หนานเฉาเหว่ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนานเฉาเหว่ย
ต้นหนานเฉาเหว่ย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
สกุล: Gymnanthemum
สปีชีส์: G.  extensum
ชื่อทวินาม
Gymnanthemum extensum
ชื่อพ้อง
  • Vernonia extensa (Wall.) Wall. ex DC.[1]
  • Cacalia extensa Kuntze
  • Conyza extensa Wall.

หนานเฉาเหว่ย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnanthemum extensum) สมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน มีชื่อสามัญไทยว่า "ป่าช้าเหงา, ป่าช้าหมอง" ชื่ออื่น : หนานเฉาเหว่ย, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์ โดยมีชื่อสามัญคือ "Bitterleaf tree"[2] เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae)

อนุกรมวิธานของหนานเฉาเหว่ย[แก้]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

หนานเฉาเหว่ยเป็นไม้ยืนต้นสูง 6-8 เมตร[4]

  • ใบ ใบออกสลับ มีรูปรี ปลายแหลม โคนป้านเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่ มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวตอนแรก จะขมในปากมาก แต่พอสักพักจะรู้สึกหวานในปากและในลำคอ
Leaf of a bitterleaf shrub
  • ดอก ดอกมีสีขาว ออกตามซอกใบ และปลายยอด
  • ตาพืช มีตาสีขาวตรงข้อของลำต้น
ลักษณะของ ตา


ลักษณะต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม
ลักษณะของเส้นใบ
ลักษณะของยอด
ลักษณะของดอก

ส่วนที่ใช้เป็นยา[แก้]

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ใบ ทั้งแบบทานใบสด และนำไปต้มดื่มกับน้ำ มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันเลือด[5] มีการนำไปแปรรูปในรูปของชาหนานเฉาเหว่ย

สรรพคุณทางยา[แก้]

  • ใบสด ตำราจีนระบุว่า ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ใบสด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ต่อต้านโรคเก๊าต์
  • ต่อต้านโรคเบาหวาน[6]
  • แก้โรคไขมันสูง
  • รักษาโรคไทรอยต์ต่ำ ไม่เหมาะกับผู้มีไทรอยต์สูง[7]
  • มีรายงานจากแหล่งจำนวนมากว่ารักษาโรคมะเร็งได้ โดยรับประทานใบ 3 ครั้งต่อวัน เช้า เที่ยง เย็น โดยรับประทานใบสด วันละ 5 - 7 ใบต่อครั้ง[8]
  • ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย[9]
  • ช่วยรักษาหูดให้หลุดออกและผิวเรียบปรกติ
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • เพิ่มสมรรถนะทางเพศ
  • รักษาโรคใจสั่น ช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

ผลกระทบต่อไต[แก้]

  • ผู้ป่วยที่มีโรคไตห้ามใช้เนื่องจากมีรายงานว่ามีผลกระทบต่อไต และประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ ส่งผลให้เกิดอาการเท้าบวม มือบวมเมื่อรับประทานเป็นเวลาต่อเนื่องกว่า 2 สัปดาห์ การรับประทานจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และตรวจสอบค่าต่างๆ ในร่างกายเพราะทุกสิ่งในโลกนี้ต้องใช้อย่างเหมาะสม น้อยเกินไป ก็ขาด มากเกินไป ก็เกิน ต่างมีผลกระทบต่อร่างกายเสมอ เห็นควรที่จะตรวจวัดค่าไตอย่างต่อเนื่องหากทดลองใช้ ก่อนที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อไต หรืออันตรายต่อชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคไต

การขยายพันธุ์[แก้]

ดีที่สุดคือการปักชำ สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการปักชำลงในดินและรดน้ำเช้าเย็น เพียง 7 - 10 วัน ก็จะเห็นยอดอ่อนแทงขึ้นมาจากกิ่งที่ปักชำไว้

สายพันธุ์ที่พบ[แก้]

เท่าที่ตรวจพบจากข้อมูล มีพันธุ์ใบใหญ่, พันธุ์ใบใหญ่ดอกขาว และพันธุ์ใบเล็ก ในส่วนสรรพคุณทางยาหรือสารที่พบในแต่ละสายพันธุ์ คงต้องมีการวิจัยสารสำคัญที่แน่นอนอีกครั้งในแต่ละสายพันธุ์ต่อไป ส่วนการใช้ในรูปสมุนไพรด้วยการรับประทาน ควรใช้ในปริมาณเล็กน้อยก่อนและหากใช้ในรูปชา จะปลอดภัยกว่า เนื่องจากสารบางชนิดที่มีความเป็นพิษจะสลายเมื่อเจอความร้อน และยังเป็นการฆ่าพยาธิหรือแบคทีเรียที่มาจากปุ๋ยคอกที่ใช้ใส่ในการ เร่งการเจริญได้อีกด้วยควรบริโภคสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการเสริมสร้างสุขภาพเท่านั้น

งานวิจัยทางเภสัชวิทยา[แก้]

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหิดล ระบุว่า สารสกัดน้ำของใบหนานเฉาเหว่ย มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และ ต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ได้ แต่งานวิจัยทั้งหมดนี้ยังอยู่ในห้องแล็ปเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับการศึกษาเรื่องความความเป็นพิษของหนานเฉาเหว่ยในสัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล และผงใบหนานเฉาเหว่ย ให้หนูแรท ขนาด 100 - 1,000 มก./วัน เป็นเวลา 28 - 65 วัน ให้แก่สัตว์ทดลอง ไม่พบความผิดปกติของตับและไต และผลต่อค่าชีวเคมีอื่นในเลือด แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบรูปแบบการศึกษาถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมในมนุษย์ รวมไปถึงการศึกษาความเป็นพิษหากกินแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน[10] จากประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ การรับประทานใบอย่างต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเท้าบวม เมื่อหยุดรับประทานเท้ากลับเป็นปรกติอาการบวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงมั่นใจได้ว่ามีผลกระทบต่อไต อย่างแน่นอน ผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับไต จึงควรใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์[11][12] หากน้ำตาลในร่างกายต่ำกว่าปกติ อาจเกิดอาการใจสั่น หน้ามืด หรือรุนแรงจนช็อก[13] ผู้ป่วยโรคตับ ที่รับประทานเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยอาการจะเริ่มปรากฏด้วยอาการขาบวม จึงควรงดใช้ทันทีหากปรากฏอาการดังกล่าว[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gymnanthemum extensum". The Plant List. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Gymnanthemum_extensum
  3. https://species.wikimedia.org/wiki/Gymnanthemum_extensum
  4. https://www.thairath.co.th/content/442579
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
  6. https://goodlifeupdate.com/healthy-body/108259.html
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
  9. http://m.tnews.co.th/contents/446145[ลิงก์เสีย]
  10. https://goodlifeupdate.com/healthy-body/108259.html
  11. https://www.thairath.co.th/content/1383081
  12. https://health.kapook.com/view199853.html
  13. https://www.mcot.net/view/5b8e9d58e3f8e40ad7f4f818?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna
  14. https://www.springnews.co.th/thailand/central/353857

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]