สัมประสิทธิ์การลดทอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัมประสิทธิ์การลดทอน (attenuation coefficient) หรือ สัมประสิทธิ์การดูดกลืน (absorption coefficient) เป็นค่าคงที่ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวกลางชนิดหนึ่ง ๆ ดูดกลืนแสงได้มากน้อยเพียงใดเมื่อมีแสงผ่านเข้ามา ตามกฎของลัมแบร์ท–แบร์แล้ว ค่าความดูดกลืน ซึ่งหมายถึงค่าลอการิทึมของอัตราส่วนของความเข้มของแสงที่ผ่านตัวกลางเป็นระยะทางหนึ่งต่อความเข้มของแสงที่ตกกระทบ จะมีความสัมพันธ์เป็นสัดส่วนกับระยะทางที่ผ่าน และค่าสัมประสิทธิ์สัดส่วนนั้นก็คือสิ่งทีเรียกว่าค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืน

เวลาเขียนในสมการ สัญลักษณ์ มักถูกใช้เมื่อเขียนในรูปของ ลอการิทึมธรรมชาติ และ มักถูกใช้เมื่อเขียนในรูปของลอการิทึมฐานสิบ นอกจากนี้แล้ว เมื่อสังเกตการดูดกลืนของสารละลาย จะใช้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนโมลาร์ ซึ่งเป็นค่า หรือ ที่ผ่านการทำให้เป็นมาตรฐานด้วยความเข้มข้นโมลาร์หน่วยของสารละลาย

แนวคิดในทำนองเดียวกันยังใช้กับเรื่องคลื่นเสียง เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนเสียง (sound absorption coefficient)[1]

คำนิยาม[แก้]

สมมติว่าความเข้มของแสงก่อนเข้าสู่ตัวกลางคือ แล้วความเข้ม ของแสงหลังจากตกกระทบจะโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนแสง , และ จากกฎของลัมแบร์ท–แบร์ ได้ดังสูตรต่อไปนี้

โดยที่ x คือระยะทางที่ผ่านสารตัวกลาง และ c คือเลขโมลของสารละลาย

และจะได้ว่า

อ้างอิง[แก้]

  1. 菊池年晃 (1985). "ゴム状物質の音波吸収係数測定に関する一方法". 海洋音響研究会報. 12 (3): 118–124. NAID 130004101319