สแกนเนอร์ 3 มิติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างการสแกนตัวบุคคล โดยการแสดงผลในลักษณะ จุดพอยต์คลาวด์
พอยต์คลาวด์ของการสแกนของห้องใต้ดินโรงงาน เพื่อวัดระยะทางและตำแหน่งของท่อภายใน

สแกนเนอร์ 3 มิติ (3D scanner) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บภาพหรือรายละเอียดจากวัตถุ โดยทำการสแกน หรือ เก็บข้อมูล และจากนั้นจะถูกส่งจากเครื่องสแกนเนอร์เข้าไปสู่คอมพิวเตอร์ในลักษณะจุดใน พิกัด 3 มิติ ที่เรียกว่า พอยต์คลาวด์ เพื่อนำไปคำนวณผลต่อไป โดยเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานในการถ่ายทำภาพยนตร์ และวิดีโอเกม

สแกนเนอร์เลเซอร์ 3 มิติ ทำงานโดยเครื่องจะยิงเลเซอร์ออกจากเครื่อง และรอเลเซอร์สะท้อนจากวัตถุกลับเข้าไปสแกนเนอร์ และทำการวัดระยะเวลาในการเดินทางของเลเซอร์ เพื่อคำนวณหาระยะทางของตำแหน่งกล้องเทียบกับวัตถุ จากสมการของความเร็ว ในลักษณะของไลดาร์ (LIDAR, Laser Detection and Ranging)

สแกนเนอร์เลเซอร์ 3 มิติ มีลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ตั้งแต่ การทำรังวัด สแกนเนอร์จะมีขนาดใหญ่ และสามาระวัดระยะทางได้ไกล หรือการวัดวัตถุสำหรับทำโมลของเครื่องจักร ซึ่งจะใช้สแกนเนอร์ระยะใกล้ที่ความละเอียดสูง

ข้อจำกัดของระบบ สแกนเนอร์ 3 มิติ[แก้]

ระบบของ สแกนเนอร์ 3 มิติ ยังมีข้อจำกัดดังนี้ (1) ข้อมูลเมฆจุดที่เก็บเข้ามาต้องมีการเรียงข้อมูลเป็นลำดับที่ถูกต้อง (2) ต้องวางวัตถุให้อยู่ตรงกลางของกล้อง (3) ยังไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีขนาดเล็กมากจนเกินไปเนื่องจากจะมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการคำนวณ (4) ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีลักษณะที่เป็นโปร่งใสได้เนื่องจากกล้องคิเนคไม่สามารถจับข้อมูลความลึกในที่ส่วนนั้นได้

การทำสำรวจโดยใช้สแกนเนอร์พกพา 3 มิติ[แก้]

ในการทำสำรวจ สแกนเนอร์ 3 มิติ ถูกนำมาใช้เพื่อวัดระยะทางของพื้นที่โดยรอบ โดยใช้แทนกล้องสำรวจ ค่าที่ได้จะแสดงถึงระยะทางจากจุดที่วัด เปรียบเทียบกับตำแหน่งกล้อง และสามารถนำมาหาความสูง มุมองศา และความกว้างของวัตถุของที่ดินที่สำรวจได้

อุปกรณ์คิเนค (Kinect)[แก้]

อุปกรณ์คิเนค คือกล้องที่ใช้ทำการสแกนเนอร์ 3 มิติ มีลักษณะเป็นแท่งที่วางตัวกล้องในแนวนอน ซึ่งมีฐานวางประกอบขนาดเล็ก ตัวแกนของฐานมีมอเตอร์ในตัว ซึ่งทำหน้าที่ในการขยับมุมกล้อง ในส่วนรับข้อมูลประกอบไปด้วยกล้อง RGB มีความละเอียดอยู่ที่ 640x480 พิกเซล กล้องคิเนคนั้นสามารถจับภาพเคลื่อนไหวได้ 30 เฟรม/วินาที นอกจากนี้กล้องคิเนคยังประกอบด้วยตัวเซนเซอร์ตรวจจับความลึก และ ไมโครโฟนจำนวนสี่แถว ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถใช้พอร์ต USB 2.0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]