หัตถการไฮม์ลิคช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การอัดรัดท้อง
การแทรกแซง
ขณะทำหัตถการไฮม์ลิคช์
วิดีโออธิบายกระบวนการของหัตถการไฮม์ลิคช์

หัตถการไฮม์ลิคช์[1] (อังกฤษ: Heimlich maneuver) หรือ การรัดอัดท้อง[2] (อังกฤษ: abdominal thrust) เป็นหัตถการปฐมพยาบาลอย่างหนึ่งที่ใช้ในการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตผู้ที่มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางหายใจส่วนบนแบบสมบูรณ์ (complete upper airway obstruction) หรือสำลัก โดยทั่วไปถือว่าเป็นหัตถการที่คิดค้นขึ้นโดยแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ Henry Heimlich วิธีทำให้ผู้ช่วยเหลือยืนหลังผู้ป่วยแล้วใช้มือกดที่ใต้กระบังลม ซึ่งจะเป็นการบีบรัดปอดและหวังให้เกิดแรงดันผลักวัตถุที่ติดค้างอยู่ในหลอดลมออกมา

ทั้งนี้ หน่วยงานสุขภาพหลายแห่งเสนอให้ค่อย ๆ ใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เพิ่มแรงดันให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มจากพยายามให้ไอออกมาเองก่อน, ทุบหลังแรง ๆ, แล้วจึงค่อยใช้วิธีอัดรัดท้องหรืออกเป็นวิธีการสุดท้าย (ไม่ใช่ให้ใช้วิธีการดังกล่าวเป็นขั้นแรก)[ต้องการอ้างอิง]

เทคนิค[แก้]

จุดที่อัดรัดท้อง อยู่ระหว่างอกและสะดือ ให้ใช้มือกดในทิศทางเข้าในและขึ้นบน

ทั้งสภากาชาดอเมริกาและบริการสาธารณสุขแห่งชาติสหราชอาณาจักรแนะนำว่า ขั้นแรก ผู้ช่วยเหลือควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเอาสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจออกมาก่อน ขั้นถัดมา ให้จัดท่าผู้ป่วยโน้มตัวมาข้างหน้าแล้วทุบหลัง 5 ครั้ง แล้วจึงค่อยใช้วิธีอัดรัดท้องถ้าสองวิธีการดังกล่าวล้มเหลว สภากู้ชีพยุโรปและคลินิกมาโยแนะนำให้ใช้วงจรทุบหลัง 5 ครั้งและอัดรัดท้อง 5 ครั้งสลับกันไปเรื่อย ๆ[3][4][5][6] ทั้งนี้ไม่แนะนำสำหรับเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ในทางกลับกัน สภากู้ชีพออสเตรเลียแนะนำให้อัดรัดอกไม่ใช่อัดรัดท้อง[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. คุณจันทรโชติ, รัญชนา; แสนประเสริฐ, กิติศักดิ์. "การเปรียบเทียบการใช้เครื่องตรวจกล่องเสียงชนิดวิดีโอ แมคกราธ รุ่น 5 และชนิดแมคอินทอช ในการเปิดทางเดินหายใจเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอหอยส่วนล่างในหุ่นจำลอง โดยแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน" (PDF). เวชสารแพทย์ทหารบก. 69 (3): 131–136. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 11-3-2021. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. "การประเมินสถานการณ์ Scene Size Up" (PDF). www.emit.go.th. สืบค้นเมื่อ 23-12-2021. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "STEP 3: Be Informed – Conscious Choking | Be Red Cross Ready". www.redcross.org. สืบค้นเมื่อ December 4, 2017.
  4. "What should I do if someone is choking? NHS.UK". October 30, 2015. สืบค้นเมื่อ July 26, 2018.
  5. Nolan, JP; Soar, J; Zideman, DA; Biarent, D; Bossaert, LL; Deakin, C; Koster, RW; Wyllie, J; Böttiger, B; ERC Guidelines Writing Group (2010). "European Resuscitation Council Guidelines for Resuscitation 2010 Section 1. Executive summary". Resuscitation. 81 (10): 1219–76. doi:10.1016/j.resuscitation.2010.08.021. hdl:10067/1302980151162165141. PMID 20956052.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MayoClinic-Nov-2011
  7. "Australian (and New Zealand) Resuscitation Council Guideline 4 AIRWAY". Australian Resuscitation Council (2010). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2014. สืบค้นเมื่อ February 9, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]