การสะกดจิต
การสะกดจิต (อังกฤษ: hypnosis) เป็นสภาพพิชานของมนุษย์ ที่มีการมุ่งความใส่ใจและลดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว รวมทั้งตอบสนองต่อสิ่งชักจูงง่ายขึ้น[1]
ทฤษฎีอธิบายสิ่งที่เกิดระหว่างการสะกดจิตแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นการเปลี่ยนสภาพจิตหรือการอยู่ในภวังค์ (trance) สังเกตจากระดับความรู้สึกตัวที่แตกต่างจากสภาพพิชานปกติ[2][3] ในทางตรงข้าม ทฤษฎีไม่ใช่สภาพ มองว่าการสะกดจิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการกำหนดบทบาทในจินตนาการ[4][5][6]
คนที่เคยถูกสะกดจิตกล่าวว่าพวกเขารู้สึกมีสมาธิมากขึ้น และระหว่างถูกสะกดจิตยังสามารถตั้งสมาธิอย่างแรงกล้าไปยังความคิดหรือความทรงจำเฉพาะ โดยไม่สนใจสิ่งเร้าอื่น[7] ผู้ถูกสะกดจิตมักแสดงการตอบรับต่อสิ่งชักจูงง่ายขึ้น[8]
การสะกดจิตมักทำโดยใช้ชุดคำสั่งเบื่องต้นและการชักจูง การใช้การสะกดจิตเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เรียกว่า "สะกดจิตบำบัด" (hypnotherapy) และการใช้เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมถูกเรียกว่า "การสะกดจิตแบบการแสดง" (stage hypnosis) มักนำแสดงโดยนักมโนนิยม (mentalist) ที่ผ่านการฝึกศาสตร์ของมโนนิยม (mentalism)
ที่มาของคำ
[แก้]คำว่า "hypnosis" มาจากคำกรีกโบราณ ὕπνος hypnos ที่แปลว่า "การนอน" และคำต่อท้าย -ωσις -osis หรือจาก ὑπνόω hypnoō, "การทำให้หลับ" (ส่วนหนึ่งของคำว่า hypnōs-) และคำต่อท้าย -is[9][10] ทั้งคำว่า "hypnosis" และ "hypnotism" มาจากคำว่า "neuro-hypnotism" (การนอนทางประสาท) ล้วนเป็นคำที่ตั้งขึ้นโดย Étienne Félix d'Henin de Cuvillers ใน ค.ศ. 1820
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]คนที่กำลังถูกสะกดจิตนั้นผ่อนคลาย มีความใส่ใจไปที่สิ่งเดียว และถูกชักจูงได้ง่าย[11]
คนที่ถูกสะกดจิตเหมือนจะสนใจแต่เพียงการสื่อสารจากผู้สะกดจิตเท่านั้น และมักตอบสนองในรูปแบบอัตโนมัติโดยไม่ผ่านการวิเคราะห์ ขณะเมินเฉยต่อสิ่งรอบข้างทุกอย่างนอกจากสิ่งที่ถูกชี้โดยผู้สะกดจิต ขณะถูกสะกดจิต คนมักเห็น รู้สึก ได้กลิ่น หรือรับรู้ ตามคำชักจูงของผู้สะกดจิต แม้คำชักจูงเหล่านั้นอาจตรงข้ามกับสิ่งเร้าจริงซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อม ผลของการสะกดจิตไม่จำกัดอยู่เพียงการรับรู้เท่านั้น ทว่าความทรงจำและความตระหนักรู้ในตนอาจเปลี่ยนไปตามการชักจูง และผลของการชักจูงอาจคงอยู่หลังตื่นจากการสะกดจิต[12]
สามารถกล่าวได้ว่าการชักจูงโดยการสะกดจิตตั้งใจใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ยาหลอก ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1994 เออร์วิง เคอร์ช (Irving Kirsch) บรรยายว่าการสะกดจิตเป็นเหมือน "ยาหลอกแบบไม่ลวงตา" (nondeceptive placebo) หรือเป็นวิธีที่ใช้ประโยชน์จากการชักจูงอย่างเปิดเผยและใช้วิธีเพื่อขยายผล[13][14]
การประยุกต์ใช้
[แก้]การสะกดจิตถูกประยุกต์ใช้ในหลายด้าน รวมทั้ง การใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์หรือจิตบำบัด, การใช้ทางทหาร, การใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และการใช้เพื่อความบันเทิง ปัจจุบันสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ไม่แสดงจุดยืนอย่างเป็นทางการต่อการใช้การสะกดจิตทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยโดยสภาสุขภาพจิตจากสมาคมการแพทย์อเมริกัน ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1958 พบว่าการสะกดจิตมีประสิทธิภาพด้านการรักษา[15]
การสะกดจิตถูกใช้เป็นแนวทางเสริมของการบำบัดด้วยการรู้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 การสะกดจิตถูกให้ความหมายโดยเปรียบเทียบกับการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยคำพูดของนักบำบัดเหมือนกับสิ่งเร้าและการถูกสะกดจิตเป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข วิธีการบำบัดด้วยการรู้แบบดั้งเดิมบางแบบตั้งอยู่บนฐานของการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยมักประกอบด้วยการชักนำเข้าสู่สภาวะผ่อนคลาย ตามด้วยการเสนอสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความกลัว วิธีหนึ่งในการชักนำเข้าสู่สภาวะผ่อนคลายคือการสะกดจิต[16]
การสะกดจิตยังถูกใช้ในการสืบสวน, กีฬา, การศึกษา, กายภาพบําบัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพ[17] การสะกดจิตยังถูกใช้โดยศิลปินเพื่อเพิ่มความสร้างสรรค์ อ็องเดร บรีตัน (André Breton) ผู้โด่งดังที่สุดในวงการลัทธิเหนือจริง ใช้การสะกดจิต, การเขียนอัตโนมัติ (automatic writing) และแบบร่างเพื่อความสร้างสรรค์ วิธีการสะกดจิตถูกใช้เพื่อให้คนไข้กลับไปรู้สึกเหมือนอยู่ภายใต้ผลของยาอีกครั้ง[18] หรือประสบสิ่งลี้ลับ[19][20] การสะกดจิตตนเองนิยมใช้เพื่อเลิกบุหรี่, คลายความเครียดหรือความกังวล, ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยให้นอนหลับ การสะกดจิตแบบการแสดงสามารถชักชวนให้คนแสดงสิ่งแปลก ๆ ในสาธารณะ[21]
บางคนมองว่าการสะกดจิตมีส่วนคล้ายกับจิตวิทยาฝูงชน, โรคฮิสทีเรียทางศาสนา และการอยู่ในภวังค์ขณะประกอบพิธีกรรมของชนเผ่าในวัฒนธรรมสมัยก่อนรู้หนังสือ[22]
การสะกดจิตบำบัด
[แก้]การสะกดจิตบำบัดเป็นการใช้การสะกดจิตในจิตบำบัด[23][24][25] แพทย์และนักจิตวิทยาอาจใช้การสะกดจิตเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ, ความผิดปกติด้านการนอน, การเสพติดการพนัน และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ[26][27][28] ส่วนนักจิตบำบัดที่ได้รับการรับรองซึ่งไม่ใช่แพทย์หรือจิตแพทย์มักรักษาอาการติดบุหรี่และช่วยในการคุมน้ำหนัก
การสะกดจิตบำบัดยังสามารถใช้รักษาโรคทางจิตควบคู่กับการบำบัดซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วอย่างการบำบัดทางความคิด (cognitive therapy) การสะกดจิตบำบัดไม่ควรถูกใช้เพื่อซ่อมแซมหรือฟื้นฟูความทรงจำ เพราะมักทำให้ความทรงจำชัดเจนขึ้นและเพิ่มความมั่นใจในความทรงจำเท็จ[29]
งานวิจัยขั้นต้นแสดงว่าการสะกดจิตระยะเวลาสั้น ๆ อาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย HIV-DSP ด้วยความที่สามารถใช้ควบคุมความเจ็บปวด, ความได้ผลระยะยาวหลังการแซกแซงระยะสั้น, ความที่ผู้ป่วยสามารถสะกดจิตตนเองได้, ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีข้อดีที่ไม่ต้องใช้ยา[30]
การสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ถูกใช้ในหลายรูปแบบ โดยให้ผลสำเร็จต่างกันไป เช่น:
- การสะกดจิตบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioural hypnotherapy) หรือการสะกดจิตทางการแพทย์ซึ่งรวมกับส่วนปนะกอบของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม[32]
- การสะกดจิตย้อนอดีต (Age regression hypnotherapy หรือ hypnoanalysis)
- การสะกดจิตบำบัดแบบเอริกสัน (Ericksonian hypnotherapy)
- ความกลัวและโรคกลัว[33][34][35][36][37][38]
- การเสพติด[39][40]
- การควบคุมนิสัย[41][42][43]
- การควบคุมเจ็บปวด[44][45][46][47]
- จิตบำบัด[48]
- ผ่อนคลาย[49]
- ลดพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วย (เช่น การเกา) ที่อาจขัดขวางการรักษาโรคผิวหนัง[50]
- การทำให้คนไข้ที่กำลังจะผ่าตัดสงบลง
- สมรรถภาพกีฬา[51][52]
- การลดน้ำหนัก[53][54][55]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2001 เดียร์เดร บาเรต (Deirdre Barrett) นักจิตวิทยาจากมหาลัยฮาร์วาร์ดเขียนบนบทความจากวารสาร Psychology Today[56] ว่า:
การอยู่ในภวังค์ขณะถูกสะกดจิตไม่อาจรักษาโรคได้ในตัวเอง ทว่าการชักจูงอย่างเฉพาะเจาะจงและรูปภาพที่ถูกป้อนให้ผู้รับสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับได้อย่างลึกซึ้ง ขณะพวกเขาซ้อมรูปแบบใหม่ที่พวกเขาอยากจะคิดและรู้สึก พวกเขาสร้างรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่กำลังจะทำในอนาคต...
บาเรตบรรยายถึงวิธีเฉพาะที่สิ่งนี้ถูกดำเนินการสำหรับการเปลี่ยนนิสัยและเยียวยาโรคกลัว ในหนังสือเกี่ยวกับกรณีศึกษาการสะกดจิตบำบัด ค.ศ. 1998 เธอเขียนสรุปงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับการสะกดจิตและโรคดิสโซสิเอทีฟ, การเลิกบุหรี่ และอากการนอนไม่หลับ โดยบรรยายถึงความสำเร็จของการรักษา[27]
โรคลำไส้แปรปรวน
[แก้]มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้การสะกดจิตบำบัดเพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) [57][58] การสะกดจิตเพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวนได้รับการสนับสนุนระดับกลางจากคำแนะนำของสถาบันสุขภาพแห่งชาติและความเป็นเลิศทางคลินิก (National Institute for Health and Clinical Excellence) ซึ่งถูกแผยแพร่เพื่อการบริการสุขภาพที่สหราชอาณาจักร[59] การสะกดจิตบำบัดถูกใช้เพื่อช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกของยาสลบจากสารเคมี[60][61][62]
การควบคุมความเจ็บปวด
[แก้]หลายงานวิจัยแสดงว่าการสะกดจิตสามารถลดความเจ็บปวดที่รู้สึกระหว่างการการตัดเนื้อตายออกจากแผลไฟไหม้[63] การเจาะเก็บไขกระดูก และการคลอด[64][65] วารสาร International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis พบว่าการสะกดจิตลดความเจ็บปวดในร้อยละ 75 ของผู้รับการทดลองทั้งหมด 933 คนใน 27 การทดลอง[66]
การสะกดจิตส่งผลในการลดความเจ็บปวดจากมะเร็งและจากการรับมือกับมะเร็ง[67][68] และโรคเรื้อรังอื่น ๆ[66] การสะกดจิตยังอาจช่วยควบคุมอาการคลื่นไส้และอาการอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้[69][70][71][72] บางคนอ้างว่าการสะกดจิตอาจช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคมะเร็งแข็งแรงขึ้น American Cancer Society กล่าวว่า "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีตอนนี้ไม่สนับสนุนความคิดที่ว่าการสะกดจิตสามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาหรือการรุกรามของมะเร็ง"[73]
การสะกดจิตถูกใช้เพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัดทางทันตกรรม นักวิจัยรายงานว่าการสะกดจิตสามารถช่วยแม้กระทั่งผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บในช่องปากและฟัน[74] นอกจากนี้ Meyerson และ Uziel ยังเสนอว่าวิธีการสะกดจิตสามารถช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยเป็นโรคกลัวการทำฟันอย่างรุนแรง[75]
สำหรับนักจิตวิทยาบางคนที่เชื่อในทฤษฎีเปลี่ยนแปลงสภาพของการสะกดจิต การบรรเทาความเจ็บปวดโดยการสะกดจิตเป็นผลของการประมวลผลแบบคู่ของสมอง โดยการตั้งความสนใจหรือละความสนใจจากสิ่งหนึ่ง[76]
สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกันแผยแพร่งานวิจัยเปรียบเทียบผลของการสะกดจิต, การชักจูงธรรมดา และยาหลอกในการลดความเจ็บปวด โดยพบว่าคนที่ถูกชักจูงง่ายรู้สึกว่ามีการลดลงของความเจ็บปวดมากกว่าหลังถูกสะกดจิตเมื่อเทียบกับยาหลอก ส่วนคนที่ถูกชักจูงยากกว่าไม่รู้สึกว่ามีความแตกต่างระหว่างการสะกดจิตและยาหลอก การชักจูงธรรมดาก็ลดความเจ็บปวดเช่นกันเมื่อเทียบกับยาหลอก โดยได้ผลกับคนจำนวนมากกว่าทั้งที่ถูกชักจูงง่ายและยากเมื่อเทียบกับการสะกดจิต ผลการทดลองแสดงว่าการบรรเทาความเจ็บปวดเป็นผลจากการชักจูงไม่ว่าจะเป็นด้วยการสะกดจิตหรือไม่[77]
ทหาร
[แก้]ใน ค.ศ. 2006 เอกสารลับจาก ค.ศ. 1966 ที่ถูกเปิดเผยแสดงว่าการสะกดจิตถูกศึกษาเพื่อการประยุกต์ใช้ทางทหาร[78] เอกสารฉบับเต็มสำรวจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการใช้แบบควบคุม[78] ข้อสรุปโดยรวมของการวิจัยกล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการสะกดจิตสามารถใช้เพื่อการทหาร และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า "การสะกดจิต" เป็นปรากฏการณ์ที่ให้ความหมายเหนือไปกว่าการชักจูงธรรมดา, แรงจูงใจ และการคาดหวังของผู้ถูกทดลอง
การสะกดจิตตนเอง
[แก้]การสะกดจิตตนเองเกิดขึ้นเมื่อคนสะกดจิตตนเอง โดยมักใช้วิธีการแนะนำใจตัวเอง (autosuggestion) เทคนิคมักถูกใช้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการลดน้ำหนัก เลิกบุหรี่ หรือคลายความเครียด บางทีคนที่สะกดจิตตนเองอาจต้องการความช่วยเหลือ บางคนใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า มายด์แมชีน (mind machine) เข้าช่วย หรือบางคนอาจใช้การบันทึกเสียงสะกดจิต การสะกดจิตตนเองอาจช่วยลดอาการตื่นเวที ช่วยให้ผ่อนคลาย และช่วยในความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย[79]
การสะกดจิตแบบการแสดง
[แก้]การแสดงการสะกดจิตเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ความบันเทิง โดยมักแสดงให้ผู้ชมดูในคลับหรือโรงละคร ผลของการแสดงจากนักสะกดจิตทำให้หลายคนเชื่อว่าการสะกดจิตเป็นการควบคุมจิตใจรูปแบบหนึ่ง การแสดงการสะกดจิตมักพยายามสะกดจิตผู้ชมทั้งหมด จากนั้นจึงเลือกคนที่อยู่ "ภายใต้" การสะกดจิตให้ขึ้นมาบนเวทีเพื่อแสดงสิ่งน่าอายต่าง ๆ ให้ผู้ชมที่เหลือดู อย่างไรก็ตาม ผลของการแสดงการสะกดจิตน่าจะประกอบจากปัจจัยทางจิตวิทยา, การคัดเลือกผู้เข้าร่วม, การชักจูง, การจัดฉาก และการใช้กลอุบาย[80] ความต้องการที่จะเป็นศูนย์รวมความสนใจ, การมีข้ออ้างที่จะเอาชนะความกลัวของตน และความกดดันที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ร่วมแสดง "ตามน้ำ"[81]
อาชญากรรม
[แก้]หลายคนถูกตั้งข้อสงสัยหรือกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการสะกดจิต รวมถึงการขโมยและการทารุณกรรมทางเพศ
ใน ค.ศ. 2011 นักสะกดจิตชั่วชาวรัสเซียถูกต้องสงสัยว่าใช้กลอุบายหลอกลวงให้ลูกค้าธนาคารในเมืองสตัฟโรปอลแจกเงินสดหลายพันปอนด์ ตำรวจท้องถิ่นกล่าวว่าเขาจะเข้าหาพวกลูกค้าและทำให้พวกเขาถอนเงินทั้งหมดจากบัญชีธนาคารมาให้เขา[82] เหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้นที่เมืองลอนดอนใน ค.ศ. 2014 ซึ่งเทปวิดีโอแสดงคล้ายขโมยได้สะกดจิตเจ้าของร้านก่อนจะทำการปล้น เหยื่อไม่ได้ทำอะไรเพื่อหยุดขณะหัวขโมยค้นกระเป๋าสตางค์ของเขาเพื่อขโมยเงินสด และเพียงกล่าวถึงขโมยหลังเขาได้หนีไปแล้ว[83][84]
ใน ค.ศ. 2013 Timothy Porter ซึ่งขณะนั้นเป็นนักสะกดจิตมือใหม่อายุ 40 ปี พยายามล่วงละเมิดทางเพศลูกค้าสาวที่พยายามลดน้ำหนัก เธอรายงานว่าตื่นขึ้นมาจากภวังค์และพบเขาอยู่ข้างหลังเธอโดยไม่ใส่กางเกง และบอกให้เธอช่วยตัวเอง ต่อมาเขาถูกฟ้องในศาลในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[85] ใน ค.ศ. 2015 Gary Naraido ซึ่งขณะนั้นอายุ 52 ปี ถูกตัดสินให้ติดคุก 10 ปี จากคดีทารุณกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการสะกดจิตหลายคดี นอกจากคดีหลักที่เขาได้กระทำการทารุณกรรมทางเพศต่อหญิงอายุ 22 ปี โดยการหลอกว่าจะทำการบำบัดให้ฟรีในโรงแรม เขายังยอมรับว่าเคยล่วงละเมิดทางเพศเด็กหญิงอายุ 14 ปี[86]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lynn, Steven Jay; Green, Joseph P.; Kirsch, Irving; Capafons, Antonio; Lilianfeld, Scott O.; Laurence, Jean-Roch; Montgomery, Guy (October 2015). "Grounding hypnosis in science: The 'new' APA Division 30 definition of hypnosis as a step backward". American Journal of Clinical Hypnosis. 57 (4): 390–401. doi:10.1080/00029157.2015.1011472. PMID 25928778.
- ↑ Encyclopædia Britannica, 2004: "a special psychological state with certain physiological attributes, resembling sleep only superficially and marked by a functioning of the individual at a level of awareness other than the ordinary conscious state".
- ↑ Erika Fromm; Ronald E. Shor (2009). Hypnosis: Developments in Research and New Perspectives. Rutgers. ISBN 978-0-202-36262-5. สืบค้นเมื่อ 27 September 2014.
- ↑ Lynn S, Fassler O, Knox J; Fassler; Knox (2005). "Hypnosis and the altered state debate: something more or nothing more?". Contemporary Hypnosis. 22: 39–45. doi:10.1002/ch.21.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Coe W, Buckner L, Howard M, Kobayashi K; Buckner; Howard; Kobayashi (1972). "Hypnosis as role enactment: Focus on a role specific skill". The American journal of clinical hypnosis. 15 (1): 41–5. doi:10.1080/00029157.1972.10402209. PMID 4679790.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Steven J. Lynn; Judith W. Rhue (4 October 1991). Theories of hypnosis: current models and perspectives. Guilford Press. ISBN 978-0-89862-343-7. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ {{cite web |last=Segi |first=S. |year=2012 |title=Hypnosis for pain management, anxiety and behavioral disorders |publisher=Factiva |accessdate=December 7, 2012 |url=
- ↑ Lyda, Alex. "Hypnosis Gaining Ground in Medicine." Columbia News. Columbia.edu. Retrieved on 2011-10-01.
- ↑ hypnos, hypnoō. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project.
- ↑ Harper, Douglas. "hypnosis". Online Etymology Dictionary.
- ↑ T.L. Brink. (2008) Psychology: A Student Friendly Approach. "Unit 5: Perception." pp. 88 [1]
- ↑ "hypnosis." Encyclopædia Britannica web edition. Retrieved: 20 March 2016.
- ↑ Kirsch, I. (1994). "Clinical hypnosis as a nondeceptive placebo: Empirically derived techniques". The American journal of clinical hypnosis. 37 (2): 95–106. doi:10.1080/00029157.1994.10403122. PMID 7992808.
- ↑ Kirsch, I., "Clinical Hypnosis as a Nondeceptive Placebo", pp. 211–225 in Kirsch, I., Capafons, A., Cardeña-Buelna, E., Amigó, S. (eds.), Clinical Hypnosis and Self-Regulation: Cognitive-Behavioral Perspectives, American Psychological Association, (Washington), 1999 ISBN 1-55798-535-9
- ↑ Hypnosis, American Society of Clinical. "Account Login". www.asch.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ Chapman, Robin (August 2005). Clinical Use of Hypnosis in Cognitive Behavior Therapy : A Practitioner's Casebook. Springer Publisher Company. p. 6.
- ↑ André M. Weitzenbhoffer. The Practice of Hypnotism 2nd ed, Toronto, John Wiley & Son Inc., Chapter 16, pp. 583–587, 2000 ISBN 0-471-29790-9
- ↑ Fogel, S.; Hoffer, A. (1962). "The use of hypnosis to interrupt and to reproduce an LSD-25 experience". Journal of Clinical and Experimental Psychopathology. 23: 11–16.
- ↑ Van Quekelberghe, R., Gobel, P. and Hertweck, E. (1995). "Simulation of near-death and out-of-body experiences under hypnosis". Imagination, Cognition & Personality. 14 (2): 151–164. doi:10.2190/gdfw-xlel-enql-5wq6.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Using Hypnosis to Encourage Mystical Experience" เก็บถาวร 29 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Counselinginoregon.com. Retrieved on 2011-10-01.
- ↑ "History of the Stage Hypnotist and Stage Hypnosis Shows." เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. stagehypnosisshow.co.uk. Retrieved on 2015-01-23.
- ↑ Wier, Dennis R (1996). Trance: from magic to technology. Ann Arbor, Michigan: TransMedia. ISBN 1-888428-38-4.
- ↑ "Hypnosis." เก็บถาวร 30 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ University of Maryland-Medical Center
- ↑ "Australian Society of Clinical Hypnotherapists".
- ↑ Dubin, William. "Compulsive Gaming" (2006) เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Psycharts.com. Retrieved on 2011-10-01.
- ↑ 27.0 27.1 Deirdre Barrett (1998-07-21). The Pregnant Man: Tales from a Hypnotherapist’s Couch (1998/hardback, 1999 paper ed.). NY: Times Books/Random House. ISBN 0-8129-2905-5.
- ↑ Assen Alladin (15 May 2008). Cognitive hypnotherapy: an integrated approach to the treatment of emotional disorders. J. Wiley. ISBN 978-0-470-03251-0. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ Novella, S. (Producer). (2007, July 11). The Skeptic's Guide to the Universe [Audio podcast].
- ↑ Dorfman, David; George, Mary Catherine; Schnur, Julie; Simpson, David M; Davidson, George; Montgomery, Guy (July 2013). "Hypnosis for treatment of HIV neuropathic pain: A preliminary report". Pain Medicine. 14 (7): 390–401. doi:10.1080/00029157.2015.1011472. PMID 25928778.
- ↑ See: A Clinical Lesson at the Salpêtrière.
- ↑ Robertson, D (2012). The Practice of Cognitive-Behavioural Hypnotherapy: A Manual for Evidence-Based Clinical Hypnosis. London: Karnac. ISBN 978-1-85575-530-7.
- ↑ "Hypnotist eliminates fears and phobias" comedywood.com. None. Retrieved on 2011-10-01. เก็บถาวร 12 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Gow, M. A. (2006). "Hypnosis with a blind 55-year-old female with dental phobia requiring periodontal treatment and extraction". Contemporary Hypnosis. 23 (2): 92–100. doi:10.1002/ch.313.
- ↑ Nicholson, J. "Hypnotherapy – Case History – Phobia". London College of Clinical Hypnosis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-29. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ Wijesnghe, B. (1974). "A vomiting phobia overcome by one session of flooding with hypnosis" (PDF). Journal of behavioural therapy and experimental psychiatry. 5 (2): 169–170. doi:10.1016/0005-7916(74)90107-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ Epstein, S. J.; Epstein, Seymour J. (1977). "Short-term Hypnotherapy for the treatment of flight phobia: A case report". American Journal of Clinical Hypnosis. 19 (4): 251–254. doi:10.1080/00029157.1977.10403885. PMID 879063.
- ↑ Rogers, Janet (May 2008). "Hypnosis in the treatment of social phobia". Australian Journal of Clinical & Experimental Hypnosis. 36 (1): 64–68.
- ↑ Kraft, T.; Kraft, D. (2005). "Covert sensitization revisited: Six case studies" (PDF). Contemporary Hypnosis. 22 (4): 202–209. doi:10.1002/ch.10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 มกราคม 2012.
- ↑ Elkins, G. R.; Rajab, M. H. (2004). "Clinical hypnosis for smoking cessation: Preliminary results of a three-session intervention". The International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis. 52 (1): 73–81. doi:10.1076/iceh.52.1.73.23921. PMID 14768970.
- ↑ "Hypnosis. Another way to manage pain, kick bad habits". mayoclinic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2009.
- ↑ Anbar, R.D. (January 2009). "Childhood habit cough treated with consultation by telephone: A case report". Cough. 5 (2): 1–3. CiteSeerX 10.1.1.358.6608. doi:10.1186/1745-9974-5-2.
- ↑ McNeilly, R. (September 1994). "Solution oriented hypnosis. An effective approach in medical practice". Australian Family Physician. 23 (9): 1744–6. PMID 7980173.
- ↑ "Hypnosis for Pain.". Webmd.com. Retrieved on 2011-10-01.
- ↑ Dahlgren, L.A.; Kurtz, R.M.; Strube, M. J.; Malone, M. D. (August 1995). "Differential effects of hypnotic suggestion on multiple dimensions of pain". Journal of Pain and Symptom Management. 10 (6): 464–470. doi:10.1016/0885-3924(95)00055-4. PMID 7561229.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Patterson, David R.; Ptacek, J. T. (February 1997). "Baseline pain as a moderator of hypnotic analgesia for burn injury treatment". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 65 (1): 60–67. doi:10.1037/0022-006X.65.1.60. PMID 9103735.
- ↑ American Psychological Association (2 July 2004). "Hypnosis for the Relief and Control of Pain". American Psychological Association.
- ↑ Barrett, Deirdre. "The Power of Hypnosis.". Psychology Today. Jan/Feb 2001 เก็บถาวร 7 พฤศจิกายน 2007 ที่ archive.today
- ↑ Vickers, Andrew; Zollman, Catherine (1999). "Clinical review. ABC of complementary medicine. Hypnosis and relaxation therapies". British Medical Journal. 319 (7221): 1346–1349. doi:10.1136/bmj.319.7221.1346. PMC 1117083. PMID 10567143.
- ↑ Shenefelt, Philip D. "Applying Hypnosis in Dermatology. medscape.com. 6 January 2004
- ↑ Hypnosis and Sport Performance. AWSS.com
- ↑ Pates, J.; Palmi, J. (2002). "The effects of hypnosis on flow-states and performance" (PDF). Journal of Excellence. 6: 48–61.
- ↑ Kirsch, Irving (1996). "Hypnotic enhancement of cognitive-behavioral weight loss treatments—another meta-reanalysis". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 64 (3): 517–9. doi:10.1037/0022-006X.64.3.517. PMID 8698945.
- ↑ Bolocofsky, D. N.; Spinler, D.; Coulthard-Morris, L. (1985). "Effectiveness of hypnosis as an adjunct to behavioral weight management" (PDF). Journal of Clinical Psychology. 41 (1): 35–41. doi:10.1002/1097-4679(198501)41:1<35::AID-JCLP2270410107>3.0.CO;2-Z. PMID 3973038. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2013.
- ↑ Cochrane, G.; Friesen, J. (1986). "Hypnotherapy in weight loss treatment" (PDF). Journal of Consulting and Clinical Psychology. 54 (4): 489–492. doi:10.1037/0022-006X.54.4.489. PMID 3745601. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2013.
- ↑ "The Power of Hypnosis" by Deirdre Barrett, Psychology Today, Jan/Feb 2001,
- ↑ Moore, M. & Tasso, A.F. 'Clinical hypnosis: the empirical evidence' in The Oxford Handbook of Hypnosis (2008) ISBN 0-19-857009-0 pp. 719-718
- ↑ Gonsalkorale, W. M.; Whorwell, Peter J. (2005). "Hypnotherapy in the treatment of irritable bowel syndrome" (PDF). European Journal of Gastroenterology & Hepatology. 17: 15–20. doi:10.1097/00042737-200501000-00004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ NICE Guidance for IBS. (PDF) . Retrieved on 2011-10-01. เก็บถาวร 8 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Physician Studies Hypnosis As Sedation Alternative," University of Iowa News Service, 6 February 2003 News-releases.uiowa.edu เก็บถาวร 2017-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Pain Decreases Under Hypnosis เก็บถาวร 2009-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Medicalnewstoday.com. 20 June 2007
- ↑ John F. Kihlstrom, University of California, Berkeley and Institute for the Study of Healthcare Organizations &Transactions Hypnosis in Surgery: Efficacy, Specificity, and Utility. Institute-shot.com เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Patterson, David R.; Questad, Kent A.; De Lateur, Barbara J. (1989). "Hypnotherapy as an adjunct to narcotic analgesia for the treatment of pain for burn debridement". American Journal of Clinical Hypnosis. 31 (3): 156–163. doi:10.1080/00029157.1989.10402884. PMID 2563925.
- ↑ Mendoza, M. E.; Capafons, A. (2009). "Efficacy of clinical hypnosis: A summary of its empirical evidence" (PDF). Papeles del Psicólogo. 30 (2): 98–116. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 มกราคม 2013.
- ↑ Ewin, D.M. (2001). "The use of hypnosis in the treatment of burn patients" (PDF). International Handbook of Clinical Hypnosis: 274–283. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ 66.0 66.1 Nash, Michael R. "The Truth and the Hype of Hypnosis". Scientific American: July 2001
- ↑ Butler, B. (1954). "The use of hypnosis in the care of the cancer patient" (PDF). Cancer. 7 (1): 1–14. doi:10.1002/1097-0142(195401)7:1<1::AID-CNCR2820070103>3.0.CO;2-0. PMID 13126897. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ Peynovska, R.; Fisher, J.; Oliver, D.; Matthew, V. M. (2003). "Efficacy of hypnotherapy as a supplement therapy in cancer intervention" (PDF). Paper presented at the Annual Meeting of The Royal College of Psychiatrists, 30 June – 3 July 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
- ↑ Spiegel, D.; Moore, R. (1997). "Imagery and hypnosis in the treatment of cancer patients". Oncology. 11 (8): 1179–1195.
- ↑ Garrow, D.; Egede, L. E. (2006). "National patterns and correlates of complementary and alternative medicine use in adults with diabetes". Journal of Alternative and Complementary Medicine. 12 (9): 895–902. doi:10.1089/acm.2006.12.895.
- ↑ Mascot, C. (2004). "Hypnotherapy: A complementary therapy with broad applications". Diabetes Self Management. 21 (5): 15–18. PMID 15586907.
- ↑ Kwekkeboom, K.L.; Gretarsdottir, E. (2006). "Systematic review of relaxation interventions for pain". Journal of Nursing Scholarship. 38 (3): 269–277. doi:10.1111/j.1547-5069.2006.00113.x. PMID 17044345.
- ↑ "Hypnosis". American Cancer Society. November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-31. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
- ↑ Jerjes; และคณะ (2007). "Psychological intervention in acute dental pain: Review". British Dental Journal. 202.
- ↑ Meyerson, J.; Uziel, N. "Application of hypno-dissociative strategies during dental treatment of patients with severe dental phobia". The International Journal of Clinical and Experimental Hypnosis. 63.
- ↑ Myers, David G. (2014). Psychology: Tenth Edition in Modules (10th ed.). Worth Publishers. pp. 112–13.
- ↑ "Hypnosis, suggestion, and placebo in the reduction of experimental pain" faqs.org
- ↑ 78.0 78.1 Hypnosis in Intelligence, The Black Vault, 2008
- ↑ "Self-hypnosis as a skill for busy research workers." London's Global University Human Resources. ucl.ac.uk.
- ↑ Yapko, Michael (1990). Trancework: An introduction to the practice of Clinical Hypnosis. NY, New York: Brunner/Mazel. p. 28.
- ↑ Wagstaff, Graham F. (1981). Hypnosis, Compliance and Belief. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-40157-4.
- ↑ Hypnotist being hunted in Russia for stealing cash from bank customers, Metro
- ↑ Hypnotist thief puts shopkeeper in trance before robbing him เก็บถาวร 2017-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Telegraph
- ↑ Shopkeeper 'placed in trance by hypnotist' during theft in north London, The Standard
- ↑ Evil hypnotist made me into his sex slave: He admits vile acts while client was in trance, Mirror
- ↑ Clarke-Billings, Lucy (2015-09-28). "Hypnotist jailed for ten years after sexually assaulting woman under his spell" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.
บรรณานุกรม
[แก้]- Baudouin, C. (Paul, E & Paul, C. trans.), Suggestion and Autosuggestion: A Psychological and Pedagogical Study Based on the Investigations made by the New Nancy School, George Allen & Unwin, (London), 1920.
- Braid, J. (1843). Neurypnology or The rationale of nervous sleep considered in relation with animal magnetism. London.: John Churchill.
- Blackwell, Willey (2015). The Handbook of Contemporary Clinical Hypnosis: Theory and Practice. ISBN 978-1-119-05727-7.
- Gibson, H.B. (1991). Hypnosis in Therapy. ISBN 978-0-86377-155-2.
- Glueck, B., "New Nancy School", The Psychoanalytic Review, Vol.10, (January 1923), pp. 109–112.
- Harte, R., Hypnotism and the Doctors, Volume I: Animal Magnetism: Mesmer/De Puysegur, L.N. Fowler & Co., (London), 1902.
- Harte, R., Hypnotism and the Doctors, Volume II: The Second Commission; Dupotet And Lafontaine; The English School; Braid's Hypnotism; Statuvolism; Pathetism; Electro-Biology, L.N. Fowler & Co., (London), 1903.
- Lynn, Steven (1991). Theories of Hypnosis: Current Models and Perspectives. ISBN 978-0-89862-343-7.
- Yeates, L.B., James Braid: Surgeon, Gentleman Scientist, and Hypnotist, Ph.D. Dissertation, School of History and Philosophy of Science, Faculty of Arts & Social Sciences, University of New South Wales, January 2013.
- Yeates, Lindsay B. (2016a), "Émile Coué and his Method (I): The Chemist of Thought and Human Action", Australian Journal of Clinical Hypnotherapy & Hypnosis, Volume 38, No.1, (Autumn 2016), pp. 3–27. [2]
- Yeates, Lindsay B. (2016b), "Émile Coué and his Method (II): Hypnotism, Suggestion, Ego-Strengthening, and Autosuggestion", Australian Journal of Clinical Hypnotherapy & Hypnosis, Volume 38, No.1, (Autumn 2016), pp. 28–54. [3]
- Yeates, Lindsay B. (2016c), "Émile Coué and his Method (III): Every Day in Every Way", Australian Journal of Clinical Hypnotherapy & Hypnosis, Volume 38, No.1, (Autumn 2016), pp. 55–79. [4]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Hypnotism