ข้ามไปเนื้อหา

สุรสิทธิ์ ตรีทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรสิทธิ์ ตรีทอง
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(5 ปี 60 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบสัดส่วน
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(3 ปี 138 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–2554)

สุรสิทธิ์ ตรีทอง (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประวัติ

[แก้]

สุรสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2503 เป็นนักการเมืองชาวแม่ฮ่องสอนโดยกำเนิด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการเมืองและบูรณาการ และปริญญาโท นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการท่องเที่ยวและบันเทิง จากมหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพมหานคร

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาทางการศึกษาโดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน และพิจารณาสนับสนุนงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการดำเนินการ[1] เขาได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการปกครองท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การทำงาน

[แก้]

การเมืองท้องถิ่น

[แก้]

สุรสิทธิ์ ตรีทอง เป็นสมาชิกสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2545 เขาได้รับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2543 เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปี พ.ศ. 2545 จนถึงปี 2547 ต่อมาในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547[2] เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน กลุ่ม 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง 44 ที่นั่ง

วุฒิสภา

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2562 สุรสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ลำดับที่ 223[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  2. พระปกเกล้า,สถาบัน. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ. สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพ. 2547
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  5. สุดยอด!อดีตผู้ว่าขอนแก่นเจ้าของหนังสือด่วน'ทำอย่างไรให้ประชาชนหายโง่'มีชื่อเป็นส.ว.ด้วย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]