ฉบับร่าง:หญ้ายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หญ้ายา)
  • ความคิดเห็น: คำว่า "หญ้ายา" เป็นคำประดิษฐ์ขึ้นใหม่ไม่เคยมีการใช้ทางการแพทย์มาก่อน มีเพียงเว็บไซต์ ๆ หนึ่งสร้างคำขึ้นมาเท่านั้น Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:54, 19 เมษายน 2567 (+07)

ตัวอย่างของหญ้ายา

หญ้ายา (YAYA) หมายถึงพืชที่มีสรรพคุณทางยา ที่มีสารสำคัญซึ่งสามารถสกัดออกมาได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยสารที่สกัดได้จากหญ้ายาต้องมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ หรือมีผลในการรักษาโรค ตัวอย่างเช่น สารแอนโดรกราโฟไลด์ที่สกัดได้จากฟ้าทะลายโจร[1]  เป็นต้น

แนวคิดของพืชที่จะเรียกได้ว่าเป็นหญ้ายานั้น ต้องผ่านกระบวนการค้นคว้า วิจัย และทดสอบ จนชัดเจนแล้วว่าสามารถนำไปสกัดเพื่อให้ได้สารสำคัญในพืชออกมาไปผลิตเป็นยา หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขภาพได้จริง  ซึ่งในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาพืชที่จะถูกคัดเลือกให้เป็นหญ้ายา ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และองค์การเภสัชกรรม[2]

‘หญ้ายา’ เป็นคำใหม่ในภาษาไทย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ‘เย่าเฉ่า’ (藥草 — Yàocǎo) ในภาษาจีน[3] แปลว่าหญ้าที่มีฤทธิ์ทางยา หรือที่ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Medicinal Grasses[4]

แต่เดิมในภาษาไทย ไม่มีคำที่ใช้เรียกพืชที่นำมาสกัดเฉพาะสารออกฤทธิ์เท่านั้นออกมาทำเป็นยาโดยเฉพาะ แต่จะเรียกพืชทุกชนิดที่นำมาบริโภคแล้วบำบัดรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ โดยรวมว่าสมุนไพร ซึ่งในภาษาอังกฤษคือคำว่า Herbs

ประวัติของหญ้ายา[แก้]

หญ้ายาเป็นการเริ่มต้นครั้งสำคัญของจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและอย่างยั่งยืนถาวรให้กับป่าต้นน้ำน่านที่ถูกทำลายไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยโครงการน่านแซนด์บ๊อกซ์นี้เป็นผลผลิตทางความคิดของคุณบัณฑูร ล่ำซำ ในฐานะรองประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ซึ่งมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เป็นประธานฯ[5]

โดยหวังว่า หญ้ายา จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สามารถปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ป่าสงวนที่มีการจัดสรรตามสูตร 72:18:10[6] เพื่อที่จะสามารถช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชาวจังหวัดน่านได้อย่างยั่งยืน[7] ทดแทนการสร้างรายได้จากปลูกพืชที่ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากนัก[8] ซึ่งการปลูกพืชเหล่านั้นต้องทำลายพื้นที่ป่าสงวน อันเป็นเหตุให้พื้นที่ป่าสงวนถูกทำลายเป็นวงกว้างอย่างไม่สิ้นสุด

ปัจจุบันหญ้ายายังคงอยู่ในกระบวนการศึกษา ทดลอง และวิจัยเพื่อให้ได้พืชที่มีสรรพคุณทางยาสายพันธุ์ที่มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยาสูง สารปนเปื้อนต่ำ และสามารถปลูกใต้ร่มไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่าได้[9]

ความแตกต่างของหญ้ายากับสมุนไพร[แก้]

สมุนไพร จะครอบคลุมทั้งพืช แร่ธาตุ และส่วนประกอบของสัตว์ ที่มีการนำมาใช้ในการบำบัด รักษา บรรเทาอาการเจ็บป่วยตามวิถีชาวบ้านที่ทำตามๆ กันมา ในขณะที่หญ้ายาหมายถึงเฉพาะพืช ทั้งไม้ล้มลุก ไม้เถา ไม้พุ่ม และไม้เลื้อยที่สามารถปลูกภายใต้ต้นไม้ใหญ่

โดยพืชเหล่านั้นต้องมีการบันทึก และพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่ชัดแล้วว่ามีสรรพคุณทางยา และสามารถนำมาสกัดเอาเฉพาะสารสำคัญที่อยู่ในพืช เพื่อนำมาผลิตเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยตามมาตรฐานสากลด้วยหลักเภสัชศาสตร์ รวมถึงสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยาที่ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่าใช้รักษาโรคต่างๆ ได้จริง[10]

เดิมทีในภาษาไทยไม่มีคำเรียกพืชที่มีสรรพคุณทางยาโดยเฉพาะ แต่จะเรียกรวม ๆ ว่าสมุนไพร การใช้คำว่าหญ้ายาจึงสามารถสื่อสารได้เฉพาะเจาะจงถึงพืชที่มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต่อสุขภาพได้มากกว่า

ลักษณะของหญ้ายา[11][แก้]

  • พืชที่ปลูกด้วยดินที่มีคุณภาพดี มีแร่ธาตุ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และไม่มีสารพิษตกค้าง
  • พืชที่เติบโตด้วยน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษตกค้าง
  • พืชที่ปลูกในจังหวัดน่าน
  • พืชที่ได้รับการต่อยอด และพิสูจน์จากภูมิปัญญา หรือองค์ความรู้เดิมในการใช้พืชเพื่อรักษาโรค
  • พืชที่สามารถใช้กระบวนการทางเภสัชศาสตร์สมัยใหม่ ในการนำมาผลิตเป็นยาสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการรักษาด้วยยาที่ผลิตจากพืชดังกล่าวต้องตรวจสอบได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างของหญ้ายา[แก้]

ปัจจุบันมีการพืชในกลุ่มสรรพยา หลากหลายชนิด นานาพันธุ์ มาทำการวิเคราะห์ วิจัย และศึกษา เพื่อหาความแตกต่างของปริมาณสารสำคัญในการปลูกแต่ละแบบ เช่น

  • ฟ้าทะลายโจร
  • ขมิ้นชัน
  • รางจืด
  • เพชรสังฆาต
  • พรมมิ
  • ถั่วมาแฮะ
  • เซียงดา
  • พลู
  • บัวบก
  • พญายอ
  • งาขี้ม่อน
  1. Andrographolide, A Natural Antioxidant: An Update National Library of Medicine, เผยแพร่ 20 พ.ย. 2019
  2. "เปลี่ยน "ข้าวโพด" เป็น "หญ้ายา" ข้อเสนอจาก "น่านแซนด์บ็อกซ์"". www.thairath.co.th. 2023-03-08.
  3. "药用植物", 维基百科,自由的百科全书 (ภาษาจีน), 2023-09-18, สืบค้นเมื่อ 2024-03-25
  4. "A Modern Herbal | Grasses". www.botanical.com.
  5. watchara (2023-07-18). "กรมป่าไม้ ร่วมประชุมขับเคลื่อน "น่านแซนด์บอกซ์"". กรมป่าไม้.
  6. Thaireform (2019-02-02). "น่านแซนด์บ๊อกซ์คืบ "บัณฑูร" โชว์สัดส่วน 72-18-10 ข้อตกลงจัดสรรที่ดินป่าสงวน". สำนักข่าวอิศรา.
  7. S.Vutikorn, Nan Sandbox ความท้าทายครั้งใหม่ของบัณฑูร ล่ำซำ, Brandage Online, 27 ก.พ. 2018
  8. เมนูอาชีพด้านการเกษตร จังหวัดน่าน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 28 ก.ค. 2020
  9. "แตกหน่อ "น่านแซนด์บ็อกซ์" จาก "รักษ์ป่า" สู่ "รักษ์สุขภาพ"". www.thairath.co.th. 2023-03-09.
  10. การพัฒนายาจากพืช ด้วยหลักการทาง “วิทยาศาสตร์”, สืบค้นเมื่อ 2024-03-25
  11. tipatee (2022-10-17). "YAYA (หญ้ายา)". YAYA | หญ้ายา.