อาเธอร์ มูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาเธอร์ มูน
ร้อยเอก อาเธอร์ อเล็กซานเดอร์ มูน เมื่อครั้งประจำหน่วยรถพยาบาลสนาม 2/4 กองกำลังจักรวรรดิออสเตรเลียที่สอง ค.ศ. 1940
เกิด17 พฤษภาคม ค.ศ. 1902
อีสต์เมตแลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์
เสียชีวิต28 ตุลาคม ค.ศ. 1973(1973-10-28) (71 ปี)
สัญชาติออสเตรเลีย
อาชีพแพทย์กองทัพบก
มีชื่อเสียงจากการช่วยชีวิตเชลยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

พันตรี อาเธอร์ มูน (อังกฤษ: Major Arthur Moon; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1902 – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1973) เป็นแพทย์ประจำกองทัพบกชาวออสเตรเลียที่ช่วยชีวิตเชลยศึกตะวันออกไกลหลายสิบคน ในขณะที่ทางรถไฟสายไทย–พม่ากำลังก่อสร้างระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

มูนเกิดวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1902 ที่อีสต์เมตแลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยเมื่ออายุยี่สิบต้น ๆ เขาได้เริ่มอาชีพแพทย์ในฐานะนรีแพทย์และสูติแพทย์

การรับราชการทหาร[แก้]

มูนสมัครเป็นทหารในกองกำลังจักรวรรดิออสเตรเลียที่สองเมื่อ ค.ศ. 1940 แรกเริ่มเดิมที เขาเป็นสมาชิกของหน่วยรถพยาบาลสนาม 2/4 ซึ่งประจำการในตะวันออกกลางและกรีธาพลไปยังซีเรีย โดยที่นั่นเขาได้รับการโอนย้ายสู่จุดรักษาพยาบาล (CCS) 2/2 ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 มูนพร้อมด้วยพันเอก เออร์เนสต์ "เวียรี" ดันล็อป ได้ล่องเรือจากสุเอซและขึ้นฝั่งที่เกาะชวาเพื่อเป็นเกียรติแก่ภาระหน้าที่ของสหราชอาณาจักรในการช่วยเหลือชาวดัตช์ในการป้องกันเกาะชวา[1] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 มีนาคม ชาวดัตช์ได้ยอมจำนน และชาวออสเตรเลียที่รู้จักกันในชื่อกองกำลัง “สีดำ” ได้กลายเป็นเชลยศึก[2]

มีการจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปโดยมีเจ้าหน้าที่ 23 คนรวมถึงอาเธอร์ มูน ในฐานะแพทย์ทหาร ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 กองกำลังเชลยศึกประมาณ 900 คน หรือที่เรียกว่ากองกำลัง “ดันล็อป” ได้รวมตัวกันเพื่อเคลื่อนพลมายังประเทศไทยภายใต้การบังคับบัญชาของดันล็อป "ผู้อ่อนล้า"

กองกำลังดังกล่าวมาถึงอำเภอบ้านโป่งในประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มกราคม และบรรทุกไปที่ตำบลท่าเสา โดยจากตำบลท่าเสากองกำลังนี้ได้เดินเท้าประมาณ 25 กม. ไปยังพื้นที่ทำงานแห่งแรกที่ช่องเขาขาด ซึ่งพวกเขามาถึงพร้อมเชลยศึก 875 คน

มูนย้ายไปที่ค่ายภูเขาหินตกต้นเดือนเมษายน จากนั้นถูกส่งไปที่ตำบลท่ามะขามเพื่อรับตำแหน่งแพทย์ทหารอาวุโส เขาเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 โดยรับหน้าที่ดูแลค่ายแห่งหนึ่งซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลที่เหมาะสมเนื่องจากยังคงไม่เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่กระท่อมไม้ไผ่ใช้เป็นที่พักคนงานเชลยศึกที่อยู่ก่อนหน้าพวกเขา[3][4] ที่นี่มูนทำงานภายใต้พันโท ฟิลิป ทูซีย์ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาดินแดนของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้มีระเบียบและวินัย โดยช่วยเหลือด้านสุขอนามัยและการจัดเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของมูน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารเกณฑ์[5]

ในวันที่ 3 พฤษภาคม กลุ่มคนป่วยกลุ่มแรกมาถึงโดยเรือที่ตำบลท่ามะขาม และหลังจากนั้น ก็มาถึงประมาณ 100 คนต่อวัน หลายคนถูกส่งไปในตอนกลางคืนและทิ้งไว้ในนาข้าวซึ่งต้องส่งคนออกไปตามหาพวกเขา[4]

มูนก็อยู่ที่ช่องไก่และอำเภอท่าม่วงในเวลาต่าง ๆ กัน[6][7]

บันทึกภาวะและความโหดร้าย[แก้]

มูนได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดหนึ่งในบันทึกที่ครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับสภาพค่ายเชลยศึกตะวันออกไกลในช่วงสงครามและความโหดร้ายที่ก่อตัวขึ้น เขาเกณฑ์เชลยที่มีทักษะทางศิลปะสี่คน ได้แก่ แอชลีย์ จอร์จ โอลด์, แจ็ก บริดเจอร์ ชอล์กเกอร์, ฟิลิป เมนินสกี และคีธ เนเบอร์[8] เพื่อรังสรรค์ภาพวาดของค่าย, เชลย และการบาดเจ็บ ซึ่งเหล่าศิลปินดังกล่าวได้ทำงานนี้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากและอันตรายมาก[6][9] ภาพวาดเหล่านี้หลายภาพถูกฝังอยู่ในพื้นดินที่ค่ายสุดท้ายของมูน จากนั้นจึงกู้คืนมาได้หลังสงครามและได้รับการเก็บถาวรโดยหอสมุดแห่งรัฐวิกทอเรีย[10]

ใน ค.ศ. 1995 มีการจัดนิทรรศการผลงานภายใต้ชื่อ 'เดอะ เมเจอร์ อาเธอร์ มูน คอลเลกชัน'[11] ปกสูจิบัตรคอลเลกชันดังกล่าวแสดงภาพวาดมือที่ทำให้สนใจในชื่อ 'บาดแผลจากระเบิด (การโจมตีทางอากาศ)' โดยโอลด์ และนำมาเปรียบเทียบในการเล่าเรื่องถึงเกร์นิกาของปิกาโซว่าเป็นภาพสงครามที่ไม่ธรรมดาอย่างแท้จริง

ปกสูจิบัตรนิทรรศการเมเจอร์ อาเธอร์ มูน คอลเลกชัน

อนุสรณ์สถานสงครามออสเตรเลียมีภาพถ่ายของมูนที่ปฏิบัติการในค่าย[12][13] ส่วนเอกสาร, จดหมาย และรายงานทางการแพทย์ของอาเธอร์ มูน รวมถึงแผนภาพและแผนที่ของสถานที่ฝังศพของทหารที่ค่ายเชลยศึกท่ามะขาม จัดทำโดยหอสมุดแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ (MLMSS 4234)

อ้างอิง[แก้]

  1. Summers, J. (2006). The Colonel of Tamarkan: Philip Toosey and the bridge on the River Kwai, London: Pocket, p.187
  2. The Major Arthur Moon Collection catalogue. State Library of Victoria. 1995. ISBN 0-7306-7902-0.
  3. Summers, J. (2006). The Colonel of Tamarkan: Philip Toosey and the bridge on the River Kwai, London: Pocket
  4. 4.0 4.1 Records of Daily life at Tamarkan, 15 May 1943, State Library of New South Wales, MLMSS 4234
  5. Toosey was later famously portrayed as the Commander in the movie The Bridge over the River Kwai. Summers, J. (2006). The Colonel of Tamarkan: Philip Toosey and the bridge on the River Kwai, London: Pocket
  6. 6.0 6.1 "Major Author Moon". State Library of Victoria. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  7. Winstanley, Peter. "Middle East- Java- Burma Thailand Railway". pows-of-japan.net. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  8. "Obituaries: Tributes to three of our finest". The Advertiser. May 7, 2011. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  9. "Philip Meninsky (1919–?)". Imperial War Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2014. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  10. sryan (April 1, 2013). "The Major Moon Collection". State Victoria Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-28. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.
  11. "State Library Victoria the Major Moon Collection". April 2013.
  12. Major Arthur Moon operating in the hospital hut at Tamaung, Thailand, in 1943.
  13. "'Burma-Thailand'". Australia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ October 29, 2014.