สัจพจน์เส้นขนาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัจพจน์เส้นขนาน (อังกฤษ: parallel postulate) เป็นสัจพจน์ข้อที่ห้าของยุคลิดซึ่งได้ระบุไว้ในหนังสือเอเลเมนส์ของยุคลิด เป็นสมมติฐานที่โดดเด่นในเรขาคณิตแบบยุคลิด ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ในระบบเรขาคณิตสองมิติ ถ้าส่วนของเส้นตรงตัดกับเส้นตรงสองเส้นที่ทำให้เกิดมุมภายในสองมุมที่ด้านเดียวกันซึ่งมีมุมฉากน้อยกว่าสองมุม แล้วเส้นสองเส้น (หากยื่นออกไปโดยไม่รู้จบ) จะมาบรรจบกันที่ด้านดังกล่าวซึ่งมุมทั้งสองรวมกันแล้วมีค่าน้อยกว่ามุมฉากสองมุม (180 องศา)

สัจพจน์นี้ไม่ได้พูดถึงเส้นขนานโดยเฉพาะ[1] แต่เป็นเพียงสัจพจน์ที่เกี่ยวข้องกับการขนานกันของเส้นสองเส้นเท่านั้น โดยยุคลิดได้ให้นิยามของเส้นขนานไว้ในนิยามข้อ 23 ของหนังสือเอเลเมนส์เล่ม 1[2] ก่อนส่วนของสัจพจน์ทั้งห้าข้อ[3]

เรขาคณิตแบบยุคลิดเป็นระบบเรขาคณิตที่สอดคล้องกับสัจพจน์ทั้งห้าข้อของยุคลิด รวมถึงสัจพจน์เส้นขนานนี้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. non-Euclidean geometries, by Dr. Katrina Piatek-Jimenez
  2. "Euclid's Elements, Book I, Definition 23". Clark University. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19. Parallel straight lines are straight lines which, being in the same plane and being produced indefinitely in both directions, do not meet one another in either direction.
  3. "Euclid's Elements, Book I". aleph0.clarku.edu. สืบค้นเมื่อ 13 June 2023.