ข้ามไปเนื้อหา

อารามมวีเป็ก

พิกัด: 34°23′0″N 76°22′0″E / 34.38333°N 76.36667°E / 34.38333; 76.36667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มวีเป็กเกินปา
พระพุทธฉายจัมพา (Chamba)
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
นิกายดรูกปา และ เกลุก
ที่ตั้ง
ที่ตั้งคาร์กีล ลาดาข ประเทศอินเดีย
อารามมวีเป็กตั้งอยู่ในลาดัก
อารามมวีเป็ก
ที่ตั้งในลาดัก
พิกัดภูมิศาสตร์34°23′0″N 76°22′0″E / 34.38333°N 76.36667°E / 34.38333; 76.36667
สถาปัตยกรรม
รูปแบบทิเบต

อารามมวีเป็ก (ทิเบต: མུལ་སྦེག་དགོན་པ།, พินอินทิเบต: mübêk gönba; อังกฤษ: Mulbekh Monastery) เป็นหมู่อารามพุทธทิเบต (เกินปา) จำนวนสองอาราม หลังหนึ่งเป็นของนิกายดรูกปา อีกหลังเป็นของนิกายเกลูก ตั้งอยู่ในคาร์กีล ลาดาข ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บนยอดสุดของเขา ราว 200 เมตร (656 ft) เหนือจากถนนใกล้สุด และมีทางเชื่อมต่อกับพระราชวังของราชากาโลนแห่งมวีเป็ก (Rajah kalon of Mulbekh) ที่ตั้งอยู่ด้านล่าง[1] อารามสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเดินเท้าที่คดเคี้ยว ทอดยาวอยู่ด้านหลังของอาราม[2] อารามตั้งอยู่ที่ความสูง 3,504 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนเมืองด้านล่างไปมีประชากรอยู่ที่ 5,730 คน[3]

พระพุทธรูปจัมพา

[แก้]

ราว 45 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองคาร์กีลเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปจัมพา (Chamba Statue; ทิเบต: ཅམ་བ།, พินอินทิเบต: jampa) ในหมู่บ้านมวีเป็ก แกะสลักเข้าไปในผาหิน ทางขวาของถนน แสดงภาพของพระศรีอาริยเมตไตรยพุทธเจ้า หันหน้าเข้าถนน บ้างว่ารูปปั้นนี้สร้างขึ้นในสมัยกุษาณ[4] ส่วนนักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 8[5] ท่อนล่างของพระพุทธรูปถูกบังด้วยวัดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นในปี 1975[6]

ใกล้กันยังพบจารึกโบราณเขียนด้วยอักษรขโรษฐี[7] ใกล้กันยังเจอจารึกกฤษฎีกาให้กับคนท้องถิ่นเพื่อให้หยุดบูชายัญแะพ ดำริไว้โดยกษัตริย์พระนามว่า "เต๋" (King Lde) ผู้ปกครองลาดาขในสมัย ค.ศ. 1400 ชาวมวีเป็กมองว่าคำสั่งนี้ยากเกินกว่าจะปฏิบัติตามได้ บนหินก้อนเดียวกันนี้จึงสามารถพบจารึกอีกกลุ่มหนึ่งเขียนว่าพระราชกฤษฎีกานี้ยากเกินกว่าจะปฏิบัติตามได้[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schettler (1981), p. 97.
  2. Rizvi (1986), p. 251.
  3. "Alphabetical listing of Places in Jammu and Kashmir that start with Mu".
  4. Schettler (21981), p. 98.
  5. Rizvi (1996), p. 10.
  6. Schettler (1981), p. 98.
  7. Schettler (1981), p. 98.
  8. Francke (1977), p. 101.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • http://jktourism.org/index.php/mulbekh-chamba
  • Francke, A. H. (1977). A History of Ladakh. First edition 1907. 1977 reprint with Critical Introduction and Annotations by S. S. Gergan & F. M. Hassnain. Sterling Publishers, New Delhi.
  • Rizvi, Janet. (1996). Ladakh: Crossroads of High Asia. Second Edition. Oxford India Paperbacks. 3rd Impression 2001. ISBN 0-19-564546-4.
  • Schettler, Margret & Rolf (1981). Kashmir, Ladakh & Zanskar. Lonely Planet. South Yarra, Victoria, Australia.