หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (ฮ่องกง)
หน่วยยุทธวิธีตำรวจ | |
---|---|
Police Tactical Unit (PTU) | |
อาร์มหน่วย | |
ประจำการ | พ.ศ. 2501 - ปัจจุบัน |
ประเทศ | ฮ่องกง |
เหล่า | กองกำลังตำรวจฮ่องกง |
รูปแบบ | การควบคุมความปลอดภัยทั่วไป ต่อต้านอาชญากรรม |
บทบาท |
|
กำลังรบ | ประจำการ ~2,000 นาย ส่วนสนับสนุน ~1,000 นาย |
ขึ้นกับ | ส่วนปฏิบัติการ |
กองบัญชาการ | 1 ถนนหวู่ทิปชาน, ฟานหลิง |
สมญา | บลูเบอเรต์ |
คำขวัญ | การล้มเหลวในการวางแผน คือการวางแผนที่จะล้มเหลว Failing to plan is planning to fail |
สีหน่วย | เขียวมะกอก |
หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (อังกฤษ: Police Tactical Unit: PTU, จีน: 警察機動部隊) เป็นหน่วยหนึ่งในกองกำลังตำรวจฮ่องกงซึ่งจัดกำลังพลสำรองไว้สำหรับปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉินในระดับใหญ่ได้ทันที[1] หน่วยระดับกองร้อยนี้จะมีประจำการอยู่ในทุกภูมิภาคและมีความพร้อมสำหรับการรักษาความมั่นคงภายใน, ควบคุมฝูงชน, ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรม, ตอบสนองต่อภัยพิบัติ และปราบจลาจลทั่วทั้งฮ่องกง หน่วยยุทธวิธีตำรวจมักจะถูกเรียกว่า "บลูเบอเรต์" (Blue Beret) ซึ่งหมายถึงหมวกเบอเรต์สีน้ำเงินที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบหน่วย
นอกจากนี้ หน่วยยุทธวิธีตำรวจยังเป็นองค์กรแม่ของหน่วยปฏิบัติหน้าที่พิเศษ (Special Duties Unit: SDU)[2] ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและช่วยเหลือตัวประกัน[3] และหน่วยเผชิญเหตุทางยุทธวิธีพิเศษ (Special Tactical Contingent: STC) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการปราบจลาจล (riot control) โดยดึงสมาชิกจากหน่วยอื่น ๆ รวมไปถึงกองบัญชาการหน่วยตำรวจยุทธวิธีและหน่วยปฏิบัติหน้าที่พิเศษมาสำหรับประกอบกำลังเฉพาะกิจชั่วคราว[4]
ฐานและค่ายฝึกของหน่วยยุทธวิธีตำรวจตั้งอยู่ในเมืองฟานหลิง[5]
ประวัติ
[แก้]หน่วยยุทธวิธีตำรวจ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อหน่วยเผชิญเหตุทางยุทธวิธีตำรวจ (Police Tactical Contingent: PTC)[1] ชื่อของหน่วยเผชิญเหตุทางยุทธวิธีตำรวจถูกเปลี่ยนเป็นหน่วยยุทธวิธีตำรวจในปี พ.ศ. 2511[1] ในปี พ.ศ. 2512 หน่วยยุทธวิธีตำรวจได้รับอนุญาตให้สวมหมวกเบอเรต์เป็นเครื่องสวมศีรษะมาตรฐาน ซึ่งทำให้หน่วยนี้เป็นที่รู้จักในท้องถิ่นในชื่อว่า "บลูเบอเรต์"[1]
ในปี พ.ศ. 2552 รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ Saxon ถูกแทนที่ด้วย รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยูนิม็อก U500[6]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 หน่วยยุทธวิธีตำรวจได้ซื้อรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ Sabertooth จำนวน 6 คันจาก Sabertooth ภายใต้งบประมาณของรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงประจำปี พ.ศ. 2563-2564 ซึ่งจัดสรรงบประมาณ 76.65 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (9.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการจัดซื้อ[7][8] การประกวดราคาจัดซื้อเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564[8] ยานเกราะ Sabertooth มาแทนที่ยูนิม็อกในประจำการเนื่องจากการแบนการส่งออกอุปกรณ์ต่อต้านจลาจลไปยังกองกำลังตำรวจฮ่องกงในปี พ.ศ. 2562 และเนื่องจากการถูกใช้งานบ่อยครั้ง ทำให้อุปกรณ์เกิดการสึกหรอ[7]
ตามรายการในโครงการปรับปรุงอาคารของรัฐบาลที่เผยแพร่ทางออนไลน์โดยกรมบริการสถาปัตยกรรม โรงยิม ห้องน้ำ และห้องเก็บของของกองบัญชาการหน่วยยุทธวิธีตำรวจที่บล็อกเอ็ม ได้รับการเสนอในงบประมาณมูลค่า 5-10 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง[9]
หน้าที่
[แก้]หน่วยยุทธวิธีตำรวจมีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกเจ้าหน้าที่ในกองกำลังตำรวจฮ่องกงที่ประจำการอยู่ในหน่วยฉุกเฉิน[10]
การจัดหน่วย
[แก้]หน่วยยุทธวิธีตำรวจประกอบไปด้วย 11 กองร้อย มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดประมาณ 2,000 คน แต่ละกองร้อย (ภายใต้การบังคับการของผู้กำกับการ) ประกอบไปด้วย 4 หมวด ซึ่งแต่ละหมวดนำโดยสารวัตร หรือ สารวัตรใหญ่ หมวดหนึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ 32 นาย โดยมีจ่าสถานี 1 นาย (ตำรวจชั้นประทวนอาวุโส) และจ่า 8 นาย
ในหน่วยประกอบไปด้วย กองบังคับการฝึกอบรม, กองบังคับการสนับสนุน, กองบังคับการวิจัยและพัฒนา, หน่วยฉุกเฉิน, หน่วยเผชิญเหตุทางยุทธวิธีพิเศษ และหน่วยปฏิบัติหน้าที่พิเศษ[2]
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจหยุดตรวจสอบผู้ต้องสงสัย
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการประท้วงของคนงานโลหะในเดือนสิงหาคม 2550
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวย ยืนรักษาการณ์หลังเครื่องกีดขวาง
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการประท้วงของคนงานโลหะในเดือนสิงหาคม 2550
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจกำลังข้ามถนนไปยังรถตู้ตำรวจ
-
หน่วยยุทธวิธีตำรวจปฏิบัติหน้าที่สี่แยก ระหว่างการประท้วงของช่างโลหะในเดือนสิงหาคม 2550
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการประท้วงของคนงานโลหะในเดือนสิงหาคม 2550
-
เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจ วางกำลังและสิ่งกีดขวางที่แอดมิรัลตี
ยุทโธปกรณ์
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]อาวุธปืน
[แก้]- สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 10[11]
- เรมิงตัน 870[11]
- ปืน Federal โมเดล 201-Z Riot Gun[11]
- เออาร์-15[11]
อุปกรณ์
[แก้]- หน้ากาก S10 respirator[11]
- 5.11 แทคติคอล Load Bearing Vest
- Green Load Bearing Vest
ยานพาหนะ
[แก้]- เมอร์เซเดส-เบนซ์ สปรินเตอร์
- โตโยต้า โคสเตอร์
- มิตซูบิชิ ฟูโซ โรซา
- เมอร์เซเดส-เบนซ์ อะเทโก
- ฟอร์ด เอฟ 550 รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ ผลิตในประเทศจีนและใช้ชื่อว่า Sabertooth[7]
อดีต
[แก้]- เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยูนิม็อก U5000 รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เป็นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะมาตรฐาน[12] กำลังยุติการใช้งานและแทนด้วย Sabertooth[7]
- Saxon[6]
- Alvis Saracen[13]
- เมอร์เซเดส-เบนซ์ วาริโอ
- โตโยต้า ไดน่า
- อีซูซุ เอ็นพีอาร์
- เบดฟอร์ด ทีเจ
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]- หน่วยยุทธวิธี (ซีรีย์ภาพยนตร์)
- ผู้พิทักษ์หัวใจทรนง 2 (On the First Beat)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "PTU the protector of the public (with photos)". www.info.gov.hk. สืบค้นเมื่อ 2017-02-27.
- ↑ 2.0 2.1 "A' Department (Operations) | Hong Kong Police Force".
- ↑ "Off Beat".
- ↑ "Hong Kong Police Review 2019".
- ↑ "List of Access Officer (for Publication) - (Hong Kong Police Force)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2023-08-18.
- ↑ 6.0 6.1 "News".
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Hong Kong's anti-riot 'Saber-toothed Tigers' ready for 25th SAR anniversary". 28 May 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-28.
- ↑ 8.0 8.1 "6 new anti-riot armoured vehicles to hit Hong Kong roads ahead of handover bash". 25 May 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25.
- ↑ "List of Refurbishment of Government Building - Projects proposed in 2023-24" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2023-08-18.
- ↑ "Hong Kong police to trial new anti-riot weapon for tackling violent disorder". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2022.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "Hong Kong Police riot squad's equipment in detail". 17 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ "HK police reveal armored trucks to fight protests". 8 August 2019.
- ↑ "Hong Kong's Saracen armoured police cars on patrol in small-town England". 23 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26.