อักไสชิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงอาณาเขตของอักไสชิน (สีแดง)

อักไสชิน (อังกฤษ: Aksaichin; จีน: 阿克赛钦; พินอิน: Ākèsàiqīn; ฮินดี: अक्साई चिन, อักสาอี จิน; ภาษาอูรดู: اکسائی چن; เปอร์เซีย: اقصای چین) เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ในลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีระ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาคุนหลุนของจีนกับเทือกเขาคาราโครัมทางเหนือของอินเดีย พื้นที่เป็นหินสีขาวขนาดใหญ่ ลาดชัน ขรุขระ แห้งแล้ง มีประชากรอยู่น้อยมาก

เมื่อจีนยึดครองทิเบตมาอยู่ในการดูแลได้ใน พ.ศ. 2493 ได้ส่งทหารเข้าไปในอักไสชินและระหว่าง พ.ศ. 2499–2500 จีนได้ตัดถนนผ่านอักไสชินเพื่อเชื่อมโยงทิเบตกับส่วนอื่น ๆ ของจีน ทำให้เกิดปัญหาพรมแดนกับอินเดียตั้งแต่ครั้งนั้น โดยจีนถือว่าอักไสชินเป็นส่วนหนึ่งของซินเจียง ส่วนอินเดียถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของลาดัก แต่ปากีสถานได้โต้แย้งสิทธิ์ของอินเดีย มีการปะทะระหว่างอินเดียและจีนจนรุนแรงขึ้นใน พ.ศ. 2505 เกิดสงครามจีน-อินเดีย ทำให้จีนยึดดินแดนได้มากขึ้น ปัจจุบันอักไสชินยังเป็นดินแดนพิพาทระหว่างจีนและอินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  • ประชุมพร คงทน. อักไสชิน ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 179 – 183