อาณานิคมอวกาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณานิคมอวกาศ หรือ สเปซโคโลนี (อังกฤษ: Space colony) คือ สภาวะแวดล้อม (สิ่งแวดล้อม) ที่เปรียบเสมือนถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ในอนาคต โดยภายในโคโลนีจะมีระบบต่างๆ เอื้อให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาทิ ระบบสร้างชั้นบรรยากาศเทียม ระบบสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม ระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถดื่มได้ ระบบรีไซเคิลขยะหรือเผาทำลายขยะ 100% เพื่อให้ไม่มีปัญหาขยะสะสมในโคโลนี ระบบรวบรวมทรัพยากรสำคัญจากอวกาศ ระบบผลิตพลังงานที่มีกำลังสูงเพื่อเป็นพลังงานให้ทั้งโคโลนี

สเปซโคโลนีมักถูกกล่าวถึงอยู่เสมอในนวนิยายและการ์ตูนแนววิทยาศาสตร์ แต่สำหรับโลกวิทยาศาสตร์แล้วมีการพัฒนาแนวคิด และวิจัยอย่างเป็นทางการเมื่อสตีเฟ่น ฮอว์คิง ได้กล่าวเอาไว้ในปี ค.ศ. 2001 ว่าวิธีที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ได้อย่างยั่งยืน คือ การสร้างสเปซโคโลนี[1]

ณ ปัจจุบันหลายประเทศได้ผลักดันแนวคิดนี้ทั้งทางด้านแนวคิด และการวิจัย ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน

ผู้สนับสนุนความคิดในการสร้างสเปซโคโลนี[แก้]

แนวคิดในเรื่องนี้ คือ การที่มีหลักประกันว่ามนุษย์จะอยู่รอดในอวกาศได้ โดยปลอดภัยทั้งในด้านภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม

ในอดีตได้มีนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีทางด้านจักรวาลชื่อ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ได้กล่าวสนับสนุนเอาไว้ โดยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2001 ค.ศ. 2006 และในปี ค.ศ. 2011 ไว้ว่าวิธีที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ได้คือการสร้างโคโลนี โดยมนุษย์อาจสูญพันธ์ได้ในอีก 1,000 ข้างหน้า ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างโคโลนีโดยเร็วเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[1] และมีเนื้อหาสำคัญที่กล่าวไว้ใน ค.ศ. 2006 ด้วยว่าเราอาจต้องสูญเสียเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปในอีก 200 ปีข้างหน้านี้หากไม่สร้างโคโลนี[2]

Louis J. Halle ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร Foreign Affairs ในฤดูร้อน ค.ศ. 1980 ว่าอาจเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจึงนับเป็นความคิดที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้[3] Paul Davies นักฟิสิกส์ท่านหนึ่งได้เสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งรกรากในอวกาศไว้ว่า หากโลกเผชิญกับภัยพิบัติครั้งใหญ่จริง โคโลนีจะเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เอาไว้ เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึงมนุษย์จะได้มีโอกาสกลับไปโลกเพื่อฟื้นฟูอารยธรรมมนุษย์และสิ่งแวดล้อมบนโลกหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไป นอกจากนี้นักประพันธุ์และนักเขียนชื่อ William E. Burrows รวมถึงนักชีววิทยาชื่อ Robert Shapiro ได้กล่าวสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมโครงการรักษาเผ่าพันธ์มนุษย์โดยการตั้งรกรากในอวกาศอีกด้วย[4]

J. Richard Gott ผู้มีพื้นฐานความคิดในแนวทางของนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Copernican principle) โดย J. Richard Gott ได้คาดการณ์ว่าอารยธรรมมนุษย์น่าจะอยู่ได้อีก 7.8 ล้านปี แต่เขาก็คิดว่าน่าจะมีอารยธรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ในอวกาศด้วย เพราะหากพวกเขามาเยือนอาจมีสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้น ดังนั้นการสร้างโคโลนีจะเป็นช่วยรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์เอาไว้ได้[5]

สเปซโคโลนีในการ์ตูน[แก้]

สเปซโคโลนีเป็นที่อยู่ของมนุษย์ในอวกาศในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกันดั้ม ภายในโคโลนี่จะคล้ายกับโลกให้มนุษย์อยู่อาศัย ส่วนภายนอกจะเป็นโลหะล้อมรอบ และมีระบบการจัดการให้บรรยากาศภายในโคโลนี่เหมือนกับโลก รูปร่างไม่แน่นอน

เนื่องจากปัญหาประชากรล้นโลก จึงได้มีการสร้างอาณานิยมกลางอวกาศเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี U.C. 0050 ประชากรมนุษย์กว่า 80% นั้นอาศัยอยู่ในอาณานิคมกลางอวกาศนี้ โดยโคโลนีแต่ละอันสามารถจุคนได้นับล้านคน ต่อมาได้มีการจัดกลุ่มโคโลนีเป็นไซด์ต่างๆ โดยที่ 1 ไซด์จะมีโคโลนีประมาณ 35-40 แห่ง จุคนเป็นพันๆล้านคน โคโลนีนั้นจะเป็นลักษณะทรงกระบอก ยาวประมาณ 20 ไมล์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ไมล์ มีการหมุนรอบตัวเองทุกสองนาทีเพื่อสร้างแรงดึงดูดจำลอง โคโลนีส่วนมากจะถูกสร้างเป็นลักษณะเปิด และมีการติดตั้งกระจกเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์สำหรับความสว่างในโคโลนี แต่ก็มีโคโลนีบางแห่งเช่นไซด์ 3 ที่มีการสร้างแบบปิด โดยที่มีระบบสร้างแสงด้วยตนเอง รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่วนเรื่องวัตถุดิบในการนำมาสร้างโคโลนีนั้นมาจากดวงจันทร์ การสร้างโคโลนีจะขุดแร่ต่างๆ ที่จำเป็นจากดวงจันทร์ และนำมาที่เขตก่อสร้างเคลื่อนที่ เช่น ลูน่า II, 5th ลูน่า และ โซโลม่อน เป็นต้น

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการสร้างสเปซโคโลนี[แก้]

  • ทรัพยากร เพราะทรัพยากรในโคโลนีมีทรัพยากรจำกัดจำเป็นต้องซื้อจากโลก หรือขุดจากอุกกาบาตุและดาวหางที่เคลื่อนที่ผ่านด้วยหุ่นยนต์หรือโดรน
  • พลังงาน เพราะโคโลนีไม่มีแหล่งพลังงานมากมายและหลากหลายเหมือนบนโลก ดังนั้นทางเลือกที่เหมาะสมคือการสร้างแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่หากอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ หรือสร้างพลังงานด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หากอยู่ไกลจากดาวฤกษ์
  • การขนส่งทางไกล การขนส่งทางไกลสำหรับโคโลนีนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ทั้งการขนส่งทรัพยากรต่างๆ สินค้า หรือแม้แต่บุคคล เช่น บุคคลทางการเมือง (นักการทูต นักการเมือง) เพื่อความร่วมมือระหว่างโลกกับโคโลนีหรือระหว่างโคโลนีกับโคโลนีด้วยกันเอง ต่อมาคือนักธุรกิจเพราะจำเป็นต้องมีการเจรจาซื้อขายทรัพยากรและสินค้าที่พบได้ยากบนโคโลนี เป็นต้น
  • สังคมและกฎระเบียบบนโคโลนี เพราะรูปแบบถิ่นที่อยู่อาศัยบนโคโลนีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากโลกพอสมควร โดยอาจมีผลต่อสภาวะจิตใจของประชากรได้ รวมทั้งความปลอดภัยบนโคโลนีก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อสภาวะจิตใจ และออกกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • ระบบที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต บนโคโลนีนั้นมีสภาวะที่แตกต่างจากโลก เช่น ไม่มีชั้นบรรยากาศจึงต้องมีระบบสร้างชั้นบรรยากาศเทียม และไม่มีแรงโน้มถ่วงจึงต้องมีระบบสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม เป็นต้น รวมถึงไม่มีพื้นที่ทิ้งน้ำเสียที่มากเหมือนบนโลก จึงจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์จนมนุษย์สามารถนำไปอุปโภคและบริโภคได้ โดยทำให้วัฏจักรของน้ำสมบูรณ์
  • การป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศ เพราะในอวกาศมีรังสีอันตรายมากมาย เช่น รังสีคอสมิก รังสีเอ็กซ์ซึ่งส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ดังนั้นโคโลนีจึงต้องออกแบบให้สามารถป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศได้[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Highfield, Roger (16 October 2001). "Colonies in space may be only hope, says Hawking". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  2. "Mankind must colonize other planets to survive, says Hawking". Daily Mail(London). 2006-12-01. Retrieved March 11, 2013
  3. Halle, Louis J. (Summer 1980). "A Hopeful Future for Mankind". Foreign Affairs. 58 (5): 1129. doi:10.2307/20040585. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-04.
  4. Morgan, Richard (2006-08-01). "Life After Earth: Imagining Survival Beyond This Terra Firma". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
  5. Tierney, John (July 17, 2007). "A Survival Imperative for Space Colonization". The New York Times.
  6. Nasa. "Space Settlement Basics from NASA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-21. สืบค้นเมื่อ 5 April 2014.