อีตามาร์ เบ็น กวีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีตามาร์ เบ็น กวีร์
ตำแหน่งรัฐมนตรี
2022–รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ
ฝ่ายที่เป็นตัวแทนในรัฐสภาอิสราเอล
2021–2022พรรคไซออนิสต์ศาสนา
2022–อ็อตส์มาเยฮูดิต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1976-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 (47 ปี)
เมวาเซเร็ตซีย็อน ประเทศอิสราเอล
พรรคการเมืองอ็อตส์มาเยฮูดิต
คู่สมรสอายาลา นิมโรดี
บุตร5 คน
การศึกษาวิทยาลัยวิชาการโอโน

อีตามาร์ เบ็น กวีร์ (ฮีบรู: אִיתָמָר בֶּן גְּבִיר; เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1976) เป็นทนายและนักการเมืองขวาจัดชาวอิสราเอล[1][2] ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ[3] เขาเป็นสมาชิกรัฐสภาอิสราเอลและเป็นผู้นำพรรคอ็อตส์มาเยฮูดิต[4][5]

เบ็น กวีร์ เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ที่อิสราเอลครอบครอง เผชิญกับข้อหาประทุษวาจาต่อชาวอาหรับ และเป็นที่รู้จักจากการแขวนภาพบารูก โกลด์สไตน์ ผู้ก่อการร้ายชาวอิสราเอล-อเมริกันที่สังหารหมู่มุสลิมชาวปาเลสไตน์ 29 คนกับคนอื่นบาดเจ็บ 125 คนในการสังหารหมู่ที่ถ้ำบรรดาอัครบิดรที่ฮีบรอนเมื่อ ค.ศ. 1994 ไว้ในห้องนั่งเล่น หลังเข้าเล่นการเมืองจึงนำภาพนั้นออก[5] ก่อนหน้านี้เขาเคยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่มีชื่อว่ากัฆซึ่งสนับสนุนลัทธิคาฮัน อุดมการณ์ขบวนการไซออนิสต์ศาสนาสุดโต่ง[6]

อ็อตส์มาเยฮูดิต ("พลังยิว") พรรคที่สนับสนุนลัทธิคาฮันและต่อต้านชาวอาหรับภายใต้การนำของเขา ชนะที่นั่งในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ ค.ศ. 2022 ไป 6 ที่นั่งใน และเป็นตัวแทนของสิ่งที่เรียกว่ารัฐบาลฝ่ายขวาและเข้มงวดที่สุดในประวัติศาสตร์อิสราเอล[7][8][9][10] เขาได้เรียกร้องให้ขับไล่พลเมืองอาหรับในอิสราเอลที่ไม่จงรักภักดีต่ออิสราเอล[10] เบ็น กวีร์ "เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในมุมมองและกิจกรรมอคติทางเชื้อชาติที่ต่อต้านอาหรับอย่างเปิดเผย"[11] Eva Illouz นักสังคมวิทยาชาวอิสราเอล กล่าวว่าเบ็น กวีร์ เป็นตัวแทนของ "ลัทธิฟาสซิสต์ยิว"[12]

เบ็น กวีร์ ถูกกล่าวหามานานแล้วว่าเป็นผู้ยั่วยุ ก่อนหน้านี้ได้ไปเยือนเนินพระวิหารหลายครั้งในฐานะนักเคลื่อนไหวและสมาชิกของรัฐสภา ข้อถกเถียงเรื่องการเดินขบวนผ่านย่านมุสลิมในบริเวณเมืองเก่าของเยรูซาเลม และจัดตั้งสำนักงานในย่านอัชชัยค์ญัรรอห์ที่เกิดการขับไล่ชาวปาเลสไตน์หลายครั้ง[13] ณ วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2023 เขาไปเยือนเนินพระวิหาร ซึ่งก็เป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอักศอ กระตุ้นให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติว่าการเยือนของเขาเป็นการยั่วยุโดยเจตนา[13] ส่วนในอาชีพทนาย เขาเป็นที่รู้จักจากการปกป้องกลุ่มหัวรุนแรงและผู้ก่อการร้ายชาวยิวในการพิจารณาคดีที่อิสราเอล[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Itamar Ben-Gvir: Israeli far-right leader set to join new coalition". BBC News. 25 November 2022. สืบค้นเมื่อ 22 December 2022.
  2. "Far-right Ben-Gvir to be Israel's national security minister". AP NEWS. 25 November 2022. สืบค้นเมื่อ 22 December 2022.
  3. "Far-right extremist gets Israeli security job as coalition deals struck". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). Reuters. 25 November 2022. สืบค้นเมื่อ 3 December 2022.
  4. "Otzma Yehudit leaders attack Jewish Home over Amona". Israel National News. 11 December 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
  5. 5.0 5.1 "Israel's far-right leader Ben-Gvir wins adoring young fans". France24.com. 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 November 2022.
  6. Toosi, Nahal (December 20, 2022). "Biden's strategy for a far-right Israel: Lay it all on Bibi". Politico. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
  7. Keller-Lynn, Carrie (29 December 2022). "Netanyahu returns as PM, wins Knesset support for Israel's most hardline government". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 29 December 2022.
  8. Kelman, Aaron (27 January 2013). "Arab town doesn't love anti-Arab party". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  9. Ahren, Raphael (18 February 2015). "The extremist who could bring Kahanism back to the Knesset". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  10. 10.0 10.1 Magid, Jacob (24 February 2019). "Otzma Yehudit candidate: Critics have to go back 30 years in order to attack us". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
  11. Hermann, Tamar (2022). "The Religions Zionist Sector at Bay". Religions. 13 (2): 178. doi:10.3390/rel13020178.
  12. Illouz, Eva (15 November 2022). "La troisième force politique en Israël représente ce que l'on est bien obligé d'appeler, à contrecœur, un "fascisme juif"". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส).
  13. 13.0 13.1 "Wave of international criticism after Ben Gvir visits flashpoint Temple Mount". The Times of Israel. 3 January 2023. สืบค้นเมื่อ 4 January 2023.
  14. Maltz, Judy (4 January 2016). "The Lawyer for Jewish Terrorists Who Started Out by Stealing Rabin's Car Emblem". Haaretz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2023. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.