จอมยุทธ์พเนจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอมยุทธ์พเนจร (จีนตัวย่อ: 游侠; จีนตัวเต็ม: 遊俠; พินอิน: yóuxiá) เป็น คำเรียก ผู้กล้านักสู้ ที่ร่อนพเร่ไปที่ต่างๆของจีน ในยุคระหว่าง ราชวงศ์ฮั่น และ ราชวงศ์ชิง.

จอมยุทธ์พเนจร มาจากคำภาษาจีน " 游侠" ที่แปลตรงตัวว่า แรงที่ร่อนเร่ แต่มีความหมายถึง ผู้กล้าที่ท่องไปสถานที่ต่างๆ อาจรวมไปถึง นักผจญภัย ทหารรับจ้าง ผู้ปกป้อง/กอบกู้ชาติ สมาชิกขบวนการใต้ดิน ได้อีกด้วย. คำว่า "แรงที่ร่อนเร่" อ้างอิงถึง วิถีชีวิตที่จอมยุทธ์พเนจรท่องเที่ยวเดินทางไปตามลำพังโดยใช้แรง (กำลังกาย หรือ สายสัมพันธ์ กับผู้มีอำนาจ) ในการแก้ไขสิ่งผิดให้ถูกต้อง เพื่อทั้งกับชาวบ้านสามัญชน และ กับราชวงศ์.

จอมยุทธ์พเนจร ไม่ได้เป็นอาชีพ หรือ มาจากชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งในสังคม. เอกสารทางประวัติศาสตร์ นิยายกำลังภายใน และเรื่องเล่าพื้นบ้าน บรรายายถึง จอมยุทธ์พเนจร ทั้งที่เป็นเจ้าชาย ที่เป็นเจ้าหน้าของรัฐ ที่เป็นกวี ที่เป็นนักดนตรี ที่เป็นหมอ ที่เป็นทหาร ที่เป็นพ่อค้า และที่เป็นคนชำแหละเนื้อ.

อาจารย์ เจมส์ หลิว (Dr. James J.Y. Liu, 1926–1986), ศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรมจีนและวรรณกรรมเปรียบเทียบ ของ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว่า การเป็นจอมยุทธ์พเนจร เหมือนกับ การแสดงออกส่วนบุคคล และ เป็นความต้องการอิสรภาพ มากกว่าที่จะเป็น สถานะทางสังคม ที่ทำให้พวกเขาเลือกที่จะท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้คน. อาจารย์ เจมส์ หลิว เชื่อว่า ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า จอมยุทธ์พเนจร ส่วนใหญ่มาจากทางเหนือของประเทศจีน ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับที่อยู่ของ ชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งวิถีชีวิตของชนเผ่าเหล่านั้นเน้นที่ อิสรภาพของการเดินทางและคุณธรรมทางทหาร. จอมยุทธ์พเนจร หลายคนมาจากมณฑลเหอเป่ย์และมณฑลเหอหนาน ดังเช่น จอมยุทธ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงใน 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน.[1][2]

ในบทกวี[แก้]

วีรกรรมของจอมยุทธ์พเนจร ถูกเล่าต่อกันมาในรูปของร้อยแก้วตลอดประวัติศาสตร์จีน. ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งคือ The Swordsman โดย Jia Dao:

For ten years I have been polishing this sword;
Its frosty edge[3] has never been put to the test.
Now I am holding it and showing it to you, sir:
Is there anyone suffering from injustice?[1]

อาจารย์ เจมส์ หลิว อธิบายว่า บทกวีนี้สามารถสรุปถึงแก่นของจอมยุทธ์พเนจรไว้ได้อย่างดีภายในร้อยแก้ว 4 บรรทัด.[1]

ลักษณะคล้ายๆกัน[แก้]

  • อัศวิน ในยุโรป
  • ซามูไร ในญี่ปุ่น
  • เซโซกโอกี (Sae Sok O-Gye) ในเกาหลี
  • กษัตรา (Kshatriya) ในอินเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Liu, James J.Y. The Chinese Knight Errant. London: Routledge and Kegan Paul, 1967 (ISBN 0-2264-8688-5)
  2. Shi, Nai’an and Luo Guanzhong. Outlaws of the Marsh. Trans. Sidney Shapiro. Beijing: Foreign Language Press, 1993 (ISBN 7-119-01662-8)
  3. Extremely sharp.

แหล่งข้อมูลอื่นๆ[แก้]