สุสานหลวงหมิงยู่ว

พิกัด: 40°18′52″N 116°13′55″E / 40.31444°N 116.23194°E / 40.31444; 116.23194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุสานหลวงหมิงยู่ว
明裕陵
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทสุสานหลวง
ที่ตั้งปักกิ่งเขตฉางผิง
ประเทศธงของประเทศจีน จีน
พิกัด40°18′52″N 116°13′55″E / 40.31444°N 116.23194°E / 40.31444; 116.23194
เริ่มสร้าง29 กุมภาพันธ์ รัชศกเทียนซุ่นปีที่ 8 (ค.ศ. 1464)
ในกำกับดูแลของฝ่ายบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติสาขาปักกิ่ง

สุสานหลวงหมิงยู่ว หรือ หมิงยู่วหลิ่ง (จีน: 明裕陵; พินอิน: Míngyù líng) เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ รัชศกเทียนซุ่นปีที่ 8 (ค.ศ. 1464) เป็นสุสานหลวง สำหรับประดิษฐานฝังพระบรมศพจักรพรรดิหมิงอิงจง ฉื่ออี้ไทเฮา และโจวไทฮองไทเฮา ตั้งอยู่ที่ปักกิ่ง[1]

เนื่องจากจักรพรรดิ จักรพรรดิหมิงอิงจงได้ออกพระบรมราชโองการก่อนที่สวรรคตว่าไม่ควรฝังนางสนมกำนัลตามพระองค์ไปในสุสานหลวง จึงถือเป็นสุสานแห่งแรกที่ไม่มีการสังเวยนางสนมกำนัลไปรับใช้จักรพรรดิในโลกหลังความตาย

เป็นการก่อสร้างโดยใช้ศิลปะขั้นสูง มีช่างฝีมือทหารและพลเรือนมากกว่า 80,000 คนเข้าร่วมในการก่อสร้างนี่ รวมระยะเวลาตั้งแต่ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ สุสานแห่งนี้ใช้เวลาเพียงเกือบสี่เดือนเท่านั้น

ในช่วงสาธารณรัฐจีน พระที่นั่งหลินเอินถูกทำลายในช่วงสงคราม และประตูหลินเอิน ถูกเผาในปีที่ 6 ของสาธารณรัฐจีน (พ.ศ. 2460) ปัจจุบันประตูสุสานกลายเป็นซากปรักหักพัง แต่อาคารอื่นๆ ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี

การอนุรักษ์และการฟื้นฟู[แก้]

ตั้งแต่รัชศกเฉียนหลงปีที่ 50 - 52 (พ.ศ. 2328-2330) ราชวงศ์ชิงได้ดำเนินการซ่อมแซมสุสานหลวงเป็นการใหญ่ เพื่อปกป้องสุสานหลวง หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 200 ปี อาคารหลักของสุสานหลวงหมิงยู่วเช่น ประตูหลินเอิน (祾恩门) และพระที่นั่งหลินเอิน (祾恩殿) ได้รับความเสียหายสาหัส จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน

การปรับปรุงครั้งนี้จะเป็นไปตามหลักการ โดยใช้งานฝีมือดั้งเดิมและส่วนประกอบของอาคารดั้งเดิม เพื่อรักษากลิ่นอายดั้งเดิมของอาคารโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมให้มากที่สุด

อ้างอิง[แก้]

  1. 明十三陵最后一座残陵裕陵大规模修缮