อาหารทำหน้าที่
อาหารทำหน้าที่,[1] อาหารเชิงหน้าที่ หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (อังกฤษ: functional food) เป็นอาหารที่มีการเติมส่วนผสมใหม่ หรือเพิ่มส่วนผสมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกายในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค[2] อาหารทำหน้าที่เป็นอาหารต่อเนื่องชนิดหนึ่งซึ่งผู้บริโภคอาจเลือกบริโภคเพื่อเสริมสุขภาพหรือเพื่อบรรเทาโรคได้
อาหารทำหน้าที่สามารถแบ่งได้เป็นอาหารจำพวกจัดเตรียมเพื่อความสะดวกในการรับประทาน หรืออาหารที่มีการเพิ่มคุณค่าทางอาหารเพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย เช่น ผลิดภัณท์เสริมวิตามิน อาหารหมักที่มีเชื้อมีชีวิตที่เมื่อเพาะแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย (ตัวอย่างได้แก่ จุลินทรีย์) ซึ่งมีการเพาะไว้แล้วนำมาทำเป็นนมเปรี้ยว) แต่ทั้งนี้ไม่นับอาหารที่เพิ่มส่วนผสมหนึ่ง ๆ เข้าไปเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และไม่มีการแสดงข้อมูลส่วนผสมที่เพิ่ม เพื่อประโยชน์ในการลดปัญหาสาธารณสุข เช่น โรคกระดูกอ่อน อาหารที่เติมส่วนผสมแต่ไม่นับเป็นอาหารทำหน้าที่ เช่นเกลือเสริมไอโอดีน การเติมวิตามินดีในนม เป็นต้น
อาหารทำหน้าที่เป็นสาขาวิชาเกิดใหม่สาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์การอาหาร เนื่องจากผู้บริโภคปัจจุบันให้ความตระหนักถึงสุขภาพตนเองมากขึ้น รวมถึงความสามารถของผู้ขายที่จะสร้างจุดขายใหม่ในผลิตภัณฑ์ของตน
นิยามคำว่าอาหารทำหน้าที่เริ่มมีการใช้ครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งมีกระบวนการอนุมัติอาหารทำหน้าที่จากภาครัฐที่เรียกว่า "อาหารบ่งใช้สำหรับร่างกาย" (อังกฤษ: Food for Specified Health Uses, FOSHU) [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2567, หน้า 101.
- ↑ What are Functional Foods and Nutraceuticals? Agriculture and Agri-Food Canada
- ↑ "FOSHU, Ministry of Health, Labor and Welfare, Japan".
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|source=
ถูกละเว้น (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Functional Foods: Public Health Boon or 21st Century Quackery? เก็บถาวร 2004-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - สรุปกฎเกณท์และความต้องการสำหรับอาหารฟังก์ชันในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (ข้อมูลเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542) (อังกฤษ)