อุโมงค์ซาราเยโว

พิกัด: 43°49′11″N 18°20′14″E / 43.81972°N 18.33722°E / 43.81972; 18.33722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุโมงค์ซาราเยโว
ภายในอุโมงค์ซาราเยโว
พิกัด43°49′11″N 18°20′14″E / 43.81972°N 18.33722°E / 43.81972; 18.33722
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทอุโมงค์
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง1 มีนาคม 1993
ที่ตั้ง
แผนที่

อุโมวค์ซาราเยโว (บอสเนีย: Sarajevski tunel / Сарајевски тунел; เซอร์เบีย: Sarajevski tunel / Сарајевски тунел) หรือ ตูเนลซปาซา (Тунел спаса; อุโมงค์แห่งการพ้นบาป) หรือ อุโมงค์แห่งความหวัง เป็นอุโมงค์ที่สร้างขึ้นในระส่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 1993 ในระหว่างการล้อมนครซาราเยโวในสงครามบอสเนีย สร้างขึ้นโดยกองทัพของบอสเนียเพื่อเชื่อมต่อดินแดนที่บอสเนียยึดครองในอีกฝั่งของท่าอากาศยานซาราเยโวเข้ากับตัวเมืองซาราเยโวซึ่งในเวลานั้นถูกกองกำลังของเซอร์เบียปิดล้อม

การก่อสร้างอุโมงค์มีขึ้นโดยลับ ๆ ในวันที่ 1 มีนาคม 1993 ภายใต้ชื่อรหัสลับ "Objekt BD"[1] โดยอุโมงค์จะเชื่อมต่อย่านบูตมีร์ กับ ดอบรีเนียเข้าด้วยกัน[1] ย่านหนึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของบอสเนีย ส่วนอีกย่านยังอยู่ในอาณาเขตที่ถูกเซอร์เบียล้อมไว้อยู่[2] แหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่าตลอดการขุดอุโมงค์นี้ มีการขุดทิ้งดินเกือบ 3,000 ลูกบาศก์เมตร และใช้ไม่กว่า 170 ลูกบาศก์เมตร และเหล็กกล้า 45 ตันในการก่อสร้างอุโมงค์[3]

หลังสงครามสิ้นสุดลง มีการสร้างพิพิธภัณฑ์อุโมงค์ซาราเยโวขึ้นครอบบ้านหลังที่ในเวลานั้นใช้งานเป็นทางเข้าออกสู่อุโมงค์ซาราเยโว ผู้เข้าชมสามารถเดินชมอุโมงค์ในระยะสั้น 20 ได้ ส่วนภายในตัวบ้านจัดแสดงเอกสาร ภาพยนตร์ ภาพถ่าย ยุทโธปกรณ์ เครื่องแบบและธงกองทัพ[4]

อ้างอิง,[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Bosnia Report - July-October 1996 - Adriatic Light at the End of the Sarajevo Tunnel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-29. สืบค้นเมื่อ 2006-07-22.
  2. Burns, John F. (August 15, 1993). "A Crude 1,000-Yard Tunnel Is Sarajevo's Secret Lifeline". The New York Times – โดยทาง NYTimes.com.
  3. "War Tunnel (Tunnel of Hope) Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16.
  4. Hamber, B. (2012). Conflict museums, nostalgia, and dreaming of never again. Peace and Conflict: Journal of Peace Psychology, 18(3), 268.