องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม[1] กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะสภาตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็น " องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง " โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2539 เป็นต้นไป

ลักษณะที่ตั้ง[แก้]

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ตำบลบางหลวงเป็น 1 ใน 15 ตำบล ของอำเภอบางเลน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอบางเลน ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหินมูล ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสระสี่มุม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

สภาพพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงเป็นพื้นที่ราบเรียบ มีความลาดเทเล็กน้อยจากด้านทิศตะวันตกเข้าหาแม่น้ำท่าจีน และจากทิศตะวันออกลาดเข้าหาแม่น้ำท่าจีน โดยแม่น้ำท่าจีนไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ และมีคลองธรรมชาติ คลองชลประทานไหลแยกจากแม่น้ำท่าจีนสู่ตำบลบางหลวงหลายสายด้วยกัน

องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงมีเนื้อที่ประมาณ 88.78 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 55,487.50 ไร่ แยกพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนพื้นที่
ไร่ ตารางกิโลเมตร
4 บ้านบางอ้อ 1,355 2.17
5 บ้านไผ่หัววัว 1,606 2.57
6 บ้านบางหลวง 120 0.19
7 บ้านลาดหลวง 2,028 3.24
8 บ้านรางทอง 2,700 4.32
9 บ้านไผ่คอกเนื้อ 1,200 1.92
10 บ้านไผ่ลาย 1,766 2.83
11 บ้านบางน้อยใน 1,900 3.04
12 บ้านบางน้อยใน 2,500 4.00
13 บ้านบางน้อยใน 557 0.89
14 บ้านบางน้อยใน 820 1.31
15 บ้านหน้าตลาดบางหลวง 814 1.30
16 บ้านบางน้อยนอก 2,457 3.93
17 บ้านบางหวาย 1,800 2.88
18 บ้านดอนยายมิ 2,540 4.08
19 บ้านหนองมะม่วง 3,668 5.87
20 บ้านปากกะทา 2,580 4.13
21 บ้านไผ่คอกเนื้อ 1,500 2.40

หมู่บ้านที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง เต็มพื้นที่ของหมู่บ้านจำนวน 18 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18,19,20 และ 21

หมายุเหตุ : หมู่ที่ 6 และ 13 อยู่มีพื้นที่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงเพียงบางส่วนของหมู่บ้าน

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส

ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 26 องศาเซลเซียส

ลักษณะของดิน[แก้]

สภาพลักษณะดินเป็นดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ประชากร[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร[แก้]

หมู่ที่ หมู่บ้าน จำนวนประชากร หมู่ที่ 4-21 ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562
ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
4 บ้านบางหลวง 358 344 345 343 348 347 344 347
5 บ้านไผ่หัววัว 152 150 145 144 154 156 155 156
6 บ้านบางหลวง 68 67 69 68 68 69 68 68
7 บ้านลาดหวง 228 215 228 222 234 224 237 226
8 บ้านรางทอง 211 211 214 215 217 217 214 221
9 บ้านไผ่คอกเนื้อ 195 202 201 204 197 209 196 209
10 บ้านไผ่ลาย 157 146 157 149 154 148 150 147
11 บ้านบางน้อยใน 195 196 194 195 193 198 198 198
12 บ้านบางน้อยใน 127 125 123 125 123 124 124 125
13 บ้านบางหวายน้อย 157 161 154 166 165 167 156 169
14 บ้านบางหวายน้อย 116 117 114 113 111 111 105 110
15 บ้านหน้าตลาดบางหลวง 98 113 95 115 93 116 91 116
16 บ้านบางหวายน้อย 320 326 310 318 323 321 328 322
17 บ้านหนองโคลน 311 324 304 325 295 330 294 329
18 บ้านหนองปรง 261 287 258 299 259 293 255 290
19 บ้านหนองมะม่วง 264 304 264 308 262 311 261 310
20 บ้านปากกะทา 193 182 194 179 194 175 190 172
21 บ้านไผ่คอกเนื้อ 227 247 228 243 229 242 228 241
รวม 3,638 3,717 3,597 3,731 3,610 3,757 3,594 3,756
7,355 7,328 7,367 7,350

ข้อมูลจาก สำนักทะเบียนอำเภอบางเลน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562

ช่วงอายุและจำนวนประชากร[แก้]

ช่วงอายุของประชากร หมู่ที่ 4-21 ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ประจำปี 2562 รายละเอียด ดังนี้

ช่วงอายุ เพศชาย เพศหญิง รวม (คน)
0-10 ปี 483 427 310
11-20 ปี 431 442 873
21-30 ปี 570 546 1,116
31-40 ปี 569 551 1,120
41-50 ปี 566 563 1,129
51-60 ปี 525 591 1,116
61-70 ปี 257 343 600
71-80 ปี 141 177 318
81-90 ปี 46 96 142
91-100 ปี 7 14 21
มากกว่า 100 ปี 0 0 0
รวม 3,610 3,757 7,367

ข้อมูลจาก สำนักทะเบียนอำเภอบางเลน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562

สภาพทางสังคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง

1. โรงเรียนบ้านหนองมะม่วง

2. โรงเรียนวัดบางน้อยใน

3.โรงเรียนวัดราษฎร์สามัคคี

- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง

1. โรงเรียนบางหลวงวิทยา

2.โรงเรียนเจี้ยนหัว

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง

ด้านสาธารณสุข[แก้]

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) จำนวน 2 แห่ง

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหลวง

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางหวาย

การสังคมสงเคราะห์[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ดังนี้

- ด้านสวัสดิการ

1. เบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 1,109 รายจำนวนเงิน 732,300 บาท

2. เบี้ยยังชีพให้กับผู้พิการ จำนวน 166 รายจำนวนเงิน 132,800 บาท

3. เบี้ยยังชีพให้กับผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 7 รายจำนวนเงิน 3,500 บาท

- ด้านบริการ

1. การรับลงทะเบียนและประสานงานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

2. การประสานงานการทำบัตรผู้พิการ

ข้อมูลจาก งานพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ณ เดือนมิถุนายน พ. ศ. 2562

ระบบบริการพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคมขนส่ง[แก้]

สภาพถนนของตำบลบางหลวงยังมีสภาพที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากผิวถนนและขนาดยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมในการขนส่งสินค้าและพืชผลทางการเกษตร จึงถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในตำบลบางหลวงเป็นอย่างมาก

ถนนทั้งหมดภายในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง จำนวน 149 สาย แบ่งออกเป็น

1. ทางหลวง สาย บางเลน - บางหลวง - บางสาม (จังหวัดสุพรรณบุรี)

2. ทางหลวง สาย บางหลวง - กระตีบ (อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม)

3. ทางหลวง สาย บางหลวง - วัดไผ่โรงวัว (จังหวัดสุพรรณบุรี)

4. ถนนลาดยาง จำนวน 16 สาย ระยะทางรวม 34,469 เมตร

5. ถนนหินคลุก จำนวน 16 สาย ระยะทางรวม 5,968 เมตร

6. สะพาน จำนวน 24 สาย

การไฟฟ้า[แก้]

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง มีผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,355 ครัวเรือน

การประปา[แก้]

ระบบประปาหมู่บ้านจำนวน 22 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 4 จำนวน 2 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 7 จำนวน 2 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 8 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 9 จำนวน26 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 10 จำนวน 2 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 11 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 12 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 13 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 14 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 16 จำนวน 3 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 17 จำนวน 2 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 18 จำนวน 1 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 19 จำนวน 2 แห่ง

- ประปาหมู่บ้านหมู่ที่ 21 จำนวน 1 แห่ง

โทรศัพท์[แก้]

จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 1,298 หลังคาเรือน และในปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงไม่มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคลซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว

ไปรษณีย์ หรือการสื่อสาร หรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์[แก้]

ที่ทำการไปรษณีย์บางหลวง จำนวน 1 แห่ง

ระบบเศรษฐกิจ[แก้]

การเกษตร[แก้]

ส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนี้

- ปลูกข้าว จำนวน 6,832 ไร่

- พืชไร่/พืชสวน เช่น ผักคะน้า พืชล้มลุกต่างๆ ผักบุ้ง มันเทศ จำนวน 1,735 ไร่

การประมง[แก้]

- เลี้ยงกุ้ง จำนวน 3,464 ไร่

- เลี้ยงปลา เช่น ปลานิล และอื่นๆ จำนวน 1,282 ไร่

การท่องเที่ยว[แก้]

สถานที่ที่น่าสนใจ ดังนี้

1) วัดบางหลวง

2) วัดราษฎร์สามัคคี

3) วัดลัฏฐิวนาราม

4) วัดบางน้อยใน

5) สำนักสงฆ์ลาดหลวง

6) บึงลาดหลวง

อุตสาหกรรม[แก้]

- บริษัท เอ็น ซี อาร์ กอล์ฟ แอนด์คันทรีคลับ

- บริษัท เวิลด์เทค เมเนจเมนท์ จำกัด

- บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด

- บริษัท โก-1 (ไทรใหญ่หลวง)

- บริษัท เกษมชัยฟาร์มกรุ๊ป จำกัด

- โรงงานสกายไลท์ จำกัด

- โรงงานดี แอนด์ ดี ทูล

- โรงงานอรุณเจริญผลพานิช

- โรงงานทัศนีพลาสติก

- โรงงานโชคถาวรพลาสติก

- บ่อดิน ต.รุ่งโรจน์

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ[แก้]

- ปั้มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง (ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก)

- ร้านค้าสะดวกซื้อ จำนวน 44 แห่ง

แรงงาน[แก้]

แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นหลัก ในกรณีที่สมาชิกในครัวเรือนไม่เพียงพอจึงจะจ้างแรงงานที่มีอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงมาช่วยเก็บเกี่ยวในฤดูการผลิต

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม[แก้]

การนับถือศาสนา[แก้]

ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 99 และเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์ อิสลาม ร้อยละ 1

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง มีศาสนสถานทางพุทธศาสนา ดังนี้

- วัด จำนวน 3 แห่ง

1. วัดราษฎร์สามัคคี

2. วัดบางน้อยใน

3. วัดลัฏฐิวนาราม

- สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง

1. สำนักสงฆ์ลาดหลวง

ประเพณีและงานประจำปี[แก้]

การจัดงานประเพณีต่างๆ จะจัดกันตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมาทุกปี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงมีการจัดสนับสนุนการจัดงานตามจารีตประเพณีต่างๆ เช่น

- ประเพณีไทยทรงดำ จัดงานทุกวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี

- ประเพณีสงกรานต์

- ประเพณีวันเข้าพรรษา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น[แก้]

ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทยกลาง และภาษาถิ่น เช่น " ลาวโซ่ง " (ภาษาของชาวไทยทรงดำ)

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก[แก้]

- สินค้าโอทอป (OTOP One Tambon One Product) : น้ำพริกแกง โดยกลุ่มสตรีบ้านไผ่โรงวัว

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

น้ำ[แก้]

พื้นที่ตำบลบางหลวงมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ

- แม่น้ำท่าจีน

- คลองบางหลวง

- คลองบางน้อย

- คลองราษฎร์สามัคคี

- คลองตาพลอย

- คลองหนองมะม่วง

มีการพัฒนาทางด้านชลประทานหลายโครงการ ดังนี้

- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางเลน รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอบางเลน ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน จนถึงด้านเหนือคลองท่าสาร - บางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง หมู่ที่ 1-8 10-14 , 20-21 จำนวน 15 หมู่บ้าน

- โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอบางเลน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน จนถึงด้านเหนือคลองพระพิมล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง หมู่ที่ 15-19 จำนวนรวม 5 หมู่บ้าน

แหล่งน้ำธรรมชาติ แบ่งออกเป็น

- คลอง จำนวน 56 สาย

- แม่น้ำ จำนวน 1 สาย

- ลำน้ำ, ลำห้วย จำนวน 11 สาย

- บึง, หนอง และอื่นๆ จำนวน 11 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- บ่อน้ำตื้น จำนวน 5 แห่ง

- บ่อโยก จำนวน 4 แห่ง

-อื่นๆ (ระบุ)

- บ่อบาดาล จำนวน 34 แห่ง

- ระบบประปาหมู่บ้านที่เข้าระบบการบริหารจัดการของ อบต.บางหลวง จำนวน 12 แห่ง (12 แห่ง คือ หมู่ที่ 5,8,9,10,12,13,14,15,17,18,19 และ 21)

- ระบบประปาที่ อบต.บางหลวงรับผิดชอบ จำนวน 3 แห่ง (3 แห่ง คือ หมู่ที่ 6,20 และ 21)

- ระบบประปาที่อยู่ในความรับผิดชอบอื่นๆ จำนวน 3 แห่ง (3 แห่ง คือ วัด 1 แห่ง,โรงเรียนบางหลวงวิทยา และโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง)

ป่าไม้[แก้]

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงไม่มีพื้นที่ป่าไม้

ภูเขา[แก้]

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงไม่มีพื้นที่ภูเขา

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย สภาพดินและแหล่งน้ำที่เหมาะแก่การทำการเกษตรและการเพาะปลูก ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่องประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง

อ้างอิง[แก้]