หอคอยเยฺว่หยาง
หน้าตา
หอคอยเยฺว่หยาง | |
---|---|
岳阳楼 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | หอคอย |
ที่ตั้ง | เยฺว่หยาง มณฑลหูหนาน |
ประเทศ | ประเทศจีน |
พิกัด | 29°23′05″N 113°05′18″E / 29.384723°N 113.088262°E |
เปิดใช้งาน | 1950 |
ปรับปรุง | 1950 |
ความสูง | 19.42 เมตร (63.7 ฟุต) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
วัสดุ | อิฐและไม้ |
พื้นที่แต่ละชั้น | 39,000 ตารางเมตร (420,000 ตารางฟุต) |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | หอคอยเยฺว่หยางระลึก โดย ซีเหวิน |
หอคอยเยฺว่หยาง (จีนตัวย่อ: 岳阳楼; จีนตัวเต็ม: 岳陽樓; พินอิน: Yuèyáng Lóu) เป็นหอคอยแบบจีนโบราณ ตั้งอยู่ในเย่วหยาง มณฑลหูหนาน ริมฝั่งทะเลสาบต้งถิง หอคอยเยฺว่หยาง, หอคอยเจ้าชายเถิง และ หอคอยกระเรียนเหลือง เป็นสามหอคอยอันยิ่งใหญ่ของแคว้นเจียงหนาน หอคอยเยฺว่หยางเป็นที่รู้จักมาจากบทนิพนธ์ ระลึกถึงหอคอยเยฺว่หยาง (《岳阳楼记》) นิพนธ์โดยซีเหวิน ขุนนางคนสำคัญของราชวงศ์ซ่งเหนือ (960–1127) ของจีน[1][2] หอคอยตั้งอยู่บนกำแพงเมืองนครโบราณเยฺว่หยาง มณฑลหูหนาน โดยหันหน้าออกสู่เกาะจุนชาน เหนือทะเลสาบต้งถิง
หลังคาของหอคอยประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง (黄色琉璃瓦) สีตัดกันกับป่าไม้สีเขียวโดยรอบ หลังคายอดสดของหอคอยเป็นทรงโค้งเรียบลักษณะคล้ายกับหมวกขุนพลในจีนโบราณ หอคอยเยฺว่หยางถือเป็นสิ่งปลูกสร้างในจีนโบราณแห่งเดียวที่มีลักษณะหลังคาทรงหมวกขุนพลเช่นนี้[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Zhu Xiang (2014). 《湖南地理》 [Geography of Hunan] (ภาษาจีน). Beijing: Beijing Normal University Press. p. 84. ISBN 978-7-303-14646-8.
- ↑ 2.0 2.1 Wei Ming (2013), p. 43.