จักรพรรดิถังจงจง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลี่เสี่ยน)
จักรพรรดิถังจงจง
พระบรมสาทิสลักษณ์ของ จักรพรรดิถังจงจง
จักรพรรดิถัง (ครั้งที่ 1)
ครองราชย์3 มกราคม ค.ศ. 684 - 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 684 (0 ปี 54 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเกาจง
ถัดไปจักรพรรดิรุ่ยจง
จักรพรรดิถัง (ครั้งที่ 2)
ครองราชย์23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 705 - 3 กรกฎาคม ค.ศ. 710 (5 ปี 130 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดินีนาถ อู่ เจ๋อเทียน (ราชวงศ์อู่โจว)
ถัดไปจักรพรรดิชาง
ประสูติ26 พฤศจิกายน ค.ศ. 656(656-11-26)
สวรรคต3 กรกฎาคม ค.ศ. 710 (53 ปี 219 วัน)
มเหสีซั่งกวนหว่านเอ๋อ
จักรพรรดินีพระนางเหอซื่อฮองเฮา
จักรพรรดินีเว่ย
พระราชบุตรLi Chongrun, Crown Prince Yide
Li Chongfu, Prince of Qiao
Li Chongjun, Crown Prince Jiemin
จักรพรรดิชาง
8 daughters, include Li Guo'er, Princess Anle
พระนามเดิม
หลี่ เสียน (李显)
พระสมัญญานาม
Short: Emperor Xiaohe (孝和皇帝)
พระอารามนาม
จงจง (中宗)
ราชวงศ์ราชวงศ์ถัง
พระราชบิดาจักรพรรดิเกาจง
พระราชมารดาจักรพรรดินี อู่ เจ๋อเทียน

สมเด็จพระจักรพรรดิถังจงจง (จีน: 唐中宗; ค.ศ. 656–710) เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ถัง ครองราชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 684 เป็นเวลาสั้น ๆ และกลับมาครองราชย์อีกครั้งในปี ค.ศ. 705 – 710 ในรัชสมัยแรกพระองค์มิได้มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง เนื่องจากราชสำนักทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชมารดาของพระองค์ อู่ เจ๋อเทียน ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ถูกปลดโดยพระนาง แล้วให้จักรพรรดิรุ่ยจงพระอนุชาขึ้นครองราชย์แทน โดยต่อมาไม่นานจักรพรรดิรุ่ยจงก็ได้มอบราชสมบัติให้พระนาง หลังจากนั้นพระนางจึงได้คืนราชสมบัติให้แก่พระองค์อีกครั้ง แต่ในรัชสมัยครั้งที่ 2 ของพระองค์ ราชสำนักส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรพรรดินีเหวย์ มเหสีของพระองค์อยู่ดี

จักรพรรดิจงจงเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิเกาจง และ จักรพรรดินีอู่ (ภายหลังรู้จักกันในพระนาม อู่ เจ๋อเทียน) และในรัชสมัยของพระราชบิดา พระราชอำนาจที่แท้จริงก็ถูกควบคุมโดย จักรพรรดินีอู่ เช่นกัน พระองค์ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ในปี ค.ศ. 684 แต่ในฐานะจักรพรรดิ พระองค์กลับมีพระราชอำนาจน้อยมาก กิจการงานเมืองและพระราชอำนาจทั้งหมดยังคงอยู่ภายใต้พระราชมารดาของพระองค์ อู่ไท่โฮ่ว (อู่ เจ๋อเทียน) อย่างไรก็ตาม พระราชมารดาของพระองค์ได้ปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์หลังครองราชย์ไม่ถึงสองเดือนเพื่อสนับสนุนให้จักรพรรดิรุ่ยจง พระราชอนุชาของพระองค์ อดีตจักรพรรดิที่ถูกลดพระยศเป็นชั้นเจ้าชาย ถูกเนรเทศออกต่างจังหวัด กักขังในพระตำหนัก หกปีต่อมาจักรพรรดิรุ่ยจงก็สละราชบัลลังก์ให้กับพระราชมารดาและอู่ไท่โฮ่ว (อู่ เจ๋อเทียน) จึงประกาศพระองค์เองเป็นจักรพรรดินีนาถอย่างเป็นทางการ ในขณะที่จักรพรรดิรุ่ยจงได้รับสถาปนาให้เป็นองค์รัชทายาท

ในปี ค.ศ. 698 ราชสำนักอยู่ท่ามกลางการต่อสู้แย่งชิงอำนาจอันขมขื่น ในความพยายามที่จะรักษาชื่อเสียงของพระนาง จักรพรรดินีอู่ได้ปลดปล่อยอดีตจักรพรรดิหลังจากถูกกักบริเวณมา 14 ปีและเรียกพระองค์กลับมาที่เมืองหลวงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 698 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นรัชทายาทในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 698 แทนที่พระราชอนุชาของพระองค์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 705 เกิดการรัฐประหารในวังปลดจักรพรรดินีอู่ จักรพรรดิจงจงและราชวงศ์ถังได้รับการฟื้นฟูในอีกสามวันต่อมา จักรพรรดิจงจงครองราชย์มาห้าปีแต่ทรงเป็นผู้ปกครองที่ค่อนข้างอ่อนแอและครอบงำได้ง่าย พระราชอำนาจที่แท้จริงจึงไปอยู่ภายใต้มเหสีของพระองค์ จักรพรรดินีเหวย์ และคนรักของพระนาง อู่ ซานซือ (พระราชนัดดาของ จักรพรรดินี อู่ เจ๋อเทียน) และพระราชธิดาของพระองค์ หลี่ กั๋วเอ๋อ เจ้าหญิงอันเล่อ

ในปี ค.ศ. 710 จักรพรรดิจงจงเสด็จสวรรคต โดยกล่าวกันว่าถูกวางยาพิษโดยจักรพรรดินีเหวย์ ซึ่งต่อมาได้แต่งตั้ง หลี่ ชงเหมา พระราชโอรสของพระองค์เป็น จักรพรรดิถังชาง จักรพรรดินีเหวย์ ซึ่งล้มเหลวในการสถาปนาพระธิดาของพระนาง หลี่ กัวเอ๋อ เจ้าหญิงอันเล่อ เป็นรัชทายาทของจักรพรรดิจงจง คิดว่า หลี่ ชงเหมา หรือ จักรพรรดิถังชาง ประสูติจากจักรพรรดิจงจงและนางสนมและมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษาจะง่ายต่อการควบคุมและปล่อยให้พระนางรักษาอำนาจของพระนาง อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ล้มเหลว เมื่อ เจ้าหญิงไท่ผิง พระขนิษฐาของจักรพรรดิจงจง ทำการรัฐประหารในอีกสองสัปดาห์ต่อมากับพระนัดดาของพระองค์ หลี่ หลงจี (ต่อมาคือ จักรพรรดิถังเสฺวียนจง) พระราชโอรสของจักรพรรดิรุ่ยจงที่สละราชบัลลังก์ และโค่นล้มจักรพรรดินีเหวย์และจักรพรรดิหนุ่ม จักรพรรดิรุ่ยจง พระราชบิดาของ เจ้าชาย หลี่ หลงจี และพระเชษฐาของ เจ้าหญิงไท่ผิง ได้รับการฟื้นฟูเป็นจักรพรรดิ

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า จักรพรรดิถังจงจง ถัดไป
จักรพรรดิถังเกาจง จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1226 - พ.ศ. 1227)
จักรพรรดิถังรุ่ยจง
บูเช็กเทียน
(ราชวงศ์อู่โจว)
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1248 - พ.ศ. 1253)
จักรพรรดิถังชาง