อรรธมณฑป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพเน้นอรรธมณฑปของกันทาริยามหาเทวมนเทียร ขชุราโห

ในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ อรรธมณฑป (อักษรโรมัน: Ardhamandapa) เป็นองค์ประกอบสำคัญในหมู่สิ่งปลูกสร้างทางเข้าของโบสถ์พราหมณ์ องค์ประกอบนี้หมายถึงโถงทางเดินที่สร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านจากข้างนอกสู่ข้างในมณฑปของโบสถ์พราหมณ์[1][2]

อรรธมณฑปโดยทั่วไปมักมีลักษณะเปิดเพื่อช่วยให้มีแสงเข้าถึงและมีอากาศถ่ายเท ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าของมณฑป ในกรณีที่มณฑปใด ๆ มีทางเข้าสามทาง ก็จะมีโถงอรรธมณฑปอยู่สามโถงตามแต่ละด้านที่มีประตูเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ในแง่ของการออกแบบและงานประติมากรรม อรรธมณฑปมีลักษณะคล้ายกันกับมณฑปโดยทั่วไป[3] ในศาสนสถานของฮินดู ไชนะ และพุทธ มีรูปแบบของพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างที่ประดิษฐานตรงใจกลางของศาสนสถาน (ครรภคฤห์) กับโลกภายนอกอยู่ ในโบสถ์พราหมณ์ซึ่งสร้างด้วยแบบแผนเต็มขนาดจะประกอบไปด้วยสามโครงสร้างที่ตอบสนองพื้นที่เปลี่ยนผ่านนี้ คือ อรรธมณฑป, มณฑป และ มหามณฑป โดยมีอรรธมณฑปอยู่ต่ำสุด[4][5][6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Allen, Margaret Prosser (1991). Ornament in Indian Architecture (ภาษาอังกฤษ). University of Delaware Press. p. 127. ISBN 9780874133998. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  2. "A Visual Glossary of Hindu Architecture". brewminate.com. 2 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  3. "Ardhamandapa". blessingsonthenet.com. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  4. Harshananda, Swami. "Ardha-maṇḍapa". สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  5. "Khajuraho Architecture". Carthage College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  6. "francofrescura.co.za | Architecture | A glossary of southern african architectural terms". www.sahistory.org.za. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  7. Cartwright, Mark (4 September 2015). "Hindu Architecture". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]