ข้ามไปเนื้อหา

อเมริกันอันตราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเมริกันอันตราย
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับGeorge Englund
เขียนบทStewart Stern
อำนวยการสร้างGeorge Englund
นักแสดงนำMarlon Brando
Eiji Okada
Pat Hingle
Judson Pratt
Arthur Hill
กำกับภาพClifford Stine
ตัดต่อTed J. Kent
ผู้จัดจำหน่ายUniversal Pictures
วันฉาย1963
ความยาว115 นาที

อเมริกันอันตราย (อังกฤษ: The Ugly American) เป็นนวนิยายเชิงการเมืองในปี ค.ศ. 1958 ของยูจีน เบอร์ดิกและวิลเลียม เลดเดอเรอร์ ถือเป็นนวนิยายขายดีในช่วงเวลานั้นและยังคงมีการตีพิมพ์อยู่[ต้องการอ้างอิง] มีเรื่องราวเกี่ยวกับชาวอเมริกันในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อมาต้องพ่ายแพ้อันเป็นผลเนื่องมาจากความหยิ่งยะโสและการปฏิเสธที่จะเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ในบทประพันธ์มีเรื่องเกี่ยวกับประเทศสมมติที่ชื่อ สารขัณฑ์ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คล้ายกับพม่าหรือประเทศไทย และพูดเป็นนัยพาดพิงถึงเวียดนาม

ต่อมาในปี ค.ศ. 1963 เรื่องราวในนวนิยายได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดยจอร์จ อิงลันด์ บทภาพยนตร์โดยสจ๊วต สเติร์น นำแสดงโดยมาร์ลอน แบรนโดที่รับบทเป็นแฮร์ริสัน คาร์เตอร์ แม็กไวต์ นอกจากนี้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช รับบทเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศสารขัณฑ์ ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1975 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทย

ฉบับภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและผู้กำกับยอดเยี่ยม [1]

ภาพปกหนังสือ "สารขัณฑ์" ซึ่งมีความผิดพลาดในการพิมพ์ชื่อผู้ประพันธ์เป็น ยูจีน โอนีล

สารขัณฑ์

[แก้]

สารขัณฑ์ (อังกฤษ: Sarkhan) เป็นชื่อประเทศสมมติในนวนิยายเรื่องดังกล่าว และภาคต่อชื่อ Sarkhan แต่งโดย William Lederer และ Eugene Burdick โดยในเรื่อง อเมริกันอันตราย ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) นำแสดงโดย มาร์ลอน แบรนโด โดยมี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช รับบทเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศสารขัณฑ์ (ในฉบับแปล ใช้ชื่อประเทศเป็น "ซาคาน")

ในนิยายทั้งสองเรื่อง ประเทศสารขัณฑ์ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย ตอนเหนือติดประเทศจีน และมีบางส่วนติดกับประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน มีเมืองหลวงคือกรุงไฮโด (ไฮโธ) ซึ่งหันหน้าไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางภูมิศาสตร์) โดยสถานการณ์ภายในประเทศค่อนข้างวุ่นวาย

ประเทศสารขัณฑ์ถูกนำมาใช้เชิงเปรียบเทียบถึงประเทศไทย เพื่อต้องการเลี่ยงการออกชื่อประเทศไทยโดยตรง

อ้างอิง

[แก้]