ข้ามไปเนื้อหา

สุนิสา ลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนิสา ลี
สุนิสาใน ค.ศ. 2024
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มสุนิสา ลี
ชื่อเล่นซูนี
ตัวแทนของประเทศ สหรัฐ
เกิด (2003-03-09) 9 มีนาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี)
เซนต์พอล รัฐมินนิโซตา
สถานที่ฝึกซ้อมลิตเติลแคนาดา รัฐมินนิโซตา
ส่วนสูง5 ft 0 in (1.52 m)
ประเภทยิมนาสติกสากลหญิง
ระดับSenior International Elite
ปีที่ติดทีมชาติ2017–ปัจจุบัน (สหรัฐ)
สโมสรศูนย์ยิมนาสติกมิดเวสต์
ทีมมหาวิทยาลัยออเบิร์นไทเกอส์ (2022–2025)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเจสส์ เกรบา
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนแอลิสัน ลิม

สุนิสา "ซูนี" ลี (อังกฤษ: Sunisa "Suni" Lee;[1] เกิด 9 มีนาคม ค.ศ. 2003) เป็นนักยิมนาสติกสากลชาวอเมริกันเชื้อสายม้ง ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 สุนิสาได้รับเหรียญทองใน ประเภทรวมอุปกรณ์ และเหรียญทองแดง ในประเภทบาร์ต่างระดับ[2] ส่วนในประเภททีม สุนิสาได้รับเหรียญทองในการแข่งขันยิมนาสติกลีลาชิงแชมป์โลก 2019 และเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 เธอเป็นนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติสหรัฐยาวนานหกสมัย และเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายม้งคนแรกที่ได้รับเหรียญรางวัลจากกีฬาโอลิมปิก[3][4]

ประวัติ

[แก้]

สุนิสา ลี มีนามเดิมว่า สุนิสา ผาบชมพู (Sunisa Phabsomphou)[5] เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2003 ณ เมืองเซนต์พอล รัฐมินนิโซตา มีมารดาชื่อ เย้ง ท่อ (Yeev Thoj) เป็นม้งอพยพ ประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข[1][4][6] มารดาลี้ภัยออกจากประเทศลาว ไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพบ้านวินัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย ราว 10 ปี[7] ก่อนอพยพสู่สหรัฐ[8][9] โดยชื่อ "สุนิสา" ซึ่งแปลกไปจากชาวม้งในสหรัฐคนอื่น มารดาของเธออธิบายว่าตั้งตามสุนิสา เจทท์ นักแสดงหญิงชาวไทยจากละครโทรทัศน์เรื่อง สะใภ้จ้าว (2002) ซึ่งมารดาชื่นชอบ[7][10][11] สุนิสาอาศัยอยู่กับมารดา และพ่อเลี้ยงชื่อ ฮัว ลี หรือ จอห์น ลี (John Lee) ชาวอเมริกันเชื้อสายม้งแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตั้งแต่สุนิสาอายุได้สองขวบ ครั้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เธอจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลของจอห์น[6] เธอมีพี่น้องได้แก่ โจนาห์ (Jonah) และไชแอน (Shyenne) เป็นลูกติดของจอห์น ส่วนเอวิออน (Evionn) ลักกี (Lucky) และโนอาห์ (Noah) เป็นน้องร่วมมารดาที่เกิดกับจอห์น[1][8] โดยเฉพาะเอวิออน เป็นนักกีฬายิมนาสติกลีลาระดับภูมิภาค[12][13]

เมื่ออายุหกขวบ สุนิสาเริ่มหัดกีฬายิมนาสติกที่ศูนย์ยิมนาสติกมิดเวสต์ในลิตเติลแคนาดา รัฐมินนิโซตา[12] และปัจจุบันเธอก็ยังฝึกซ้อมที่ศูนย์ยิมนาสติกแห่งนี้ สุนิสาเริ่มลงแข่งขันยิมนาสติกประเภทรวมอุปกรณ์ระดับรัฐ[8] เมื่ออายุได้แปดขวบ เธอเลื่อนขั้นเป็นระดับสาม[8] และเลื่อนเป็นระดับสูงเมื่ออายุ 11 ปี[8] โดยช่วงตั้งแต่อายุ 6-12 ปี สุนิสาได้รับการฝึกซ้อมโดยปุนนาริต กอย (Punnarith Koy) ชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา[14]

ค.ศ. 2019 ก่อนการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์สหรัฐ (USA Gymnastics National Championships) จอห์น พ่อเลี้ยงของเธอพลัดตกต้นไม้ขณะไปช่วยเพื่อนคนหนึ่ง ทำให้เขาเป็นอัมพาตตั้งแต่ช่วงเอวลงไป[15] ปีถัดมาป้าและลุงของเธอเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สุนิสากล่าวถึงเรื่องเศร้าที่รุมเร้านี้ว่า "มันทำให้ฉันเข้มแข็งขึ้น" (I am tougher because of it.)[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Suni Lee". usagym.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ June 28, 2021.
  2. Diaz, Jaclyn; Chappell, Bill (July 29, 2021). "Gymnast Sunisa Lee's Gold Medal Elates Her Hometown Hmong Community". NPR. สืบค้นเมื่อ July 29, 2021.
  3. "Meet Suni Lee, USA's uneven bars specialist and the first Hmong American Olympic gymnast". www.sportingnews.com.
  4. 4.0 4.1 Diaz, Jaclyn; Chappell, Bill (July 29, 2021). "As Gymnast Sunisa Lee Wins Gold, Her Hometown Hmong Community Has Her Back". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ July 29, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Zirin, Dave (July 29, 2021). "Suni Lee's gold medal Olympics moment is America at its best (let's not ruin it)". MSNBC. สืบค้นเมื่อ August 1, 2021.
  6. 6.0 6.1 "'A big moment for all of us': Star U.S. gymnast Sunisa Lee reps her family and community in Tokyo". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
  7. 7.0 7.1 "จาก "สุนิสา เจ็ทส์" ถึง "สุนิสา ลี"". ผู้จัดการออนไลน์. 31 Jul 2021. สืบค้นเมื่อ 2 Oct 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Yang, Nancy (June 9, 2017). "St. Paul Hmong-American gymnast leaps toward her Olympic dream – and history". MPR News. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Macur, Juliet (May 22, 2020). "This Gymnast hasn't turn off her Olympic Countdown". New York Times.
  10. ""สุนิสา ลี" สาวน้อยชาวม้งชื่อไทย สู่บุคคลทรงอิทธิพลของโลก 2021". คมชัดลึก. 20 Sep 2021. สืบค้นเมื่อ 2 Oct 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "รู้จักเธอ สุนิสา ลี เหรียญทอง ม้ง-อเมริกัน คนแรก". พีพีทีวีออนไลน์. 30 Jul 2021. สืบค้นเมื่อ 2 Oct 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 "Sunisa Lee". Tokyo 2020 Olympics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-06. สืบค้นเมื่อ July 29, 2021.
  13. Diaz, Jaclyn; Chappell, Bill (July 29, 2021). "Gymnast Sunisa Lee's Gold Medal Elates Her Hometown Hmong Community". NPR. สืบค้นเมื่อ August 1, 2021.
  14. @KamonCam (2021-07-31). ""I just feel really happy for her" Rochester gymnast shares memories with Olympian Suni Lee". KTTC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  15. Armour, Nancy. "Olympic hopeful Sunisa Lee gets a big boost from father's presence at U.S. gymnastics championships". USA Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 28, 2021.