ข้ามไปเนื้อหา

อูราร์ตู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อูราร์ตู (อังกฤษ: Urartu /ʊˈrɑːrt/; อัสซีเรียน: māt Urarṭu,[1] บาลิโลเนีย: Urashtu, ฮีบรู: אֲרָרָט Ararat) เป็นอาณาจักรในยุคเหล็กที่มีศูนย์กลางอยู่บริเวณรอบทะเลสาบวานในที่ราบสูงอาร์เมเนีย อาณาจักรครอบคลุมจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรทีสตอนบนไปจนถึงชายฝั่งตะวันตกของทะเลสาบอูร์เมีย และจากภูเขาทางตอนเหนือของอิรักไปจนถึงเทือกเขาเลสเซอร์คอเคซัส[2] อาณาจักรนี้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช และครอบครองพื้นที่ของที่ราบสูงอาร์เมเนียในศตวรรษที่ 8 และ 7 ก่อนคริสต์ศักราช[2] อาณาจักรอูราร์ตูได้ทำสงครามกับอัสซีเรียอยู่บ่อยครั้ง เป็นรัฐที่มีอำนาจที่สุดในตะวันออกใกล้อยู่ช่วงหนึ่ง[2] ด้วยความอ่อนแอจากความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอาณาจักรก็ถูกพิชิตโดยชาวมีดซ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช[3] ทางด้านโบราณคดี มีชื่อเสียงในเรื่องป้อมปราการขนาดใหญ่และงานโลหะอันวิจิตรงดงาม[2] กษัตริย์แห่งอาณาจักรได้สร้างจารึกอักษรคูนิฟอร์มในภาษาอูราร์เทียซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาเฮอร์โร-อูราร์เทีย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eberhard Schrader, The Cuneiform inscriptions and the Old Testament (1885), p. 65.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Zimansky, Paul E. (2011-01-01). "Urartu". The Oxford Encyclopedia of Archaeology in the Near East. Oxford University Press. doi:10.1093/acref/9780195065121.001.0001. ISBN 978-0-19-506512-1. สืบค้นเมื่อ 2018-11-22.
  3. Jacobson, Esther (1995). The Art of the Scythians: The Interpenetration of Cultures at the Edge of the Hellenic World (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 33. ISBN 9789004098565.