ข้ามไปเนื้อหา

อี.123

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี.123
สัญกรสำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และที่อยู่เว็บในประเทศและต่างประเทศ
ชื่อเดิม
Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses
สถานะมีผลบังคับ
รุ่นล่าสุด(02/01)
กุมภาพันธ์ 2544
องค์กรITU-T
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องอี.163, อี.164
ขอบเขตระบบโทรศัพท์
ใบอนุญาตใช้ได้อย่างอิสระ
เว็บไซต์https://www.itu.int/rec/T-REC-E.123

อี.123 (อังกฤษ: E.123) เป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นโดยภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T) ชื่อว่า สัญกรสำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และที่อยู่เว็บในประเทศและต่างประเทศ (Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses)[1] โดยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ และที่อยู่เว็บในการพิมพ์บนหัวจดหมาย และวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

ตามที่ ITU อธิบายไว้ใน อี.123: "+" คือ "สัญลักษณ์นำหน้าระหว่างประเทศ" ที่ใช้งานใน "หมายเลขโทรศัพท์, สัญกรณ์สากล อี.123"

ตัวอย่างรูปแบบ

[แก้]
หมายเลขโทรศัพท์, สัญกรในประเทศ (การโทรออกเต็มหมายเลข) (0607) 123 4567
หมายเลขโทรศัพท์, อี.123 สัญกรณ์สากล +22 607 123 4567
ที่อยู่อีเมล์ example@example.com
ที่อยู่เว็บ / ยูอาร์แอล www.example.com

หมายเลขโทรศัพท์

[แก้]

ในหมายเลขโทรศัพท์ณ์สากล เครื่องหมายบวก (+) นำหน้า ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์นำหน้าสากลและตามมาด้วยรหัสประเทศต่อเนื่องกันมา ผู้ใช้งานหรือระบบโทรศัพท์ควรแทนที่สัญลักษณ์ + ด้วยหมายเลขนำหน้าการโทรระหว่างประเทศที่กำหนดให้ใช้ในตำแหน่งของผู้โทร

วงเล็บถูกใช้ในสัญกรในประเทศเพื่อระบุตัวเลขที่บางครั้งไม่ได้กด เช่น รหัสพื้นที่ในพื้นที่ที่ยังอยู่ในแผนการกำหนดหมายเลขและยังผันแปรได้อยู่ โดยไม่อนุญาตให้ใช้วงเล็บในสัญกรณ์สากลตามมาตรฐานสากลที่กำหนด เนื่องจากผู้โทรจากต่างประเทศนั้นใช้หมายเลขเฉพาะในการโทร

สำหรับการจัดกลุ่มตัวเลขนั้น มาตรฐาน อี.123 แนะนำเป็นพิเศษว่า:

  • ใช้เพียงช่องว่างเท่านั้นในการแยกกลุ่มตัวเลขด้วยสายตา "เว้นแต่ว่าจะมีการตกลงกันในสัญลักษณ์ที่ชัดเจน (เช่น ยัติภังค์) ซึ่งจำเป็นในกระบวนการพิจารณาใช้งาน" กับสัญกรในประเทศ
  • ใช้เพียงช่องว่างเท่านั้นในการแยกกลุ่มตัวเลขด้วยสายตาในสัญกรณ์สากล
  • ควรใช้ช่องว่างแยกรหัสประเทศ รหัสพื้นที่ และรหัสหมายเลขท้องถิ่น

ไม่มีรูปแบบคำแนะนำในการจัดกลุ่มตัวเลขในหมายเลขท้องถิ่น แต่จะมีการแสดงตัวอย่างการจัดกลุ่มที่ใช้กันทั่วไปบางส่วนแทน

ในสัญกรในประเทศ คำนำหน้าทรังค์ (Trunk prefix) สามารถใช้รวมเข้ากับรหัสพื้นที่ได้หากจำเป็น ในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ เมื่อใดก็ตามที่ใช้การโทรแบบคงที่ (fixed) หรือแปรผัน (variable) จะมีคำนำหน้าทรังค์จะรวมอยู่อยู่ด้วย แต่จะไม่มีการระบุในสหรัฐและแคนาดา ซึ่งหมายเลขโทรศัพท์จะระบุเพราะรหัสพื้นที่เสริมเท่านั้น

เครื่องหมายตัวหนอน (~) บ่งบอกถึงเสียงสัญญาณการโทรเพิ่มเติมที่ผู้ใช้ควรรอ

เครื่องหมายทับ (/) ที่มีช่องว่างทั้งสองข้าง อาจใช้เพื่อระบุการลงท้ายหมายเลขแบบอื่นสำหรับตัวเลข (เช่น "555 1234 / 4444" หมายถึง 555 1234 และ 555 4444)

หมายเลขตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX) ที่ไม่สามารถโทรออกได้ ควรคั่นด้วยคำว่า "extension" หรือ "ext." ซึ่งเป็นภาษาที่โทรศัพท์เข้าใจโดยเติมไว้หลังหมายเลขโทรศัพท์

เมื่อตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX) สามารถโทรสายตรงติดต่อเข้ามาได้ หมายเลขต่อภายในควรเขียนไว้หลังหมายเลขโทรศัพท์สายตรง โดยไม่ต้องใช้สัญลักษณ์ใด ๆ หากจำเป็นต้องระบุจำนวนความจุในการโทรเข้ามาของคู่สายโทรศัพท์ คุณสามารถเพิ่มจำนวนจุด (....) ที่สอดคล้องกับความยาวของหมายเลขต่อภายในได้

รูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ของไมโครซอฟท์

[แก้]

รูปแบบที่อยู่มาตรฐานของไมโครซอฟท์สำหรับหมายเลขโทรศัพท์นั้น[2][3]มาจากสัญกรณ์สากล อี.123 โดยอนุญาตให้ระบุรหัสพื้นที่ด้วยวงเล็บอย่างชัดเจน

รูปแบบบัญญัติถูกใช้โดย Telephony API (TAPI) ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมวินโดวส์สำหรับแฟกซ์ผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็ม และอุปกรณ์โทรศัพท์ โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ ส่วนประกอบ Dial-Up Networking (DUN) ของวินโดวส์จะใช้ชุดกฎการโทรเพื่อแปลงหมายเลขโทรศัพท์ตามรูปแบบบัญญัติให้เป็นลำดับการโทรที่สามารถโทรออกได้ภายในเครื่องสำหรับอุปกรณ์โมเด็ม กฎการโทรอาจรวมถึงการกดรหัสพื้นที่โดยมีความยาวผันแปรได้ (variable-length dialing) หมายเลขนำหน้าทรังค์และหมายเลขติดต่อระหว่างประเทศ หมายเลขเข้าถึงสำนักงาน/บริการส่วนกลาง และหมายเลขเสียงเรียกเข้าของบัตรโทรศัพท์[2][3]

ด้วยวิธีการนี้ หมายเลขโทรศัพท์ที่จัดเก็บไว้ในสมุดโทรศัพท์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้ใช้ย้ายไปยังตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ไปยังพื้นที่อื่น หรือเลือกผู้ให้บริการโทรศัพท์รายอื่น[4]

ส่วนของลำดับการโทร สามารถมีหมายเลขที่สามารถโทรออกได้ เช่น หลัก 09 และเสียง DTMF ABCD*# ซึ่งจัดรูปแบบอักขระ ␣ . - และควบคุมตัวอักษร ! P T , W @ $ ? ; ซึ่งสอดคล้องกับคำสั่ง Dial ของชุดคำสั่ง Hayes AT

ข้อมูลการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

[แก้]

วิธีการมาตรฐานโดยไม่จำกัดภาษาที่ใช้ในการระบุญาติที่ใกล้ชิด (หรือใช้ในการติดต่อในกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ) ในสมุดโทรศัพท์ของโทรศัพท์มือถือในกรณีฉุกเฉิน ได้ถูกนำมาปรับใช้งานเป็นมาตรฐานข้อแนะนำ อี.123 ใหม่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551

ซึ่ง อี.123 เสนอให้จัดเก็บหมายเลขติดต่อฉุกเฉินที่นำหน้าด้วยเลขอารบิกในรูปแบบ "0nxxxx" โดย "n" คือตัวเลขตั้วแต่ 1 ถึง 9 "xxxx" คือตัวอักขระที่สื่อความหมายในภาษาหรือสคริปส์คำสั่งใด ๆ (เช่น "Anna" หรือ "Spouse")

ในสมุดโทรศัพท์ของโทรศัพท์ ข้อมูลชุดนี้จะแสดงว่า "01Anna" หรือ "01Spouse" ซึ่งช่วยให้บริการฉุกเฉินสามารถระบุตัวตนพวกเขาได้ง่าย โดยภายในรายการรายชื่อ (ในช่อง "หมายเลขติดต่อ") จะมีหมายเลขของบุคคลที่จะใช้โทรหารในกรณีฉุกเฉินแสดงอยู่[5]

โดยรูปแบบนี้เป็นอีกเวอร์ชันที่ไม่ขึ้นกับภาษาของโครงการในกรณีฉุกเฉิน (ICE) ซึ่งได้รับความนิยมในบางส่วนของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "E.123 : Notation for national and international telephone numbers, e-mail addresses and web addresses". www.itu.int. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  2. 2.0 2.1 MSDN: TAPI Applications - Device Control - Canonical Address
  3. 3.0 3.1 (v=ws.10).aspx Microsoft Technet: Dialing Rules and Canonical Address Format.
  4. MSDN: TAPI Applications - Device Control - Storing Phone Numbers in Electronic Address Book.
  5. "ITU standard allows emergency rescue workers to identify a victim's next-of-kin". ITU-T Newslog. International Telecommunication Union. 20 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2008.
  6. Bob's idea has global impact (Cambridge Evening News) เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 3, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]