หางหมาจอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หางหมาจอก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
เผ่า: Desmodieae
สกุล: Uraria
สปีชีส์: U.  crinita
ชื่อทวินาม
Uraria crinita

หางหมาจอก ชื่อวิทยาศาสตร์: Uraria crinita(L.) Desv. ex DC. ชื่ออื่นๆได้แก่ หญ้าหางแมว (สตูล) หางกระรอก (กรุงเทพมหานคร) หญ้าตะขาบ (ราชบุรี) เสลดพังพอนกะเหรี่ยง (กาญจนบุรี) อยู่ในวงศ์ Leguminosae วงศ์ย่อย Papilionoideae เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ แผ่นใบเหนียว ผิวใบมัน ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นแท่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวปนม่วง รูปดอกถั่ว สีม่วงแกมชมพู ก้านดอกย่อยมีขนยาว ปลายขนงอเป็นตะขอ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ค่อนข้างแข็ง ผลเป็นฝัก แบน คอดเป็นข้อๆ เมื่อสุกสีดำ ไม่แตก ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม

ใบและช่อดอกของหางหมาจอกจะนำไปใส่ในไหปลาร้า ให้หนอนแมลงวันเกาะขึ้นมาแล้วเคาะทิ้งไป มีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร ทางภาคเหนือใช้ทั้งต้นต้มรวมกับตัวยาอื่นแก้ปวดเมื่อย รากต้มผสมกับตัวยาอื่น แก้อาการทางประสาท ฝนกับน้ำปูนใสใช้รักษาฝี

อ้างอิง[แก้]