ส้มสีเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส้มสีเลือดหั่นเป็นชิ้น

ส้มสีเลือด (blood orange) เป็นส้มสายพันธุ์หนึ่งที่เนื้อส้มเป็นสีเหมือนเลือด ผลมีขนาดเหมือนส้มทั่วไป ผิวมักมีจุดประ ส้มชนิดนี้มีแอนโทไซยานิน ทำให้เป็นสีแดงเหมือนดอกไม้และผลไม้อื่นที่มีสารนี้ แต่เป็นสีที่แปลกสำหรับส้ม[1] ไครแซนเทมิน (ไซยานิดีน3-O กลูโคไซด์) เป็นสารประกอบหลักในส้มสีแดง[2] สีน้ำตาลแดงจะเกิดระหว่างพัฒนาการของผลในช่วงกลางคืนที่มีอุณหภูมิต่ำ [3] บางครั้งจะมีสีแดงเข้มที่เปลือกด้วย ขึ้นกับสายพันธุ์ ผิวอาจจะหนากว่าส้มอื่นๆ ส้มสีเลือดจะมีรสชาติแปลกกว่าส้มอื่น มีลักษณะคล้ายราสเบอร์รี[3]

ส้มสีเลือดเกิดจากการกลายพันธุ์ และเป็นส้มลูกผสมตามธรรมชาติ อาจจะระหว่าง ส้มโอ กับ ส้มแทนเจอรีน[4] ในยุโรป Arancia Rossa di Sicilia (ส้มสีแดงแห่งซิซิลี) เป็นสถานะทางภูมิศาสตร์ที่ต้องอนุรักษ์[5]ในวาเลนเซีย เริ่มเข้ามาปลูกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 [6]

ชิ้นส้มสีเลือดบนเค้กอัพไซด์ดาวน์
มาร์มาเลดทำจากส้มสีเลือด

อ้างอิง[แก้]

  1. Rapisarda, P; Paolo Rapisarda; Fabiana Fanella; Emanuele Maccarone (2 May 2000). "Reliability of Analytical Methods for Determining Anthocyanins in Blood Orange Juices". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 48 (6): 2249–2252. doi:10.1021/jf991157h. PMID 10888531.
  2. Influence of glucose on cyanidin 3-glucoside absorption in rats. Felgines C1, Texier O, Besson C, Vitaglione P, Lamaison JL, Fogliano V, Scalbert A, Vanella L and Galvano F, Mol Nutr Food Res., August 2008, volume 52, issue 8, pages 959–964, doi:10.1002/mnfr.200700377, PMID 18646002
  3. 3.0 3.1 McGee, Harold (2004). On food and cooking: the science and lore of the kitchen. New York: Scribner. pp. 376. ISBN 0-684-80001-2.
  4. Nicolosi, E.; Deng, Z. N.; Gentile, A.; La Malfa, S.; Continella, G.; Tribulato, E. (2000). "Citrus phylogeny and genetic origin of important species as investigated by molecular markers". TAG Theoretical and Applied Genetics. 100: 1155–1166. doi:10.1007/s001220051419.
  5. "IGP Arancia Rossa di Sicilia: Territory". IGP Arancia Rossa di Sicilia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2010-12-28.
  6. Besó Ros, Adrià (2016). Horts de tarongers. La formació del verger valencià. València: Institució Alfons el Magnànim. p. 144. ISBN 978-84-7822-686-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]