อาหารมหชีวนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาหารมหชีวนะ (อังกฤษ: macrobiotic diet; คำว่า "macro" มีความหมายว่า ยาว "bios, biot-" มีความหมายว่าชีวิต)[1] คือการคุมอาหาร กินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการอาหารประเภทข้าวเป็นส่วนใหญ่ โดยผนวกกับอาหารประเภทอื่น เช่น ผักท้องถิ่น การหลีกเลี่ยงการกินอาหารจากเนื้อสัตว์ ยังหมายถึงวิธีการกินอาหารที่ไม่มากเกินไปและเคี้ยวอาหารอย่างละเอียดก่อนกลืน นักเขียนได้ระบุความหมายของอาหารมหชีวนะว่าเป็นอาหารต่อต้านมะเร็ง

องค์ประกอบ[แก้]

ส่วนประกอบอาหารมหชีวนะบางชนิด

แนวทางทั่วไปของอาหารมหชีวนะแบบญี่ปุ่น ประกอบด้วย[2]

  • เมล็ดธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ได้ขัดสีสิ่งใดออก ที่เคี้ยวง่าย โดยเฉพาะข้าวกล้อง : ร้อยละ 40–60
  • ผัก : ร้อยละ 25–30
  • ถั่วและพืชตระกูลถั่ว : ร้อยละ 5–10
  • ซุปมิโซะ : ร้อยละ 5
  • พืชจากทะเล สาหร่าย : ร้อยละ 5
  • อาหารท้องถิ่นหรืออาหารที่มีกรรมวิธีจากธรรมชาติ : ร้อยละ 5–10

ปลาและอาหารทะเล เมล็ดพืชและถั่ว เนยถั่ว อาหารตามฤดูกาล สารให้ความหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม สามารถรับประทานได้ในบางโอกาส อาจจะ 2–3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาหารจากสัตว์อย่างอื่นอาจมีได้ ได้ช่วงการเปลี่ยนเข้าสู่การควบคุมอาหาร หรือในยามจำเป็นของแต่ละคน

อ้างอิง[แก้]

  1. Cf. classical Greek μακροβιότης makrobiótēs "longevity", Liddell & Scott Greek Dicionary
  2. Kushi, Michio; Blauer, Stephen; Esko, Wendy (2004). The Macrobiotic Way: The Complete Macrobiotic Lifestyle Book. Avery. ISBN 1-58333-180-8.