หน้าต่างเนวาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าต่างแบบเนวาร์บานหนึ่งในหนุมานโฒกา กาฐมาณฑุ

หน้าต่างเนวาร์ (เนปาล: नेवार झ्याल; เนวาร ฌยาล) เป็นคำเรียกหน้าต่างไม้ที่แกะสลักอย่างวิจิตร อันเป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมเนปาลแบบธรรมเนียม[1] รวมถึงได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมและงานช่างของวัฒนธรรมเนวาร์[2] ระดับชั้นของความซับซ้อนและวิจิตรในการแกะสลักหน้าต่างเนวาร์มาถึงจุดสูงสุดในตอนกลางของศตวรรษที่ 18 หน้าต่างเนวาร์สามารถพบได้ตามพระราชวัง, บ้านเรือน และศาสนสถานต่าง ๆ ทั่วทั้งเนปาลมณฑล[3]

ชื่อ, เสาข้าง และบานหน้าต่าง ประดับประดาด้วยเทวรูป, ประติมากรรมรูปสัตว์ในตำนาน, มังกร, นาค, นกยูง, หม้อกลัศ และองค์ประกอบอื่น ๆ และหน้าต่างอาจถูกครอบด้วยฉัตรเชิงพิธีกรรม บ้านเรือเนวาร์มักใช้หน้าต่างรูปแบบที่ต่างกันไปในแต่ละชั้นของบ้าน ต่างกันไปตามการใช้สอย[4] ในช่วงศตวรรษ 21 หน้าต่างแบบเนวาร์เริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเนื่องมาจากความนิยมในงานสถาปัตยกรรมเนวาร์ อันเป็นผลมาจากการท่องเที่ยวและความตระหนักในวัฒนธรรมที่มีเพิ่มขึ้น[5]

หนึ่งในรูปแบบที่พบมากที่สุดของหน้าต่างเนวาร์คือ สันชญา (เทวนาครี: सँझ्या; Sanjhyā) ซึ่งเประกอบด้วยสามหน่วย และมักตั้งอยู่ตรงจุดกลางของฟาซาด ส่วนใหญ่มักใช้เป็นหน้าต่างของชั้นสามของอาคาร[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lieberman, Marcia R. (9 April 1995). "The Artistry of the Newars". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  2. Lehrman, Jonas (July–August 1984). "The Newar Window". Arts of Asia. Page 86.
  3. Lehrman, Jonas (July–August 1984). "The Newar Window". Arts of Asia. Page 82.
  4. Macdonald, A.W. and Stahl, Anne Vergati (1979) Newar Art: Nepalese Art during the Malla Period. New Delhi: Vikas Publishing House. Page 114.
  5. "Wood Carvings of the Valley: A cut above the others". Nepal Traveller. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2012.
  6. Lehrman, Jonas (July–August 1984). "The Newar Window". Arts of Asia. Page 86.
  7. Hutt, Michael et al. (1994) Nepal: A Guide to the Art and Architecture of the Kathmandu Valley. Kiscadale Publications. ISBN 1-870838-76-9. Page 50.