ข้ามไปเนื้อหา

หลอดเลือดแดงท้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลอดเลือดแดงท้อง
หลอดเลือดแดงซีลิแอก
หลอดเลือดแดงซีลิแอกและแขนงของมัน (หลอดเลือดแดงซิลิแอกอยู่ตรงกลางภาพ)
หลอดเลือดแดงซีลิแอกและแขนงของมัน เมื่อยกกระเพาะอาหารขึ้น มองเทียบกับภาพด้านบน
รายละเอียด
คัพภกรรมหลอดเลือดแดงวิเทลลีน
จากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง
แขนงหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย
หลอดเลือดแดงตับร่วม
หลอดเลือดแดงม้าม
ตัวระบุ
ภาษาละตินTruncus coeliacus, arteria coeliaca
MeSHD002445
TA98A12.2.12.012
TA24211
FMA50737
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

หลอดเลือดแดงท้อง หรือ หลอดเลือดแดงซีลิแอก (อังกฤษ: celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) มีความยาว 1.25 เซนติเมตร แตกแขนงมาจากเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ และเป็นหนึ่งในสามแขนงของเอออร์ตาส่วนท้องที่ออกมาทางด้านหน้าในแนวกลางลำตัว ซึ่งอีก 2 แขนง ได้แก่ หลอดเลือดแดงเยื่อแขวนลำไส้ด้านบน และด้านล่าง (superior and inferior mesenteric arteries)

แขนง

[แก้]

หลอดเลือดแดงซีลิแอกแตกออกเป็น 3 แขนงใหญ่

หลอดเลือดแดง แขนง
หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery) แขนงหลอดอาหาร (esophageal branch),
แขนงตับ (hepatic branch)
หลอดเลือดแดงตับร่วม (common hepatic artery) หลอดเลือดแดงตับ (proper hepatic artery),
หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery),
หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล (gastroduodenal artery)
หลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery) หลอดเลือดแดงดอร์ซัลแพนครีเอติก (dorsal pancreatic artery),
หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารสั้น (short gastric arteries),
หลอดเลือดแดงแกสโตรโอเมนทัลซ้าย (left gastro-omental artery),
หลอดเลือดแดงตับอ่อนใหญ่ (greater pancreatic artery)

หลอดเลือดแดงซีลิแอกอาจให้แขนงหลอดเลือดแดงกะบังลมล่าง (inferior phrenic arteries)

บริเวณที่เลี้ยง

[แก้]
หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกระเพาะอาหาร ซึ่งแตกแขนงมาจากหลอดเลือดแดงซีลิแอก

หลอดเลือดแดงซีลิแอกให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงตับ, กระเพาะอาหาร, หลอดอาหารส่วนท้อง, ม้าม และครึ่งบนของลำไส้เล็กส่วนต้นและตับอ่อน โครงสร้างทั้งหมดดังกล่าวในระยะเอ็มบริโอคือ foregut (เช่นเดียวกัน หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริคและหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริคให้เลือดไปเลี้ยงโครงสร้างที่เจริญมาจาก midgut และ hindgut ในระยะเอ็มบริโอตามลำดับ สังเกตว่าทั้งสามแขนงที่แตกออกทางด้านหน้าจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องนี้แตกต่างกันและทดแทนกันไม่ได้ แม้ว่าจะมีแขนงปลายเชื่อมต่อกันก็ตาม)

หลอดเลือดแดงซีลิแอกเป็นแหล่งให้เลือดที่สำคัญ เพราะว่าแขนงที่เชื่อมต่อกันระหว่างหลอดเลือดใหญ่ที่เลี้ยงทางเดินอาหารทั้งสามนั้นไม่เพียงพอที่จะให้เลือดมาทดแทนกันได้ ดังนั้นหลอดเลือดนี้ไม่สามารถถูกอุดกั้นได้ การอุดตันของหลอดเลือดแดงซีลิแอกจะทำให้โครงสร้างที่เลือดเลี้ยงไม่พอตายได้

การระบาย

[แก้]

หลอดเลือดแดงซีลิแอกเป็นหลอดเลือดแดงหลักเดียวที่เลี้ยงอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนท้องและไม่มีหลอดเลือดดำชื่อเดียวกัน

เลือดส่วนใหญ่ที่กลับออกมาจากอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร (รวมทั้งจากบริเวณที่หลอดเลือดแดงซีลิแอกให้แขนง) จะกลับออกไปที่ตับโดยผ่านระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal venous system) เพื่อกระบวนการขจัดพิษ (detoxification) และกระบวนการอื่น ๆ ภายในตับ ก่อนที่จะส่งเลือดไปยังการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation) โดยผ่านหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein)

ในทางตรงข้ามการลำเลียงเลือดจาก midgut และ hindgut จะผ่านมาทางหลอดเลือดดำซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และหลอดเลือดดำอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric vein) ตามลำดับ เลือดดำไหลกลับจากหลอดเลือดแดงซีลิแอกอาจผ่านมาทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ไปยังหลอดเลือดดำพอร์ทัล (hepatic portal vein) หรือผ่านทางสาขาเล็ก ๆ ของระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัล

หลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ขนส่งบิลิรูบิน (bilirubin) ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของฮีโมโกลบิน ไปยังตับเพื่อขับถ่ายออกทางท่อน้ำดี

ภาพอื่น ๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]