อัศวินพเนจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัศวินพเนจร เป็น อัศวินในสมัยกลาง ที่ใช้ชีวิตโดยตระเวณไปที่ต่างๆ เพื่อค้นหาการผจญภัย ที่จะพิสูจน์ความเป็นอัศวินของตน

ต้นกำเนิดของคำที่พบเก่าที่สุดมาจากคำว่า "knight-errant" ในภาษาอังกฤษของบทกวีในศตวรรษที่ 14 เรื่อง Sir Gawain and the Green Knight, ที่เซอร์กาเวนถูกเซอร์เบอซิลัค ต้อนรับและเรียกเป็น อัศวินพเนจร ด้วยคำโบราณ "knygt erraunt"[1]

เซอร์อิเวนช่วยราชสีห์ ภาพเขียนสีวิจิตรจากสมัยกลาง

ในวัฒนธรรมอื่นๆ[แก้]

บทกวีไบลิน่า (bylina) ของรัสเซีย กล่าวถึง บอกาไทร์ (bogatyr), ซึ่งตรงกับลักษณะของอัศวินพเนจร ที่ทำหน้าที่ผู้ปกป้องแผนดินเกิด และบางคร้งก็เป็นนักผจญภัย บอกาไทร์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ilya Muromets, Dobrynya Nikitich และ Alyosha Popovich

Ilya Muromets (1914) by Viktor Vasnetsov.

จอมยุทธ์พเนจร (Traditional: 遊俠 Simplified: 游侠 Pinyin: yóuxiá แต้จิ๋ว: อิ๋วเหียบ) เป็นผู้กล้าผจญภัยเร่ร่อน ของจีน ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ อัศวินพเนจร ของยุโรปสมัยกลาง โดยจอมยุทธ์พเนจรจะเดินทางตามลำพัง เพื่อปกป้องชาวบ้านจากการถูกผู้ปกครองข่มเหงรังแก จอมยุทธ์พเนจร จะต่างจาก อัศวินพเนจร ตรงที่จอมยุทธ์พเนจร ไม่ได้มาจากกลุ่มชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งของสังคม แต่ จอมยุทธ์พเนจร อาจมีอาชีพใดก็ได้ตั้งแต่ กวี จนถึง ทหาร มีวรรณกรรมหนึ่งในสมัยราชวงศ์ถังที่กล่าวถึงทาสที่มีพลังเหนือธรรมชาติที่ได้ช่วยหญิงสาวที่ถูกลักพาตัว และดำน้ำไปที่ก้นของแม่น้ำที่เชี่ยวกรากไปเอาสมบัติมาได้[2][3]

ในญี่ปุ่น คำว่า Musha shugyō ใช้บรรยายถึง ซามูไร ที่ต้องการจะทดสอบความสามารถของตนในสภาพการใช้ชีวิตจริงๆที่ได้ท่องเที่ยวไปในดินแดนต่างๆ และได้ประลองยุทธ์ต่างๆระหว่างการเดินทาง

อ้างอิง[แก้]

  1. date=20010328 The Maven's Word of the Day: Knight Errant
  2. Liu, James J.Y. The Chinese Knight Errant. London: Routledge and Kegan Paul, 1967 ISBN 0-2264-8688-5
  3. Snow, Philip. The Star Raft: China's Encounter With Africa. Cornell Univ. Press, 1989 ISBN 0801495830