวะอ้วนและโรคหัวใจ ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนทางระบบหลอดเลือด ระบบเมทาบอลิก และระบบไต[19][15][16][20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ewart, J.; O'Donnell, K. (2018). Reporting Islam: International best practice for journalists. Taylor & Francis. p. pt202. ISBN 978-1-351-78051-3. สืบค้นเมื่อ February 12, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Your Local Kebab Shop Is Now Trending, Introducing Your New Facebook Group Obsession". MTV. March 14, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
- ↑ "The best Halal Snack Packs in Sydney". Time Out Sydney (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2022-11-30.
- ↑ "Please explain the halal snack pack? You've got it!". delicious.com.au. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ Safi, Michael; Hunt, Elle; Wall, Josh (April 18, 2016). "The halal snack pack: a fast track to a heart attack? Or worse?". the Guardian. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
- ↑ "Halal snack pack named people's choice word of 2016 by Macquarie Dictionary". The Age. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
- ↑ "Unpacking the halal snack pack". Food (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ Bartholomeusz, Rachel (9 May 2016). "Unpacking the Halal Snack Pack". SBS news. SBS. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.
- ↑ Kerr, Jack (21 June 2016). "Explaining the Halal Snack Pack".
- ↑ "En kebabtallrik". Sverge Radio.
- ↑ Mike (12 November 2009). "Recipe - Kebab platter/Kebabtallrik". Freestyle Cookery.
- ↑ "Allting på? Introducing the kebabtallrik – A Swedish delicacy". Truly Swedish. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-06.
- ↑ "IN FOCUS: Smashing a Late Night Meatbox (HSP)". The Bell Tower Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Schmidl, Engel (25 July 2016). "Halal snack packs: the fast food bringing cultures together". The National. Abu Dhabi Media.
- ↑ 15.0 15.1 Safi, Michael; Hunt, Elle; Wall, Josh (19 April 2016). "The halal snack pack: a fast track to a heart attack? Or worse?". The Guardian.
- ↑ 16.0 16.1 Wall, Josh; Chung, Julian (19 April 2016). "Halal snack pack: bridging cultures or a recipe for radicalisation?". The Guardian.
- ↑ Hall, Katy (5 July 2016). "An important look inside the contents of a Halal Snack Pack". Mama Mia.
- ↑ "Senator rates halal snack pack a 10". Sky News Australia. March 17, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-12. สืบค้นเมื่อ April 30, 2016.
- ↑ Frances, William Scates (June 2016). "The meteoric rise of the Halal Snack Pack: What does it all mean?". The Point Magazine. The Point Magazine.
- ↑ The (Un)Australian (22 July 2016). "Increase in Heart Disease Attributed to Hipsters Trying Out Halal Snack Packs". The (Un)Australian.