ข้ามไปเนื้อหา

อุลกมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก

อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส บางชิ้นก็มีเนื้อโปร่งแสงสีเขียว ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก

แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ สีของ อุลกมณีจะมีความแตกต่างกันจากการเกิด ว่าเมื่อเกิด มีแร่ธาตุอะไรเข้าไปผสมอยู่ด้วย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]