อาสนวิหารชั่วคราวนักบุญเปาโล (วัลเลตตา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารชั่วคราวนักบุญเปาโล
อาสนวิหารชั่วคราวและโบสถ์ปาริชคอลเลกิเอตนักบุญเปาโล
Il-Pro-Katidral ta' San Pawl
แผนที่
35°54′1.2″N 14°30′41.5″E / 35.900333°N 14.511528°E / 35.900333; 14.511528
ที่ตั้งวัลเลตตา
ประเทศ มอลตา
นิกายคริสต์จักรแห่งอังกฤษ
Churchmanshipไฮเชิร์ช
เว็บไซต์Cathedral Website
ประวัติ
สถานะอาสนวิหารชั่วคราว
ก่อตั้ง20 มีนาคม 1839
ผู้ก่อตั้งQueen Adelaide
อุทิศแก่นักบุญเปาโล
วันอุทิศ1 พฤศจิกายน 1844
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานเปิด
สถาปนิกRichard Lankesheer (ปรับแต่งภายหลังโดย William Scamp)[1]
รูปแบบสถาปัตย์นีโอคลาสสิก
งานฐานราก1839
แล้วเสร็จ1844
โครงสร้าง
ความสูงยอดแหลม200 ft (61 m)[1]
การปกครอง
Archdeaconryอิตาลีและมอลตา
มุขมณฑลยุโรป
แขวง คันเทอร์บรี
นักบวช
มุขนายกRobert Innes
ผู้แทนSimon Godfrey
ฆราวาส
นักออร์แกนHugo Agius Muscat
Philip Galea
Churchwarden(s)Clive Bennington
Bernice Caruana

อาสนวิหารชั่วคราวนักบุญเปาโล (มอลตี: Il-Pro-Katridral ta' San Pawl, อังกฤษ: St Paul's Pro-Cathedral) หรือชื่อทางการ อาสนวิหารชั่วครวและโบสถ์คอลเลกิเอตนักบุญเปาโล (อังกฤษ: The Pro-Cathedral and Collegiate Church of Saint Paul) เป็นอาสนวิหารชั่วคราว (pro-cathedral) ในนิกายอังกลิคันภายใต้อัครสังฆมณฑลในยุโรป ตั้งอยู่ที่จัตุรัสเอกราช วัลเตตา ประเทศมอลตา โบสถ์นี้เป็นหนึ่งในสามอาสนวิหารของอัครสังฆมณฑลยิบรอลตาร์ประจำยุโรป

อาสนวิหารสร้างขึ้นโดยสตรีสูงศักดิ์ ราชินีอะเดเลด ขณะเยือนมอลตาในศตวรรษที่ 19 เมื่อนางพบว่าบนเกาะมอลตาไม่มีศาสนสถานสำหรับศาสนิกชนของนิกายอังกลิคัน ก่อนหน้าที่จะมีการสร้างโบสถ์หลังนี้ ศาสนิกชนนิกายอังกลิคันต้องประกอบพิธีกรรมในพระราชวังแกรนด์มาสเตอร์[2] โบสถ์สร้างขึ้นตรงจุดที่เป็น Auberge d'Allemagne (ที่พำนักคอนเวนต์ของอัศวินผู้บริบาลชาวเยอรมัน) และเป็นผลงานออกแบบโดย William Scamp เริ่มก่อสร้างในปี 1839 แล้วเสร็จในปี 1844 ราชินีอะเดเลดเป็นผู้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 20 มีนาคม แปลนก่อสร้างเดิมออกแบบโดย Richard Lankasheer แต่ว่าต่อมาได้รับการพิสูจน์ว่าแปลนก่อสร้างนั้นไม่มั่นคง จึงเปลี่ยนมาใช้แปลนของ Scamp ในปี 1841 แปลนแรกของ Scamp ตั้งให้พระแท่นบูชาอยูทางตะวันตกของโบสถ์ แต่บิชอปแห่งยิบรอลตาร์มีมุมมองที่เป็นอนุรักษนิยมกว่า จึงได้แก้ไขแปลนใหม่โดย Scamp ออกแบบให้มีส่วนโค้งครึ่งวงกลม (apse) ภายในประตูใหญ่ (great doors) สำหรับเป็นสักการสถาน (sanctuary) ทางตะวันออก[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "One World - Protecting the most significant buildings, monuments and features of Valletta". Times of Malta. Birkirkara. 1 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020.
  2. Gaul, Simon (2007). Malta, Gozo and Comino. ISBN 9781860113659.[ลิงก์เสีย]
  3. Mahoney, Leonardo (1996). 5,000 Years of Architecture in Malta. Valletta Publishing. pp. 214–215. ISBN 978-9990958157.