อินเทล P5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิปตระกูลเพนเทียม

P5 เป็นสถาปัตยกรรมไมโครรุ่นแรกของเพนเทียม เป็นไมโครโพรเซสเซอร์แบบ x86 รุ่นที่ 5 ผลิตโดยบริษัทอินเทล วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1993 โดยเป็นรุ่นต่อจากไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น 80486

เดิมทีอินเทลตั้งชื่อซีพียูรุ่นที่ 5 ว่า "586" (หรือ 80586, i586) ตามซีพียูรุ่นก่อนๆ แต่อินเทลพบปัญหาในด้านกฎหมาย เมื่อไม่สามารถร้องขอต่อศาล ให้จดชื่อทางการค้าที่เป็นตัวเลข (เช่น 486) เพื่อป้องกันคู่แข่งอย่างบริษัทเอเอ็มดีในการตั้งชื่อซีพียูชื่อใกล้เคียงกัน (เช่น Am486) ได้ อินเทลจึงหันมาใช้ชื่อที่สามารถจดเป็นชื่อการค้าแทน สัญลักษณ์ยี่ห้อ "เพนเทียม" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีเพนเทียมรุ่นถัดๆ มามากมาย ขณะนี้อินเทลได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะทดแทนยี่ห้อเพนเทียมด้วยยี่ห้อ อินเทล คอร์ (Intel Core) ซึ่งออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า P6 โดยมีลักษณะเด่นที่สามารถประมวลผลได้ดี ในความเร็วรอบ (frequency) ที่ต่ำ และใช้พลังงานไฟที่ต่ำมาก

ความแตกต่างจาก 486[แก้]

  • สถาปัตยกรรมแบบซูเปอร์สเกลาร์ (Superscalar) เพิ่มไปป์ไลน์เป็น 2 ตัว เพื่อให้ประมวลคำสั่งได้มากกว่าหนึ่งคำสั่งภายในรอบสัญญาณนาฬิกา
  • จำนวนข้อมูลที่สามารถดึงจากหน่วยความจำเพิ่มเป็น 64 บิตต่อครั้ง (จากเดิม 32 บิต) ตัวเลขนี้ไม่ใช่การประมวลผลแบบ 64 บิต
  • ชุดคำสั่งพิเศษ MMX สำหรับการประมวลผลมัลติมีเดีย

สถาปัตยกรรมแบบเพนเทียมส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า 486 สองเท่าในความเร็วสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน

รุ่น[แก้]

เพนเทียม MMX

เพนเทียมรุ่นแรกมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ 60 เมกกะเฮิร์ตซ รุ่นสุดท้ายที่มีการผลิตใช้ความเร็ว 300 เมกกะเฮิร์ตซ เพนเทียมรุ่นแรกยังแบ่งเป็นรุ่นย่อยต่างๆ 5 รุ่นดังนี้

  • P5
  • P54
  • P54C
  • P55
  • P55C (Tillamook) - วางจำหน่ายในชื่อ Pentium with MMX Technology หรือ Pentium MMX

รายละเอียด[แก้]

ซีพียู Pentium รุ่นแรกมีความเร็ว 60MHz หรือเท่ากับ 100 mips ผู้คนยังคงเรียกซีพียูรุ่นนี้ ว่า p5 หรือ p54 เพื่ออิงกับของเดิมด้วย ซีพียูรุ่นี้มีทรานซิสเตอร์ 3.21 ล้านชิ้น และทำงานกับแอดเดรส 32 บิต (เหมือนกับ 486) นอกจากนี้ยังมีบัสภายนอกแบบ 64 บิตซื่งทำให้มีความเร็วสูงกว่า 486 ประมาณ 2 เท่าอีกด้วย

ซีพียูเพนเทียมมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ 60/66/75/90/100/120/133/150/166/200 MHz ซีพียู 60/66 MHz รุ่นแรกใช้งานบน Socket4 ส่วนที่เหลือทั้งหมดทำงาน กับเมนบอร์ด Socket นอกจากนั้น ยังมีซีพ๊ยูบางรุ่น (75MHz-133MHz) สามารถทำงานบนเมนบอร์ดแบบ Socket 5 ได้ด้วย

เพนเทียมมีความคอมแพตทิเบิลกับระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าทุกชนิด อาทิ DOS, Windows 3.1, Unix และ OS/2 การออกแบบในลักษณะซูเปอร์สเกลาร์ทำให้สามารถปรมวลผลคำสั่งได้ 2 คำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา ซีพียูรุ่นนี้มีแคช 8KB แยกกัน 2 ชุด (แคชของโค้ดกับแคชข้อมูล) และมีหน่วยประมวลผลเชิงทศนิยมซื่งทำให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าซีพียูแบบ x86 นอกจากนั้น เพนเทียมยังมีระบบจัดการพลังงาน SL ของ 486SL และมีการปรับปรุงคุณสมบัติข้อนี้ให้ดีขึ้นด้วย ซีพียูมีพินที่เชื่อมโยงกับเมนบอร์ด ถ้าหากมองภายในตัวซีพียูแล้วที่จริงมันเป็นซีพียู 32 บิตสองอันที่เชื่อมเข้าด้วยกันแต่แยกการทำงาน

เพนเทียมรุ่นแรกกินไฟ 5 โวลต์ ดังนั้นมันจึงก่อความร้อนสูงมาก แต่เมื่อมาถึงรุ่น 100MHz อัตราการกินไฟลดลงเหลือ 3.3 โวลต์ นอกจากนั้นตั้งแต่รุ่น 75MHz เป็นต้นมา ซีพียูยังสามารถทำงานแบบ SYMMETRIC DUAL PROCESSING ซื่งหมายถึงสามารถติดตั้งซีพียูเพนเทียมสองตัวในพีซีเครื่องเดียวกันได้ ถ้าเมนบอร์ดรองรับการติดตั้งดังกล่าว

เพนเทียมอยู่ในตลาดได้นานมาก อินเทลผลิตซีพียูรุ่นนี้ออกมาภายใต้ความเร็วต่าง ๆ และรูปแบบต่าง ๆ ที่จริงแล้วอินเทลได้ใส่สิ่งที่เรียกว่า "s-spec"eating ลงไปด้วย ซึ่งเป็นเครื่องหมายบนต้วซีพียู เพื่อบอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตัวซีพียู เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเซตอัปเมนบอร์ดได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิง[แก้]

  • p. 1, The Pentium Chronicles: The People, Passion, and Politics Behind Intel's Landmark Chips, Robert P. Colwell, Wiley, 2006, ISBN 978-0-471-73617-2.

ดูเพิ่ม[แก้]