อีแลนด์ธรรมดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีแลนด์ธรรมดา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Taurotragus
สปีชีส์: T.  oryx
ชื่อทวินาม
Taurotragus oryx
(Pallas, 1766)
ชนิดย่อย
  • T. o. livingstonii
  • T. o. oryx
  • T. o. pattersonianus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
[2]
  • Tragelaphus oryx (Pallas, 1766)
  • Taurotragus alces (Oken, 1816)
  • Taurotragus canna (C. H. Smith, 1827)
  • Taurotragus barbatus (Kerr, 1792)
  • Taurotragus oreas (Pallas, 1777)
  • Taurotragus typicus Selous, 1899
  • Taurotragus livingstonei (P. L. Sclater, 1864)
  • Taurotragus billingae Kershaw, 1923
  • Taurotragus kaufmanni (Matschie, 1912)
  • Taurotragus niediecki (Matschie, 1913)
  • Taurotragus selousi Lydekker, 1910
  • Taurotragus triangularis (Günther, 1889)
  • Taurotragus pattersonianus Lydekker, 1906

อีแลนด์ธรรมดา หรือ อีแลนด์ใต้ หรือ อีแลนด์แอนทีโลป (อังกฤษ: Common eland, Eland, Southern eland, Eland antelope; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taurotragus oryx) สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นแอนทีโลปจำพวกวัวและควาย

จัดเป็นอีแลนด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปแอฟริกา แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์แห่งชาติในเคนยา, แทนซาเนีย, รวันดา, อูกันดา, นามิเบีย และแอฟริกาใต้

มีรูปร่างใหญ่บึกบึน ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 500-900 กิโลกรัม หรือมากกว่า 1 ตัน ตัวเมีย 330-500 กิโลกรัม มีความสูงเฉลี่ย 1.4-1.8 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 2.4-3.4 เมตร อายุขัยเฉลี่ยตั้งแต่ 5-20 ปี

อีแลนด์ธรรมดา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีเขาใหญ่กว่า ขณะที่ตัวเมียเขาจะยาวกว่าเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าที่โล่งกว้างและป่าละเมาะที่ไม่หนาทึบมากนัก มักเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยไปเรื่อย ๆ เพื่อหาหญ้า, ใบไม้, กิ่งไม้ และผลไม้ กินเป็นอาหาร ความชื้นจากอาหารเหล่านี้ช่วยหล่อเลี้ยงให้อีแลนด์ธรรมดาอดน้ำได้เป็นเวลานาน แม้จะมีรูปร่างที่ใหญ่ แต่ลูกอีแลนด์ธรรมดาหรืออีแลนด์ธรรมดาตัวเมียก็ยังตกเป็นอาหารของสิงโต และไฮยีน่า ที่ล่าเป็นฝูง[3]

การจำแนก[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย[1][4]

ขณะหากินตามธรรมชาติ
  • T. o. livingstonii (Sclater, 1864; ลิฟวิ่งสโตนอีแลนด์): หรือที่เรียกว่า kaufmanni, niediecki, selousi และ triangularis มีผิวหนังสีน้ำตาลและมีลายขีดกลางลำตัว 12 ขีด
  • T. o. oryx (Pallas, 1766; เคปอีแลนด์): หรือที่เรียกว่า alces, barbatus, canna และ oreas พบในตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกา มีขนสีน้ำตาลเมื่อโตขึ้นลายขีดบนตัวจะหายไป
  • T. o. pattersonianus (Lydekker, 1906); หรือที่เรียกว่า billingae พบในแอฟริกาตะวันออก มีลายขีดได้ถึง 12 ขีด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). "Tragelaphus oryx". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.1. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  2. c Grubb, P. (2005). "Order Artiodactyla". In Wilson, D. E.; Reeder, D. M. Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 696–7. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  3. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 54-55. ISBN 978-616-90508-0-3
  4. Skinner, JD (2005). "Ruminantia". The Mammals of the Southern African Subregion (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 637–9. ISBN 0-521-84418-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Taurotragus oryx ที่วิกิสปีชีส์