อรรณัพ โคสวามี
อรรณัพ โคสวามี | |
---|---|
อรรณัพเมื่อปี 2011 | |
เกิด | อรรณัพ โคสวามี[1] 7 มีนาคม ค.ศ. 1973 คุวาหาตี รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
การศึกษา | วิทยาลัยฮินดู (BA) วิทยาลัยเซนต์แอนทอนี (ออกซ์ฟอร์ด) (MA) Visiting Fellow ที่ วิทยาลัยซิดนีย์ซัสเซ็กซ์, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1995–ปัจจุบัน |
องค์การ | รีพับลิกทีวี |
Notable credit | The Newshour Frankly Speaking with Arnab The Debate With Arnab Goswami Nation Wants To Know |
คู่สมรส | สามยพัตร ราย โคสวามี (Samyabrata Ray Goswami) |
บุตร | 1 |
อรรณัพ รันชัน โคสวามี (Arnab Ranjan Goswami; เกิด 7 มีนาคม 1973) เป็นนักข่าวชาวอินเดีย ผู้บริหารและบรรณาธิการของรีพับลิกมีเดียเน็ตเวิร์ค (Republic Media Network)[2][3] ที่ซึ่งเป็นผู้ดำเนินช่องรีพับลิกทีวี (Republic TV) ภาษาอังกฤษ และรีพับชิกภารต (Republic Bharat) ภาษาฮินดี
ก่อนหน้าที่จะทำงานที่รีพับลิกทีวี เขาเคยเป็นหัวหน้าบรรณาธิการและผู้ประกาศข่าวที่ไทมส์นาว และอีทีนาว (ET Now) ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2016[4][5] ก่อนหน้าเขาเคยทำงานอยู่พักหนึ่งที่เอ็นดีทีวี และ เดอเทเลกราฟ ในโกลกาตา
การตอบรับ
[แก้]อรรณัพและรูปแบบการทำข่าวของเขาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักมาโดยตลอด[6] เขามีลักษณะเด่นที่การรายงานข่าวโดยเติมแต่งความเห็นของเขา[7][8]ไปในทางสนับสนุนพรรคภารตียชนตา[9] และแนวคิดแบบ ฮินดูตวะ ในทุก ๆ สถานการณ์[10] รวมถึงการรายงานข่าวของรัฐบาลโดยไม่วิจารณ์,[11] หลีกเลี่ยงการวิจารณ์สมาชิกของพรรคภารตียชนตา[12] และรายงานถึงขั้วตรงข้ามทางการเมืองในแง่ร้าย[13][14] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ทำให้คำสองคำเป็นที่นิยมขึ้นมา — พวกคอมมิวนิสต์ในเมือง (Urban Naxal) และ พวกชังชาติ (Anti-national) — เพื่อใช้เรียกผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือมีแนวคิดทางการเมืองแบบฝ่ายซ้าย เพื่อสร้างความเป็นชาตินิยมสุดโต่งในผู้ชมของเขา[15][16][17][18][19] พบว่าการรายงานข่าวของเขาเต็มไปด้วยการให้ร้ายกลุ่มทางศาสนาหรือชุมชนต่าง ๆ โดยไม่มีความรับผิดชอบ[15]
ช่องรีพับลิกทีวี (Republic TV) ของอรรณัพเป็นที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นเหมือนสื่อเกาหลีเหนือ ด้วยการรายงานข่าวที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างมาก และประณามผู้ที่เห็นต่างอย่างรุนแรง;[20][21] นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ Christophe Jaffrelot และนักข่าว Dexter Filkins เปรียบเทียบช่องนี้กับช่อง ฟอกซ์นิวส์ของสหรัฐ ที่ซึ่งรายงานข่าวที่เอนเอียงในทางสนับสนุนพรรครีพับลิกัน[22][23]
ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจำนวนมากได้เก็บข้อมูลอรรณัพและช่องของเขาและพบว่าได้ทีการรายงานข่าวปลอมหรือข่าวที่น่าสงสัยอย่างชัดแจ้งในหลายโอกาส[24][25][26][27][28][29][30][31][32][33][34]
การวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]อรรณัพมักถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รายงานข่าวที่มีความเอนเอียงและใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปมาก[7][8]ในลักษณะสนับสนุนพรรคภารตียชนตา[9] และแนวคิดฮินดูตวาในทุก ๆ สถานการณ์[10] เขาเลี่ยงการวิจารณ์สมาชิกพรรคภารตียชนตา และนำเสนอมุมมืดของสมาชิกการเมืองขั้วตรงข้ามอยู่เสมอ ๆ[13][14]
กรณีทำลายชื่อเสียงศศิ ฐรูร
[แก้]สมาชิกรัฐสภาของพรรคคองเกรส ศศิ ฐรูร (Shashi Tharoor) ได้ยื่นฟ้องอรรณัพและรีพับลิกทีวีด้วยความผิดทำลายชื่อเสียงฐรูรต่อศาลสูงเดลี จากการรายงานข่าวบางส่วนระหว่างวันที่ 8 ถึง 13 มีนาคม 2017 ที่ซึ่งได้อ้างโยงฐรูรกับการเสียชีวิตของภรรยาของเขา สุนันทา ปุษการในปี 2014[35][36]
การอ้างถึงชาวเกรละ
[แก้]เมื่อ 25 สิงหาคม 2018 นิตยสารข่าว เดอะวีค (The Week) ระบุว่าอรรณัพถูกประนามอย่างรุนแรงบนโซเชียลมีเดียภายหลังเขาปรากฏในวิดีโอออนไลน์ความยาว 30 วินาทีชิ้นหนึ่งที่โด่งดังอย่างมาก ที่ซึ่งเขากล่าวโดยมีนัยว่า "คนกลุ่มหนึ่ง" เป็น "ชาวอินเดียที่ไร้ยางอายที่สุดที่เขา [อรรณัพ] เคยเจอมาในชีวิต" ขณะพูดคุยถึงกรณีการกีดกันความช่วยเหลือของต่างชาติต่ออุทกภัยในรัฐเกรละโดยรัฐบาล[37] เขายังเรียกผู้ที่วิจารณ์รัฐบาล (พรรคภารตียชนตา) ว่าเป็นพวก 'ชังชาติ' (anti-national), 'ถูกจ้างมาสร้างความปั่นป่วน' (paid agents) และ 'ไร้ยางอาย' (shameless) ที่ซึ่งในที่นี้เป็นนัยถึงชาวเกรละที่วิจารณ์การกีดกันความช่วยเหลือของต่างชาติโดยรัฐบาลพรรคภารตียชนตา ชาวเกรละได้เข้าถล่มเฟสบุคและทวิตเตอร์ของช่องรีพับลิกทีวีและของอรรณัพเอง[38] อย่างไรก็ตาม ภายหลังข่าวหลายสำนักได้ตรวจทานวิดีโอดังกล่าวใหม่ พบว่าคำกล่าวด่าของอรรณัพที่ว่า "พวกชาวอินเดียที่ไร้ยางอายที่สุดที่เขาเคยเห็นมา" อาจไม่ได้กล่าวถึงชาวเกรละ แต่หมายถึง "กองกำลัง Tukde-Tukde Break India forces", "กลุ่มฝ่ายเสรีนิยม" และทวิตเตอร์ที่ไม่สามารถรับมือกับการปล่อยข่าวลวงกรณีการช่วยเหลืออุทกภัยมูลค่าเจ็ดล้านจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[37]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ranjan Goswami, Arnab (28 January 2017). "Arnab's full signed letter". Twitter (from handle of @swamy39). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-16.
- ↑ Bureau, Adgully. "Republic Media Network strengthens the top management team". adgully.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
- ↑ Jha, Lata (6 May 2019). "Arnab Goswami buys back Republic Media shares from Asianet". Livemint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ Lunch with the FT: Indian TV news anchor Arnab Goswami, Financial Times, James Crabtree (1 May 2015)
- ↑ Times Network accepts Arnab Goswami's resignation, The Economic Times (8 November 2016)
- ↑ "Wrecking News – Anuradha Raman". outlookindia.com. สืบค้นเมื่อ 21 April 2015.
-Ananth, Venkat (11 November 2014). "Arnab Goswami: meme for our times". Livemint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
-Bhatia, Rahul. "The turbulent reign of Arnab Goswami". The Caravan (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2012. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
-Ranganathan, Maya (1 June 2016). "News televisions' impact on political discourse in the Indian election 2014". International Journal of Digital Television (ภาษาอังกฤษ). 7 (2): 193–208. doi:10.1386/jdtv.7.2.193_1. ISSN 2040-4182.
-"The Arnab Cast Of Characters". Outlook. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016. - ↑ 7.0 7.1 Verma, Ramit (29 October 2019). "Peeing Human is waging a war on 'Modia'. Here's how, and why". Newslaundry.
- ↑ 8.0 8.1 "Times Now left embarrassed: Arnab Goswami rapped by NBSA, channel fined Rs 50,000 for reporting in biased manner in Jalseen Kaur eve-teasing case". สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
- ↑ 9.0 9.1 Bajpai, Shailaja (24 October 2019). "Here's why you will watch Arnab Goswami & Navika Kumar long after election results are out". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
- ↑ 10.0 10.1 Pande, Manisha (30 October 2019). "Indian journalists got a chance to grill controversial MEPs touring Kashmir. They asked about Pakistan, western media". Newslaundry (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
-Pande, Manisha (21 October 2019). "Bloodlust TV: Calling out India's hate media". Newslaundry. - ↑ "Arnab Goswami-style journalism is killing the essence of debates". Firstpost. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
-"The monster in the mirror". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
-Sekhri, Abhinandan (4 March 2015). "Why Arnab Goswami's #NirbhayaInsulted Circus Was A Body Blow To Journalism : The Newshour anchor does a disservice to free speech by asking for a clampdown on India's Daughter on NDTV". Newslaundry (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
-Tripathi, Salil. "How the fog of war has blinded journalists to their roles". The Caravan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
-Daniyal, Shoaib. "The Daily Fix: Arnab Goswami must realise that journalism is about questioning, not blind acceptance". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019. - ↑ Bal, Hartosh Singh. "The path away from Arnab Goswami cannot lead us back to Barkha Dutt". The Caravan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 13.0 13.1 S, Meghnad (4 July 2019). "Rahul Gandhi's resignation allowed TV channels to do what they do best". Newslaundry.
-Drabu, Onaiza (2018). "Who Is the Muslim? Discursive Representations of the Muslims and Islam in Indian Prime-Time News". Religions (ภาษาอังกฤษ). 9 (9): 283. doi:10.3390/rel9090283.
-"Podcast | Questions Arnab Goswami Didn't Ask Modi". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Jawed, Sam (22 January 2018). "The sham of Republic TV's Twitter Polls". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Inamdar, Nikhil. "How Narendra Modi has almost killed the Indian media". Quartz India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Jawed, Sam (8 June 2017). "One month of Republic TV – How did they fare?". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Jawed, Sam (27 October 2017). "Republic claims Rahul Gandhi and Owaisi asked people not to stand up for National Anthem. Is that true?". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Venkataramakrishnan, Rohan. "The Daily Fix: Why the FIR ordered against Arnab Goswami is a blow to free media". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
-Madan, Aman (23 January 2019). "India's Not-So-Free Media". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
-Filkins, Dexter (2 December 2019). "Blood and Soil in Narendra Modi's India". The New Yorker (Serial) (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019. - ↑ 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:4
- ↑ 15.0 15.1 Mishra, Samarth; Kumar Shukla, Aditya (2019). "Balancing Freedom of Expression and Hate Speech: Case of India" (PDF). Pramana Research Journal. 9 (6): 1414. ISSN 2249-2976.
- ↑ Bajpai, Shailaja (11 May 2017). "On the run". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 17 May 2017.
- ↑ Madan, Aman (23 January 2019). "India's Not-So-Free Media". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Zehn ki loot: The plunder of reason by Arnab Goswami". Scroll.in. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
- ↑ Dev, Atul. "An evening with Delhi's most wanted "anti-nationals"". The Caravan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
- ↑ "Tale of Two Republics: Why Shourie Compared Our Media to N Korea's". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 8 June 2017. สืบค้นเมื่อ 12 November 2019.
- ↑ Varadarajan, Siddharth (2019). "The State and/of the Media in Modi's India". ใน Nilsen, Alf Gunvald; Nielsen, Kenneth Bo; Vaidya, Anand (บ.ก.). Indian Democracy: Origins, Trajectories, Contestations. Pluto Press. pp. 59–60. ISBN 9780745338927. JSTOR j.ctvdmwxfb.9.
- ↑ Anderson, Edward; Jaffrelot, Christophe (2 October 2018). "Hindu nationalism and the 'saffronisation of the public sphere': an interview with Christophe Jaffrelot". Contemporary South Asia. 26 (4): 468–482. doi:10.1080/09584935.2018.1545009. ISSN 0958-4935. S2CID 150328837.
- ↑ Filkins, Dexter (2 December 2019). "Blood and Soil in Narendra Modi's India". The New Yorker (Serial) (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
- ↑ Jacob, Jency (23 September 2017). "'Never Be Afraid', Says Arnab Goswami. But How About Not Lying? | | BOOM". boomlive.in. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ "Lawyer Sudha Bharadwaj Calls Out Republic Over 'False' Allegations". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ "Is 35A Temporary and Discriminatory? Fact-Checking Arnab's Claims". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ "Media Echoes 'British Herald' Calling PM Modi Most Powerful Person". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Sam Jawed, altnews in. "Darkness in Jama Masjid, conversion rate card and 10 more fake news stories spread by media in 2017". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Patel, Jignesh (29 November 2018). "Times Now and Republic TV misreport Congress manifesto for Telangana as Muslim-centric". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Desk, Alt News (28 April 2019). "Republic TV falsely portrays man praising PM Modi as a Congress MLA". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Desk, Alt News (23 March 2018). "Breaking Fake News: Aaj Tak and Republic TV misreport Delhi HC verdict on AAP MLAs". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Sidharth, Arjun (6 January 2018). "Was Jignesh Mevani's press conference "Congress sponsored" as alleged by Republic TV?". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Desk, Alt News (17 October 2017). "Republic TV gets caught faking twice in a day". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ Desk, Alt News (6 September 2017). "Right wing spews venom on social media after Senior Journalist Gauri Lankesh is shot dead". Alt News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
- ↑ "Congress leader Shashi Tharoor files defamation case against Republic TV's Arnab Goswami". The Indian Express. 26 May 2017.
- ↑ "Shashi Tharoor files defamation suit against Arnab Goswami, Republic TV in High Court". The Economic Times. 26 May 2017.
- ↑ 37.0 37.1 "Did Arnab Goswami call Keralites shameless? A clip of his debate goes viral". The Week. 26 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
- ↑ "Malayalis hit back with trolls at Arnab Goswami's 'shameless' comment". Mathrubhumi (ภาษาอังกฤษ). 26 August 2018. สืบค้นเมื่อ 5 September 2019.