ข้ามไปเนื้อหา

หมู่บ้านเกย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่บ้านเกย์ในเชินเนอบูร์ก เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

หมู่บ้านเกย์ (อังกฤษ: gay village) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่โดยทั่วไปเป็นที่รับรู้ว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือเป็นที่เดินทางหาสู่ของสมาชิกในชุมชนกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หมู่บ้านเกย์มักมีธุรกิจจำนวนมากสำหรับเกย์ เช่น บาร์เกย์, ไนต์คลับเกย์, โรงอาบน้ำเกย์ หมู่บ้านเกย์อาจเป็นตัวแทนถึงพื้นที่เป็นมิตรต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศท่ามกลางเมืองที่ไม่เป็นมิตรต่อคนกลุ่มนี้เท่าไร หรืออาจเพียงหมายถึงพื้นที่ที่มีความชุกของผู้อยู่อาศัยเกย์และธุรกิจเกย์ บางชุมชนอาจะถูกเรียกเป็นหมู่บ้านเกย์เนื่องจากมีภาพลักษณะที่เปิดรับเกย์

ในบางนคร กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมักกระจุกตัวกันอยู่ในย่านที่เป็นที่สามารถมองเห็นรู้ (visibly identified neighborhoods) ในขณะที่เมืองอื่น มักอาศัยกันอย่างกระจายกันไปตามย่านต่าง ๆ ซึ่งมีความมองเห็นรู้ต่ำกว่า อันอาจเป็นผลจากวัฒนธรรมต้านที่แข็งแกร่งกว่ามีอยู่ เช่น ชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในซานฟรานซิสโกจะกระจุกตัวอยู่ในย่านเดอะแคสโตร ส่วนในซีแอตเทิลจะกระจุกตัวอยู่ในแคปปิตอลฮิล, ในมอนทรีออล กระจุกตัวใน "เซนเตอร์ซูด" หรือที่รู้จักทั่วไปว่า "เลอ วิลเลจ"[1] ในขณะที่เมืองอื่น เช่น ออสติน ไม่มีหมู่บ้านเกย์ที่ชัดเจนแม้จะเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและธุรกิจที่เป็นมิตรจำนวนมาก[2][3]

ในประเทศไทย ย่านที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหมู่บ้านเกย์ เช่น ซอยประตูชัยในอดีต และสีลมซอยสอง ในกรุงเทพมหานคร กับ บอยซ์ทาวน์ในพัทยา[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bienvenue au Village gai de Montréal !". Un monde un village. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-05. สืบค้นเมื่อ 2013-09-05.
  2. Huqueriza, Chris. "Gay destinations on the rise off the beaten track". dot429. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  3. Grush, Loren (January 26, 2010). "Magazine Ranks Austin Among Top 10 Gay Friendly Cities". ABC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  4. Kenyon, Barry (2020-10-28). "Pattaya Boyztown: end of an era?". Pattaya Mail (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Cante, Richard C. (March 2008). Gay Men and the Forms of Contemporary US Culture. London: Ashgate Publishing. ISBN 978-0-7546-7230-2.
  • Castells, Manuel 1983. The City and the Grassroots: A Cross-Cultural Theory of Urban Social Movements. Berkeley, Los Angeles: University of California Press.
  • D'Emilio, John 1992. Making Trouble: Essays on Gay History, Politics, and the University. New York, London: Routledge.
  • Escoffier, Jeffrey 1998. American Homo: Community and Perversity. Berkeley, Los Angeles, London: University of California Press.
  • Florida, Richard 2002. The Rise of the Creative Class: And How It's Transforming Work, Leisure, Community and Everyday Life. New York: Perseus Books Group.
  • Forest, Benjamin (1995). "West Hollywood as Symbol: The Significance of Place in the Construction of a Gay Identity". Environment and Planning D: Society and Space. 13 (2): 133–157. doi:10.1068/d130133. S2CID 145416819.
  • Kenney, Moira Rachel 1998. "Remember, Stonewall was a Riot: Understanding Gay and Lesbian Experience in the City" Chapter 5, pp. 120–132 in: Leoni Sandercock (ed) Making the Invisible Visible. Berkeley, Los Angeles, London: University of California Press.
  • Lauria, Mickey; Knopp, Lawrence (1985). "Toward an Analysis of the Role of Gay Communities in the Urban Renaissance". Urban Geography. 6 (2): 152–169. doi:10.2747/0272-3638.6.2.152.
  • Levine, Martin P. 1979. "Gay Ghetto" pp. 182–204 in: Martin Levine (ed) Gay Men: The Sociology of Male Homosexuality. New York, Hagerstown, San Francisco, London: Harper & Row.
  • Ray, Brian and Damaris Rose 2000. "Cities of the Everyday: Socio-Spatial Perspectives on Gender, Difference, and Diversity" pp. 507–512 in: Trudi Bunting and Pierre Filion (eds). Canadian Cities in Transition: The Twenty-First Century. 2nd ed. Oxford: Oxford University Press.