อัครวิทย์ สุมาวงศ์
อัครวิทย์ สุมาวงศ์ (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2482) รองประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นบุตรของพระมนูเวทย์วิมลนาท (มนูเวทย์ สุมาวงศ์) กับคุณหญิงแฉล้ม มนูเวทย์วิมลนาท
การศึกษา[แก้]
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดีมาก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2503)
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2504)
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง – ขั้นสูง) ยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน (พ.ศ. 2511)
- เนติบัณฑิตอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับสอง) สำนักเกรส์อินน์ ลอนดอน (พ.ศ. 2512)
- ประกาศนียบัตรกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมาย เปรียบเทียบ สถาบันกฎหมายอเมริกันและกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2519)
รับราชการ[แก้]
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนราธิวาส (26 พฤษภาคม 2514 – 31 มีนาคม 2515)
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช (1 เมษายน 2515 – 31 มีนาคม 2517)
- หัวหน้ากองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ (1 พฤษภาคม 2519 – 30 พฤศจิกายน 2520)
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (22 พฤศจิกายน 2520 – 10 กุมภาพันธ์ 2523)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง (1 ธันวาคม 2520 – 1 กันยายน 2521)
- รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ (2 กันยายน 2521 – 31 มีนาคม 2527)
- ผู้พิพากษาศาลแพ่ง (1 เมษายน 2527 – 30 กันยายน 2528)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง (1 ตุลาคม 2528 – 30 กันยายน 2532)
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (1 ตุลาคม 2532 – 30 กันยายน 34)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ (1 ตุลาคม 2534 – 31 ตุลาคม 2536)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา (1 พฤศจิกายน 2536 – 30 กันยายน 2540)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2540 – 30 พฤศจิกายน 2540)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศกลาง (1 ธันวาคม 2540 – 30 กันยายน 2542)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 (1 ตุลาคม 2542 – 21 กุมภาพันธ์ 2543)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๘, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
หมวดหมู่:
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ตุลาการศาลปกครองไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา