ข้ามไปเนื้อหา

หอยเชลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอยเชลล์
หอยพัด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไทรแอสซิกตอนกลางถึงปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
ชั้นย่อย: Pteriomorphia
อันดับ: Pectinoida
อันดับย่อย: Pectinina
วงศ์ใหญ่: Pectinoidea
วงศ์: Pectinidae
Wilkes, 1810
สกุล[1]
ดูในเนื้อหา

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (อังกฤษ: scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย

โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก"

กายวิภาค

[แก้]

เช่นเดียวกับหอยนางรมแท้ (วงศ์ Ostreidae) หอยเชลล์มีกล้ามเนื้อปิดฝาอยู่ตรงกลาง ดังนั้นข้างในเปลือกของหอยมีแผลเป็นกลางอันเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นจุดยึดสำหรับกล้ามเนื้อนี้[2] กล้ามเนื้อปิดฝาของหอยเชลล์ใหญ่กว่าและพัฒนากว่ากล้ามเนื้อปิดฝาของหอยนางรม เพราะพวกมันเป็นนักว่ายน้ำที่กระตือรือร้น ชาวประมงและนักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า หอยเชลล์เป็นสัตว์อพยพ แต่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยอยู่[3] เปลือกของมันค่อนข้างมีลักษณะสม่ำเสมอ ซึ่งทำให้นึกถึงหอยทะเลต้นแบบ และเพราะรูปทรงเรขาคณิตที่น่าพอใจนี้เอง ทำให้เปลือกหอยเชลล์เป็นของประดับตกแต่งทั่วไป

หอยเชลล์มีตาธรรมดามากถึง 100 ดวง (จากการศึกษาล่าสุดพบว่ามีมากถึง 200 ดวง[4]) ร้อยอยู่รอบขอบแมนเทิลของมันเหมือนกับร้อยลูกปัด ดวงตาเหล่านี้มีจำนวนไม่คงที่ เพราะธรรมดาสำหรับหอยประเภทนี้ที่จะงอกตาใหม่เพิ่ม ทั้งยังงอกใหม่เวลาบาดเจ็บได้ด้วย[5] หากมันสูญเสียดวงตาทั้งหมด มันจะกลับมาเหมือนเดิมภายในสองเดือน[5] ดวงตาเหล่านี้เป็นดวงตาสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งมิลลิเมตร มีโครงสร้างของผลึกใสหรือคริสตัล รูปทรงสี่เหลี่ยมทำหน้าที่สะท้อนแสงเข้าสู่เรตินา[4] โดยมีเรตินาซึ่งมีความซับซ้อนกว่าเรตินาของหอยฝาคู่แบบอื่น ตาของมันประกอบด้วยเรตินาสองประเภท ประเภทหนึ่งตอบสนองต่อแสง และอีกประเภทหนึ่งขับความมืดออกไป อย่างเช่น เงาของผู้ล่าที่อยู่ใกล้ ๆ ดวงตาเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะรูปทรงได้ แต่รับรู้การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแสงและการเคลื่อนไหวได้[6][7]

ดวงตาสะท้อนแสงนี้แทนเลนส์ที่ข้างในตาเรียงรายไปด้วยกระจกซึ่งสะท้อนภาพไปโฟกัสที่จุดกึ่งกลาง[8] ธรรมชาติของดวงตาเหล่านี้หมายความว่า หากดวงหนึ่งจ้องเข้าไปในรูม่านตาของดวงตา ดวงตานั้นจะเห็นภาพเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตนั้นเห็น โดยสะท้อนกลับออกมา[8] หอยเชลล์สกุล Pecten มีดวงตาสะท้อนแสงขนาดถึง 100 มิลลิเมตร อยู่ตรงขอบเปลือก ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุเคลื่อนไหวขณะที่เคลื่อนผ่านเลนส์ต่อเนื่องกัน[8]

สกุล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pectinidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 2017-12-12.
  2. National Museum Wales, Department of Biodiversity & Systematic Biology. "Bivalve Shell Structures". สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  3. Scallops: Biology, Ecology and Aquaculture, Volume 35, Second Edition (Developments in Aquaculture and Fisheries Science). Elsevier Science. 2006. p. 709. ISBN 978-0444504821. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  4. 4.0 4.1 หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, หอยเชลล์มีดวงตาที่น่าทึ่งถึง 200 ตา. "ทันโลก". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21875: วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 1 ปีระกา
  5. 5.0 5.1 Burton, Maurice (2002). International Wildlife Encyclopedia. Marshall Cavendish Corporation. pp. 2248–2249. ISBN 978-0761472827. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. http://www.asknature.org/strategy/1e779a45a88aef5c45448073f1e77216
  7. Land MF and Fernald RD (1992) "The evolution of eyes" เก็บถาวร 2018-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Annual review of neuroscience, 15: 1–29.
  8. 8.0 8.1 8.2 Land, M F; Fernald, R D (1992). "The Evolution of Eyes". Annual Review of Neuroscience. 15: 1–29. doi:10.1146/annurev.ne.15.030192.000245. PMID 1575438.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]