สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีแห่งฮาวาย
รัชสมัย14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1837 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 1854
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งฮาวาย
ประสูติ17 มีนาคม ค.ศ. 1817
สวรรคต20 กันยายน ค.ศ. 1870 (พระชนมายุ 53 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 แห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย
พระนามเต็ม
คาลามา ฮากาเลเลโปนิ คาปาคุไฮลิ
พระนามาภิไธย
สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย
พระราชบิดานาอิเฮคูคูอิ
พระราชมารดาอิอาฮูลูลา

สมเด็จพระราชินีคาลามา ฮากาเลเลโปนิ คาปาคุไฮลิแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Consort Kalama Hakaleleponi Kapakuhaili of Hawaiʻi) หรือ สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Kalama of Hawaiʻi) (17 มีนาคม 1817 - 20 กันยายน 1870) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 แห่งฮาวาย และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837 ไปสู่การสวรรคตของพระราชสวามีใน ค.ศ. 1854

สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1817 พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาในนาอิเฮคูคูอิกับอิอาฮูลูลา พระบิดาของพระองค์เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือของชาวพื้นเมืองฮาวาย

พระองค์ทรงมีความใกล้ชิดกับพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระองค์ ทำให้พระองค์ได้พบกับพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ในที่สุดพระองค์และพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ก็ได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1837[1][2]

เมื่อครั้งพระองค์ยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮาวายพระองค์ก็ไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองมากนัก เนื่องจากอำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่สมเด็จพระราชินีคาอาฮูมานู ในฐานะผู้สำเร็จราชการแห่งฮาวาย เนื่องจากว่าพระราชสวามีของพระองค์ครองราชย์ในขณะที่มีพระชนมพรรษาได้เพียง 12 พรรษา จึงต้องให้สมเด็จพระราชินีคาอาฮูมานูเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในการปกครองฮาวาย

สมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวายเสด็จสวรรคตเมื่อ 20 กันยายน 1870 ขณะมีพระชนมายุได้ 53 พรรษา พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 1870 ที่สุสานพระราชวงศ์ฮาวาย พระองค์สวรรคตได้เพียงสองปีก่อนถึงจุดสิ้นสุดของราชวงศ์คาเมฮาเมฮา

อ้างอิง[แก้]

  1. Hiram Bingham I (1855) [1848]. "Chapter XVII". A Residence of Twenty-one Years in the Sandwich Islands (Third ed.). H.D. Goodwin.
  2. Gavan Daws (1968). Shoal of time: a History of the Hawaiian Islands. University of Hawaii Press. pp. 91–94. ISBN 0-8248-0324-8.