หอศิลป์แอดัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอศิลป์แอดัม
Te Pātaka Toi
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1999 (1999)
ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน ประตู 3 เคลเบิร์นพาเหรด
พิกัดภูมิศาสตร์41°17′19″S 174°46′08″E / 41.2886°S 174.7690°E / -41.2886; 174.7690
ประเภทหอศิลป์
ผลงานคอลเลกชันศิลปะมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย
ผู้อำนวยการทีนา บาร์ตัน
เจ้าของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน
เว็บไซต์www.adamartgallery.org.nz
ด้านหน้าของหอศิลป์แอดัม ด้านหน้าทำจากกระจก อาคารโอลด์เคิร์กตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของหอศิลป์ และอาคารสมาพันธ์นักศึกษาตั้งอยู่ทางด้านขวา

หอศิลป์แอดัม (อังกฤษ: Adam Art Gallery; มาวรี: Te Pātaka Toi) เป็นหอศิลป์ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ ตั้งอยู่ในวิทยาเขตเคลเบิร์นของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน ในเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์[1]

ประวัติ[แก้]

ด้านหลังของหอศิลป์

วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 เจนนี ฮาร์เปอร์ และทีนา บาร์ตัน ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งหอศิลป์

อาคารนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1999 โดยเซอร์ไมเคิล ฮาร์ดี บอยส์ ผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์

ผู้มีอุปการะคุณของหอศิลป์ ได้แก่ มูลนิธิมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน รวมถึง เดนิสและเวอร์นา แอดัม (ซึ่งต่อมาหอศิลป์ได้ตั้งชื่อตามการบริจาคของพวกเขาเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1998[2])

หอศิลป์นี้ออกแบบโดยเอียน แอธฟิลด์ โดยถูกสร้างขึ้นระหว่างอาคารมหาวิทยาลัยสามแห่ง คือ อาคารโอลด์เคิร์ก อาคารฮันเตอร์ และอาคารสมาพันธ์นักศึกษา (ด้านบนของ "Culliford stair")

บันไดสร้างขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อเชื่อมอาคารต่าง ๆ แต่ต้องถูกทิ้งร้างเพื่อความปลอดภัย[3] อาคารนี้มีพื้นที่หอศิลป์ต่าง ๆ ที่ใช้จัดนิทรรศการ การแสดง การบรรยาย และการเสวนา

นิทรรศการ[แก้]

นิทรรศการที่เคยจัดที่หอศิลป์ ได้แก่ โครงการเดี่ยวของโจเซฟ โคซูต (สหรัฐ), โจเซฟ กริจลี (สหรัฐ), เฟร์นังดา โกมิส (บราซิล), จาง หฺวัน (จีน), เดสทินี ดีกัน (ออสเตรเลีย), กึนเทอร์ อึคเคอร์ (เยอรมนี), ฌูเวา มารีอา กุฌเมา และเปดรู ไปวา (โปรตุเกส), เบรตต์ แกรห์ม (นิวซีแลนด์), มาร์ก แอดัมส์ (นิวซีแลนด์), กาวิน ฮิปกินส์ (นิวซีแลนด์), ดาร์ซี แลงก์ (นิวซีแลนด์), วิเวียน ลินน์ (นิวซีแลนด์), พอลลีน โรดส์ (นิวซีแลนด์) และบิลลี แอปเปิล (สหราชอาณาจักร/สหรัฐ/นิวซีแลนด์)

การแสดงที่เคยจัดขึ้นในหอศิลป์ ได้แก่ Face to Face: Contemporary Art From Taiwan; Play: Recent Video from Australia and New Zealand; Concrete Horizons: Contemporary Art from China; Breaking Ice: Revisioning Antarctica; 40yearsvideoart.de และ The Subject Now

หอศิลป์แอดัมเข้าชมได้ฟรี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Adam Art Gallery at Victoria University of Wellington". Art and Education. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
  2. Manson, Bess (18 October 2018). "Godfather of the arts Denis Adam changed cultural landscape". Stuff. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  3. "Athfield Architects: Adam Art Gallery, Wellington, New Zealand, 1999". Floornature. 10 January 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 6 August 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]