ข้ามไปเนื้อหา

สลัดได

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สลัดได
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Euphorbia
สปีชีส์: E.  antiquorum
ชื่อทวินาม
Euphorbia antiquorum
L.[1]

สลัดได (ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia lacei Craib) เป็นพันธุ์ไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ ต้นพืชชนิดนี้ถ้าจะนำมาใช้จะต้องมีความระมัดระวังให้มาก เพราะสลัดได ส่วนที่เป็นลำต้น กิ่งก้าน ดอก จะมียาง และ ยางนี้จะมีพิษค่อนข้างรุนแรง ถ้าใช้อย่างถูกวิธี ก็จะให้ประโยชน์[2] แก่นกลางต้นที่อายุมาก ๆ จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เรียก "กะลำพัก"

ถิ่นกำเนิด

[แก้]

มีถิ่นกำเนิดใน เอเชีย เขตร้อน พบมากตามก้อนหินริมเขา และพื้นที่ร้อนชื้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]
  • ลำต้น คล้าย ตะบองเพชร แต่มีความอวบมากกว่า สูง 2-3 เมตร ผิวเรียบ ลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นกิ่งอวบน้ำมี 3-6 เหลี่ยม แตกใบเป็นกิ่งก้าน มีหนามทั่วทั้งลำต้น ปกคลุมตามข้อต่อใบ ภายในมียางสีขาว เป็นพิษ
  • ใบ ใบเดี่ยว ใบอ่อน มีสีเขียวอ่อน ใบแก่ มีสีเขียวแก่ เรียงสลับ ขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ปลายใบกลม หลุดร่วงง่าย[3] ลักษณะใบอวบเขียว มีหนามระหว่างข้อใบเป็นรูปไข่เหลียมจนมองได้เป็นสามเหลี่ยม เรียงสลับ อวบน้ำ ใบร่วงง่าย
  • ดอก ออกเป็นช่วงสั้นๆ ดอกย่อยขนาดเล็ก ลักษณะเป็นดอกเดียว แต่อยู่รวมกันบริเวณตาหนาม ช่อสั้น ใบประดับสีเหลือง ดอกตัวผู้และตัวเมียไม่มีกลีบดอก
  • ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ ขนาดเล็ก ลักษณะรียาวเหมือนไข่ เมื่อแตกจะแยกเป็น 3 พู

การปลูกและขยายพันธุ์

[แก้]

ปลูกได้โดยการปักชำ และเพาะเมล็ด นิยมปลูกตามสวนสมุนไพร

สรรพคุณ

[แก้]
  • แก่น มีรสขม มีกลิ่นหอม สามารถแก้ไข้ บำรุงหัวใจ
  • ยาง ยางจากต้น มีพิษ หากถูกผิวหนังจะระคายเคือง สามารถใช้กัดหูด ต้องลดความเป็นพิษด้วยการ "ประสะ" โดยนึ่งยางให้สุก แล้วตากให้แห้ง ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรงปรุงเป็นยาถ่าย[4] ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายหัวริดสีดวงลำไส้และริดสีดวงทวารหนัก ขับโลหิตเน่าร้าย[5] สารที่พบในสลัดได มี 3-O-angeloylingenol ซึ่งเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง[6] จึงต้องระวังในการใช้

ชื่อท้องถิ่น

[แก้]

ใน ประเทศไทย มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป เช่น

อ้างอิง

[แก้]