หมึกสายวงน้ำเงินใต้
หมึกสายวงน้ำเงินใต้ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้น: | Cephalopoda |
อันดับ: | Octopoda |
วงศ์: | Octopodidae |
วงศ์ย่อย: | Octopodinae |
สกุล: | Hapalochlaena |
สปีชีส์: | H. maculosa |
ชื่อทวินาม | |
Hapalochlaena maculosa (Hoyle, 1883) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
หมึกสายวงน้ำเงินใต้ หรือ หมึกสายลายฟ้าใต้ (อังกฤษ: Southern blue-ringed octopus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hapalochlaena maculosa) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมอลลัสคาประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จำพวกหมึกสายวงน้ำเงิน
บทนำ
[แก้]ชีววิทยาของหมึก
[แก้]หมึกสายชนิดนี้เป็นหมึกสายที่มีขนาดเล็กและมีวงแหวนชนิดเรืองแสงสีฟ้าอยู่บนลำตัวและส่วนหนวด ความแตกต่างของหมึกชนิดนี้จากชนิดอื่นๆที่อยู่ในสกุลเดียวกันคือความยาวลำตัวมากที่สุดที่พบ 40 mm และความยาวของหนวดจะมากกว่าความยาวลำตัว 1.5 – 2.5 เท่า ลำตัวเป็นถุงกลม ด้านท้ายแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลมีจุดสีฟ้าเป็นวงแหวน สำหรับเพศผู้มีแขนคู่ที่สาม ข้างขวาเป็นแขนสำหรับผสมพันธุ์ และที่สำคัญคือวงแหวนสีฟ้าจะเป็นเพียงวงแหวนจาง ๆ ที่กระจายอยู่บนลำตัว โดยขนาดวงแหวนนั้นจะมีขนาดเล็กและพบน้อยมากเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงแหวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 mm พบกระจายเพียง 5 % จากบริเวณลำตัวทั้งหมด [2] การผสมพันธุ์มีเพียงครั้งเดียวตลอดวงจรชีวิตโดยเพศเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ ไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกหมึกจะดำรงชีวิตแบบหน้าดิน
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ พบในเขตอินโด-แปซิฟิกตะวันตก จากทางใต้ของเกาะฮอนชู ไปจนถึงเกาะทาสมาเนีย และไปทางตะวันตกจนถึงอ่าวเอเดน [3] ส่วนในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันโดยในฝั่งอ่าวไทย กรมประมงทำการศึกษาโดยใช้เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ขนาดตาอวนก้นถุง 2.5 เซนติเมตร ได้พบหมึกสายวงน้ำเงินใต้อยู่เสมอ แหล่งที่พบส่วนใหญ่ได้แก่บริเวณหน้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเขตน้ำลึก 20 – 40 เมตร แต่ไม่ได้พบในปริมาณมาก [4]
ความสำคัญ
[แก้]หมึกชนิดนี้จัดเป็นผู้ล่าที่สำคัญเพราะมันมีพิษที่ร้ายแรงดังนั้น จึงเป็นหนึ่งในสัตว์ที่จะควบคุมประชากรสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลได้ [5] อีกทั้งยังเป็นหมึกหายากใกล้สูญพันธุ์ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางวิชาการ เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม และสงวนรักษาพันธุ์หมึกชนิดนี้ได้ต่อไป[6]
ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของหมึกสายวงฟ้าใต้
[แก้]หมึกสายในสกุล Hapalochlaena มีรายงานแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ H. maculosa ( Hoyle,1883 ) , H. lanulata (Quoy & Gaimard, 1832), H. fasciata ( Hoyle,1883 ) จากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของหมึกสายในกลุ่มต่างๆโดย Michelle T. และคณะ ในปี 2005 พบว่าหมึกสายในสกุลนี้เป็น monophyletic group ทั้งสามชนิด และ H. maculosa, H. fasciata เป็น sister group กัน อีกทั้งหมึกสกุลนี้จะมีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับกลุ่ม O. aegina [7]
การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของหมึกสายวงฟ้าใต้ (Evolutionary adaptation of the Southern blue-ringed octopus)
[แก้]สารพิษในน้ำลาย
[แก้]เมื่อเหยื่อผ่านมาหมึกจะใช้แขนจับ ใช้จะงอยปากกัด แล้วปล่อยสารพิษในน้ำลายออกมาทำให้เหยื่อนั้นตายในที่สุด หรือเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคามมันจะเปล่งแสงสีฟ้าเรืองออกมาตามลำตัว จากนั้นจะรี่เข้ากัดผู้คุกคามทันที น้ำลายของมันประกอบด้วยสารพิษ 2 ชนิด คือ Maculotoxin (คล้ายคลึงกับสาร Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้า มีพิษต่อระบบประสาท) และ Hepalotoxin เป็นสารพิษที่ร้ายแรงเท่ากับงูเห่า 20 ตัวมารุมกัด [8] ถ้าคนถูกกัดโดยหมึกตัวเมียที่มีขนาดโตเต็มวัย สมบูรณ์เพศ อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ พิษชนิดนี้ออกต่อฤทธิ์ระบบประสาท โดยจะเข้าไปขัดขวางการสั่งงานของสมองที่จะไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิต คนที่ถูกพิษจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต ต้นกำเนิดของพิษในน้ำลายเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของมัน แบคทีเรียดังกล่าวประกอบด้วย Bacillus และ Pseudomonas อีกทั้งพิษ TTX และแบคทีเรียยังพบได้ในไข่ของหมึกอีกด้วย สันนิษฐานว่าเป็นกระบวนการส่งถ่ายความสามารถในการสร้างพิษจากแม่ไปยังลูก พบตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว [9]
การอำพรางตัว
[แก้]หมึกชนิดนี้จะมีการสร้างเม็ดสี (chromatophore) เมื่อมันโดนกระทบกระทั่ง มันก็จะพรางตัวโดยการทำตัวให้แบนและเปลี่ยนสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ขณะที่หมึกนอนหลับตัวของหมึกจะมีสีอ่อน เมื่อมันรู้สึกว่าถูกคุกคามก็จะเปล่งแสงสีฟ้าเรื่อย ๆ ออกมาตามลำตัว จากนั้นก็จะเข้ากัดผู้คุกคาม [10][11]
การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและการเฝ้าดูแลลูก
[แก้]เพศเมียจะออกไข่ประมาณ 50 ใบ ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง ในการฟักไข่แต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 3-6 เดือน แม่หมึกจะคอยเฝ้าไข่จนกระทั่งฟักโดยแม่จะไม่ออกหาอาหารเลย เนื่องจากกลัวว่าถ้าไปหาอาหารอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ลูก อีกทั้งถึงแม้จะมีอาหารมายังบริเวณที่มันอยู่มันก็จะไม่ยอมกินเพราะกลัวว่าเศษอาหารที่ตกค้างจะส่งผลต่อไข่ หลังจากนั้นแม่หมึกก็จะตาย ลูกหมึกก็จะเจริญเติบโตต่อไปจนเข้าวัยผสมพันธุ์ รูปแบบการดูแลลูกนี้นับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ลูกหมึกที่ฟักออกจากไข่อยู่รอดเกือบ 100 % [12]
References
[แก้]- ↑ จาก itis.gov
- ↑ Carpenter, E.K. and Niem, H.V. 1998. THE LIVING MARINE RESOURCES OF THE WESTERN CENTRAL PACIFIC Volume 2. Cephalopods, crustaceans, holothurians and sharks . FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION OF THE UNITED NATIONS ( FAO ), Rome, Italy, pp. 1396
- ↑ Nesis, K.N. 1987. Cephalopods of the world. T.F.H. Publications, Inc., Ltd., 351 p.
- ↑ เจิดจินดา โชติยะปุตตะ ทาคาชิ โอคุตานิ และ สมนึก ใช้เทียมวงศ์ 2535. การศึกษาชนิดของหมึกในประเทศไทย. รายงานเสนอคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ JSPS-NRCT. 100 หน้า
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-25.
- ↑ Michelle T. G.,Mark D.N.,Ross H. C.(2005) Molecular phylogeny of the benthic shallow-water octopuses (Cephalopoda: Octopodinae). Molecular Phylogenetics and Evolution 37 (17) 235–248 . doi: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1055790305001831
- ↑ http://www.fisheries.go.th/dof_thai/news/blue-ring.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUwTURRMU13PT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdOQzB4TkE9PQ==[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://chm-thai.onep.go.th/chm/alien/document/News/bluering.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.youtube.com/watch?v=dJg58MNICHk
- ↑ http://chm-thai.onep.go.th/chm/alien/document/News/bluering.pdf[ลิงก์เสีย]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hapalochlaena maculosa ที่วิกิสปีชีส์